เว็บไซต์ Bloomberg ได้รายงานว่า นักวิจัยกำลังพยายามหาหลักฐานว่า ผู้ป่วยที่เคยได้รับรักษาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 จนหายดีและกลับมาติดเชื้ออีกครั้งนั้น จะไม่สามารถแพร่เชื้อไปติดคนอื่นได้อีก และจะอาจมี แอนติบอดี (Antibody) ในร่างกายที่ช่วยให้ไม่กลับมาป่วยอีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์จาก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของประเทศเกาหลี (Korean Centers for Disease Control and Prevention) ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 จำนวน 285 ราย ที่เคยได้รับการรักษาจนหายและกลับมาติดเชื้ออีกครั้ง โดยได้พบว่า “ผู้ที่กลับมาติดเชื้อ COVID-19 อีกครั้งนี้ จะไม่สามารถแพร่เชื้อไวรัสได้อีก” และตัวอย่างเชื้อไวรัสที่ได้จากร่างกายพวกเขานั้น ก็ไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างที่เคยเป็น
การค้นพบดังกล่าวจากประเทศเกาหลีใต้ได้รับการรายงานเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยที่ฟื้นตัวจากโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 แล้วนั้น ไม่มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้อีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อการการผ่อนปรนมาตรการเว้นระยะห่างทางร่างกายและสังคมต่อไป
การทดสอบดังกล่าวอาจส่งผลต่อเนื่องไปถึงกรณีของ “แอนติบอดี” เพื่อหาสัญญาณการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในเลือด โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าแอนติบอดีอาจทำให้เกิดระดับการป้องกันไวรัส แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน
ก่อนหน้านี้ได้มีการศึกษาในประเทศสิงคโปร์ พบว่าผู้ป่วยที่หายจากโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ SARS (Severe Acute Respiratory Syndrome) แล้วนั้น มีระดับของแอนติบอดี้ยับยั้งไวรัส (NA: Neutralizing Antibodies) เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์อีกหลายท่านยังได้พบว่า เด็ก ๆ มีระดับของภูมิคุ้มกัน IgM (ภูมิคุ้มตัวแรกที่ร่างกายสร้างขึ้น) เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประขากรที่มีอายุน้อยจะมีศักยภาพในการป้องกันไวรัส COVID-19 ได้มากขึ้น
แต่ถึงกระนั้น ยังต้องมีการศึกษาในกรณีนี้ต่อไป
ข้อมูลอ้างอิง : bloomberg
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส