ข้อมูลจากทีเอ็มบีธนชาตเปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวน 3 ล้านกว่าราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99 ของผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อจีดีพีของประเทศถึงร้อยละ 42 ทำให้การจ้างงานจำนวนมหาศาล แต่ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต่างได้รับผลกระทบอย่างมาก ต้องเร่งปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการพยายามเข้าถึงการใช้งานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในยุคใหม่ของผู้บริโภค และบริหารธุรกิจของตนเองให้อยู่รอด

จำนวนเอสเอ็มอีของไทย
ที่มา : ทีเอ็มบีธนชาต

ตัวเลขดังกล่าวทำให้เห็นว่าธุรกิจเอสเอ็มอีคือกำลังสำคัญของเศรษฐกิจไทย เมื่อธุรกิจกลุ่มนี้ประสบกับภาวะวิกฤต จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการเร่งให้ความช่วยเหลือ โดยตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา ภาคธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี เช่น การพักชำระหนี้และสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูธุรกิจ เป็นต้น ทางทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) มองว่ามาตรการเหล่านี้เป็นเพียงมาตรการชั่วคราวเท่านั้น การช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืนควรผลักดันให้ธุรกิจยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ดังนั้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้จึงเป็นส่วนสำคัญ

นางสาวสุกัญญา ตรีเสน่ห์จิต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า “ความมุ่งมั่นของทีเอ็มบีธนชาต คือ การช่วยและสนับสนุนให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เราอยากให้ลูกค้ามีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมาช่วยยกระดับการทำงานให้ดีขึ้น สะดวกขึ้น และประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ทำธุรกิจผ่านมือถือเป็นหลัก และก็ยังพบกับปัญหาจากการใช้มือถือในการทำธุรกรรมทางการเงิน”

สุกัญญา ตรีเสน่ห์จิต
นางสาวสุกัญญา ตรีเสน่ห์จิต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบีธนชาต

จากการสำรวจของทีเอ็มบีธนชาตพบว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอียังไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่การทำธุรกรรมออนไลน์ได้ เนื่องจากความซับซ้อนของดิจิทัลแบงก์กิ้ง เช่น การทำธุรกรรมหลายประเภทต้องเข้าหลายระบบ, ไม่รู้ว่าเงินโอนรับเข้ามานั้นมาจากคู่ค้ารายใด, ไม่รู้วิธีการจ่ายหรือการโอนเงิน แบบไหนเร็วที่สุด ประหยัดค่าธรรมเนียมที่สุด หรือแม้กระทั่งการโอนจ่ายออกไป โดยไม่รู้จำนวนเงินสำรองที่เหลือ จากปัญหาเหล่านี้ทำให้ทีเอ็มบีธนชาตได้เปิดตัว “ทีทีบี บิสสิเนส วัน” โมบายแอปพลิเคชันที่พร้อมตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการอย่างแท้จริง

ทีทีบี บิสสิเนส วัน ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ

รัชกร ชยาภิรัต
นายรัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัลลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต

นายรัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัลลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ตั้งแต่ ทีทีบี บิสสิเนส วัน เปิดให้ใช้งานในเวอร์ชันเดสก์ท็อปก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้าธุรกิจ ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี สะท้อนได้จากจำนวนลูกค้าของธนาคาร เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหันมาใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 และลูกค้าธุรกิจทั้งหมดมีการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 160 ขณะที่สัดส่วนการทำธุรกรรมของลูกค้าระหว่างช่องทางดิจิทัลกับช่องทางสาขาเปลี่ยนจาก ร้อยละ 40 ต่อร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 80 ต่อร้อยละ 20 โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทาง  ttb business one ก็ได้รับรางวัล Best Digital Transformation Implementation in Thailand จากเวที The Asian Banker Thailand Awards 2021 อีกด้วย

7 ฟีเจอร์สุดล้ำ เสริมแกร่งเอสเอ็มอียุคดิจิทัล

ทีทีบี บิสสิเนส วัน โมบายแอปพลิเคชัน มาพร้อมกับ 7 ฟีเจอร์สุดล้ำที่พร้อมตอบโจทย์ทุกความต้องการในการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าธุรกิจ ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี

Smart Payment ตัวช่วยแนะนำวิธีการทำรายการโอนเงิน โดยระบบจะทำการแสดงตัวเลือก ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม และวันที่บัญชีที่ปลายทางจะได้รับเงินของการโอนเงินในแต่ละประเภท ทำให้สามารถคำนวณค่าธรรมเนียม และระยะเวลาในการชำระเงินได้

Smart Statement แสดงรายการข้อมูลธุรกรรมอย่างครบถ้วน หมดปัญหาเรื่องไม่รู้ว่าเงินโอนรับเข้ามานั้นมาจากคู่ค้ารายใด

Smart Dashboard ข้อมูลสรุปในรูปแบบของ Dashboard ช่วยให้เห็นภาพรวมข้อมูลทันทีตั้งแต่ที่ล็อกอินเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการเงินในบัญชี, ข้อมูล OD Balance, รายการขออนุมัติ, ข้อมูลผู้รับเงิน และทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้น

Smart Search การเรียกดูข้อมูลรายการธุรกรรมที่เคยทำไปแล้วผ่านการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด โดยระบบจะแสดงข้อมูลอย่างละเอียดทุกธุรกรรม ทำให้ค้นหารายการที่ทำไปแล้วได้ง่ายขึ้น ลดความยุ่งยากและซับซ้อนจากเข้าหลาย ๆ เมนู

Mobile Authorization ช่วยให้คุณอนุมัติรายการธุรกรรมได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ตโฟนจากทุกที่ ทุกเวลา หรือจะตีข้อมูลกลับเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมก็ทำได้

Quick View ฟีเจอร์ที่ผู้ประกอบการอยากได้มากที่สุดคือ รายการเดินบัญชีล่าสุด 3 รายการแรก เห็นข้อมูลทันทีตั้งแต่ล็อกอิน ไม่ต้องเข้าเมนูเพิ่มเติม

Group Company View ฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ ช่วยให้มองเห็นภาพรวมทุกบัญชีของกลุ่มบริษัทจากระบบเดียว ไม่ต้องล็อกอินหลายบัญชีเพื่อดูภาพรวมของแต่ละบริษัท

“เราเชื่อว่าฟีเจอร์ต่าง ๆ บน ทีทีบี บิสสิเนส วัน โมบายแอปพลิเคชัน จะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้บริหารธุรกิจได้สะดวก และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพราะสามารถควบคุมทุกเรื่องธุรกิจได้จากมือถือ, ได้รับประสบการณ์เดียวกันจากทุกเครื่องมือ ไม่ว่าจะแท็บเล็ต หรือมือถืออย่างต่อเนื่อง เห็นทุกอย่างในโปรไฟล์เดียวกัน, ทำได้ทุกธุรกรรมจากแอปเดียว ไม่ต้องเข้าหลายแอป จำหลาย user password เช่น โอนเงินในประเทศ ต่างประเทศ เรียกดูวงเงิน OD และสุดท้ายคือการใช้ที่ง่าย สะดวก พร้อมระบบมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล โดยธนาคารตั้งเป้าว่าด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีลูกค้ามาใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น 60% ภายในสิ้นปี” นายรัชกรกล่าว

“ทีทีบี บิสสิเนส วัน” และ “ทีทีบี บิสสิเนส วัน โมบายแอปพลิเคชัน” ไม่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีในการใช้งานแพลตฟอร์ม สำหรับลูกค้าเอสเอ็มอีของทีเอ็มบีธนชาตที่สนใจใช้บริการ ttb business one mobile สามารถติดต่อได้ที่เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ธุรกิจ หรือ ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี 02-643-7000 ในวันทำการธนาคาร วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 08.00 – 20.00 น. (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดธนาคาร)