คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ลงมติ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ 7-0 เสียง ให้การแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ออกจากกฎ ‘มัสต์แฮฟ’ (Must Have) เรียบร้อยแล้ว ทำให้หลังจากนี้ จะต้องเข้าสู่ระบบการซื้อ-ขายลิขสิทธิ์เหมือนรายการอื่นๆ
กฎมัสต์แฮฟ คืออะไร
กฎที่กำหนดให้ถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาทัวร์นาเมนต์ที่กสทช.กำหนดไว้ให้ประชาชนรับชมฟรีทั่วประเทศ ซึ่งหลังจากถอดฟุตบอลโลกออก ทำให้รายการกีฬาที่อยู่ในกฎนี้เหลือ 6 ทัวร์นาเมนต์ ซึ่งประกอบด้วย ซีเกมส์, อาเซียนพาราเกมส์, เอเชียนเกมส์, เอเชียนพาราเกมส์, โอลิมปิกเกมส์ และพาราลิมปิกเกมส์
เหตุผลที่ถอดฟุตบอลโลกออกจากกฎมัสต์แฮฟ
เนื่องจากเป็นรายการกีฬาที่มูลค่าเชิงการตลาดสูง ไม่มีคนไทยเข้าแข่งขันทำให้ ซึ่งหลังจากฟุตบอลโลก 2022 ได้เกิดกระแสการตั้งคำถามเป็นวงกว้างถึงความจำเป็นและความคุ้มค่า ทั้งที่ทีมชาติไทยไม่เคยได้เข้าไปแข่งขันในรอบสุดท้าย ซึ่งต่างจาก 6 ประเภทกีฬา คือ กีฬาซีเกมส์, อาเซียนพาราเกมส์, เอเชียนเกมส์, เอเชียนพาราเกมส์, โอลิมปิกเกมส์, พาราลิมปิกเกมส์ ที่มีนักกีฬาตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขัน ไปสู่ในรอบลึก ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาทำให้ กสทช.มีมติในการถอดฟุตบอลโลกออกจากกฎมัสต์แฮฟ โดยจะมีผลตั้งแต่ฟุตบอลโลก 2026 ที่ แคนาดา เม็กซิโก และ สหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าภาพ
ปัญหาของกฎมัสต์แฮฟ
กฎมัสต์แฮฟ ส่งผลให้ต้นทุนค่าลิขสิทธิ์จะมีราคาสูงเพิ่มสูงขึ้นจากกฎที่กำหนดว่าต้องรับชมได้ทุกช่องทางทั่วประเทศ ทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องคิดราคาเพิ่ม อีกทั้งยังส่งผลให้ภาคเอกชนไม่มีแรงจูงใจในการ ซื้อลิขสิทธิ์เนื่องจากลิขสิทธิ์มีราคาสูงและเมื่อซื้อมาแล้วต้องอนุญาตให้ฟรีทีวีเอาไปถ่ายทอดสดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้ไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน