วันที่ 31 มกราคม 2565 กรมสรรพากรเผยแพร่ “คำแนะนำการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คริปโทเคอร์เรนซี โทเคนดิจิทัล” ซึ่งเอกสารฉบับนี้เป็นคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับการยื่นแบบฯ ประจำปี 2564 และตัวอย่างการคำนวณครอบคลุมเฉพาะผู้มีเงินได้บางกรณีเท่านั้น ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวมีความยาว 32 หน้า มีเนื้อหาครอบคลุมคำนิยาม, การระบุประเภทของเงินได้, วิธีการคิดคำนวณต้นทุน พร้อมตัวอย่าง, วิธีการยื่นแบบฯ กระดาษและออนไลน์, เอกสารแนบท้ายซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคำถามที่พบบ่อย
“เงินได้” จากคริปโท-โทเคนดิจิทัลแบบไหนต้องเสียภาษี
จากคู่มือของกรมสรรพากร สามารถแยกประเภทเงินได้จากคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล ได้ 5 ประเภท ดังต่อไปนี้
- การจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล
- การจำหน่ายคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเป็นเงินสด (Fiat)
- แลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีจากสกุลเงินหนึ่งเป็นอีกสกุลเงินหนึ่ง
- ใช้คริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลในการซื้อสินค้าและบริการ
- การขุดคริปโทเคอร์เรนซี (Mining)
- การได้รับคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเงินเดือน หรือค่าจ้าง
- การได้รับคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลจากการให้ หรือได้รับเป็นรางวัล
- การได้รับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลจากกิจกรรม AirDrop
- การได้รับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลจากพ่อแม่ คู่สมรส และทายาท
- การได้รับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลจากญาติ เพื่อน หรือคนรู้จัก
- การได้รับผลประโยชน์ หรือผลตอบแทนจากการถือครอง
- การได้รับผลประโยชน์จากการ Yield Farming หรือ Staking
สำหรับการคำนวณภาษีสามารถเลือกทำได้ 2 วิธี คือวิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) และวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) โดยเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้ แต่ต้องใช้วิธีการคำนวณนั้นตลอดทั้งปีภาษี และจะสามารถเปลี่ยนวิธีการคำนวณรูปแบบใหม่ได้ในปีภาษีถัดไป โดยสามารถศึกษาวิธีการคำนวณอย่างละเอียดได้จากลิงก์นี้ คลิก
ที่มา : กรมสรรพากร
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส