หลังจากผ่านช่วงเทศกาลที่เต็มไปด้วยการจับจ่ายใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นช่วงแบล็กฟรายเดย์ หรือจะเป็นวันหยุดยาวคริสต์มาสถึงปีใหม่ หลายคนคงจะหมดกำลังทรัพย์ไปไม่มากก็น้อย

ส่งผลให้เปิดต้นปีใหม่มามีเทรนด์ใหม่ No Buy 2025 กำลังเป็นที่นิยมบนแพลตฟอร์มโซเชียลต่าง ๆ โดยเฉพาะบน TikTok ที่เหล่าครีเอเตอร์แชร์ประสบการณ์การงดซื้อของที่ไม่จำเป็น เพื่อประหยัดเงินและปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย

สรุปง่าย ๆ แนวคิด No Buy 2025 นี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกำหนดกฎการใช้จ่ายของตัวเอง เช่น งดซื้อเสื้อผ้า เครื่องสำอาง และของตกแต่งบ้าน ขณะเดียวกันก็ยังคงให้ความสำคัญกับการจ่ายเงินสำหรับสิ่งที่จำเป็น เช่น ค่าอาหาร ค่าเช่า และค่ารักษาพยาบาล

หนึ่งในผู้ร่วมเทรนด์นี้คือ เอลิเซีย เบอร์แมน (Elysia Berman) บอกกับผู้ติดตามใน TikTok ของเธอว่า ก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมเทรนด์นี้เธอเคยประสบปัญหาทางการเงินมาก่อน เธอจึงเริ่มงดซื้อของในปี 2024 เพื่อลดหนี้และปรับพฤติกรรมการชอปปิง

ดังนั้น ในปี 2025 เธอเลือกต่อยอดความสำเร็จเดิมด้วยการตั้งกฎเข้มงวดขึ้น แบ่งงบประมาณค่าใช้จ่ายชัดเจน เช่น การอนุญาตให้ซื้ออาหารนอกบ้านเพียงเดือนละครั้ง เป็นต้น

NO BUY RULES for 2025 #nobuyyear #nobuy #shoppingaddiction #shoppingaddict #shopaholic #debtpayoff #debtpayoffjourney #debtfree #debtfreejourney
NO BUY RULES for 2025 #nobuyyear #nobuy #shoppingaddiction #shoppingaddict #shopaholic #debtpayoff #debtpayoffjourney #debtfree #debtfreejourney
@elysiaberman

NO BUY RULES for 2025 #nobuyyear #nobuy #shoppingaddiction #shoppingaddict #shopaholic #debtpayoff #debtpayoffjourney #debtfree #debtfreejourney

♬ original sound - elysiaberman

สำหรับเรเบกก้า โซว์เดน เธอออกมาแชร์ประสบการณ์ No Buy 2025 บนโซเชียล ช่วยสร้างความรับผิดชอบและทำให้เธอสามารถรักษากฎการงดซื้อได้ โดยเธอแนะนำให้เริ่มจากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและสมเหตุสมผล

ตัวอย่างกฎเหล็ก No Buy 2025 ของเรเบกก้า โซว์เดน

  1. ไม่ซื้อเสื้อผ้าใหม่ ไม่ว่ากรณีใด ๆ
  2. ไม่ซื้อรองเท้าใหม่ ยกเว้นเมื่อคู่ที่มีอยู่สึกจนจำเป็นต้องเปลี่ยน
  3. ไม่ซื้อเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ดูแลผิวใหม่ ยกเว้นได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผิวหนังส่วนตัว
  4. ไม่ใช้บัตรเครดิตสำหรับการใช้จ่ายประจำวัน โดยจะใช้เงินสดจากแอปฯ โมบายแบงก์กิงแทน
  5. ค่าอาหาร สัปดาห์ละ 85 เหรียญ (ประมาณ 3,000 บาท) สำหรับอาหารทุกชนิด
  6. กำหนดงบประมาณการเดินทางสัปดาห์ละ 65 เหรียญ (ประมาณ 2,300 บาท) ครอบคลุมค่าน้ำมันรถยนต์ส่วนตัวหรือค่าเดินทางสาธารณะ
  7. ตั้งงบสำหรับการใช้จ่ายส่วนตัว 50 เหรียญต่อสัปดาห์ (ประมาณ 1,700 บาท) เรียกว่า กองทุนชอปปิง
  8. หากใช้จ่ายเกินงบในส่วนอาหารหรือการเดินทาง “กองทุนชอปปิง” จะถูกนำมาใช้เป็นเงินสำรอง
  9. หากไม่มีเงินเหลือในกองทุนชอปปิง จะต้องงดซื้อหรือขอยืมเงินจากผู้อื่น
No Buy 2025 Rules #nobuy #personalfinance #budget #budgeting #greenscreen
No Buy 2025 Rules #nobuy #personalfinance #budget #budgeting #greenscreen
@rebecca.sowden

No Buy 2025 Rules #nobuy #personalfinance #budget #budgeting #greenscreen

♬ original sound - 💸Rebecca Sowden💸

อย่างไรก็ตาม เทรนด์นี้ไม่ได้เข้มงวดสำหรับทุกคน หลายคนเลือกใช้แนวทาง “Low Buy” ที่ลดค่าใช้จ่ายบางอย่างแทนการงดซื้อทั้งหมด เช่น จำกัดการซื้อเสื้อผ้าแต่ยังคงเปิดพื้นที่ให้กับความสุขเล็ก ๆ เช่น การดูหนังและดอกไม้สด ก็ถือเป็นก้าวสำคัญสู่ความสำเร็จในการบริหารการเงินส่วนตัว