ในระหว่างการแพร่ระบาดของ COVID-19 มักมีความเชื่อต่าง ๆ ออกมา ที่ว่าทำอย่างโน้นทำอย่างนี้แล้ว จะช่วยเราป้องกันจากการติดเชื้อ COVID-19 แต่ล่าสุด WHO หรือองค์กรอนามัยโลกได้มาเปิดเผยความเชื่อผิด ๆ ของผู้คน พร้อมแก้ต่างและอธิบายสิ่งที่ถูกต้องให้ผู้คนรับทราบ

1. สัญญาณ 5G ไม่ได้กระจายไวรัสโคโรนา

COVID-19

2. ออกไปตากแดดไม่ได้ช่วยป้องกันเชื้อ COVID-19

COVID-19

3. ผู้ติดเชื้อสามารถหายได้ และไม่ได้หมายถึงจะมีเชื้อไปตลอดชีวิต

COVID-19

4. การที่สามารถกลั้นหายใจได้เกิน 10 วินาที ไม่ได้หมายถึงว่าไม่ได้ติดเชื้อ COVID-19 หรือโรคปอดอื่น ๆ

COVID-19

5. การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ช่วยป้องกันเชื้อ COVID-19 แถมจะเพิ่มโรคเข้าสู่ร่างกายของคุณ

COVID-19

6. เชื้อ COVID-19 สามารถแพร่กระจายในพื้นที่ร้อนชื้นได้

COVID-19

7. อากาศหนาวและหิมะไม่ได้ฆ่าไวรัสโคโรนา

COVID-19

8. แช่น้ำอุ่นไม่ได้ช่วยให้ร่างกายป้องกันเชื้อ COVID-19

COVID-19

9. เชื้อไม่สามารถแพร่ผ่านยุงได้

COVID-19

10. เครื่องเป่ามือไม่ได้ช่วยฆ่าไวรัสโคโรนา

COVID-19

11. ไม่ควรใช้รังสี UV ในการฆ่าเชื้อบนมือหรือที่อื่น ๆ บนผิวหนัง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง

COVID-19

12. เครื่องตรวจจับความร้อนไม่สามารถตรวจจับผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการได้

COVID-19

13. ฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์หรือคลอรีนทั่วร่างกายไม่สามารถฆ่าไวรัสโคโรนาได้

COVID-19

14. วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบไม่ได้ช่วยป้องกันเชื้อ COVID-19

COVID-19

15. การล้างจมูกไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อ

COVID-19

16. การกินกระเทียมไม่ได้ช่วยป้องกันจากการติดเชื้อ

COVID-19

17. ทุกคนมีสิทธิ์ติดเชื้อ COVID-19 แต่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคอาจมีสิทธิ์ติดเชื้อที่มากกว่า

COVID-19

18. ยาปฏิชีวนะไม่ได้ช่วยรักษาหรือป้องกันเชื้อ COVID-19 เพราะมันคือไวรัส ไม่ใช่แบคทีเรีย

COVID-19

19. ตอนนี้ยังไม่มียาตัวไหนที่สามารถที่สามารถรักษาเชื้อ COVID-19 ได้โดยเฉพาะ

COVID-19

20. การสูดดมควันหรือแก๊สจากพลุและประทัด ไม่สามารถฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้

COVID-19

21. มีโอกาสน้อยมากที่เชื้อจะอยู่บนสินค้าที่ส่งมาจากประเทศต่าง ๆ ที่มีการแพร่เชื้อ

COVID-19

ทั้งนี้ WHO ได้แนะนำให้ผู้คนรักษาความสะอาดของมือ โดยการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์หรือสบู่ และเช็ดให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือหรือเครื่องเป่ามือ และหลีกเลี่ยงการจับสิ่งของโดยไม่จำเป็นและมาสัมผัสหน้า ตา จมูก ปาก ต่อ

ที่มา : WHO

 

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส