หลายวันมานี้หลายคนคงได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง ซึ่งหลายประเทศกำลังติดตามอยู่ทั้งในยุโรป รวมถึงในสหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา และออสเตรเลีย ซึ่งโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) นั้นเป็นโรคที่พบไม่บ่อยหรือไม่ค่อยมีคนรู้จักมาก่อน เราไปดูอาการของโรคฝีดาษลิงกันดีกว่า
อาการของโรคฝีดาษลิง
คนที่ติดเชื้อมักจะมีอาการ เกิดไข้ หนาวสั่น มีผื่น และมีรอยโรคที่ใบหน้าหรือที่บริเวณอวัยวะเพศ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ เสื้อผ้า หรือผ้าปูที่นอน โดยระยะฟักตัวโรคมักจะอยู่ที่ 6 ถึง 13 วัน แต่สามารถอยู่ได้นานในช่วง 5 ถึง 21 วัน ซึ่ีงแต่ก่อนยังไม่มีการบันทึกการแพร่เชื้อทางเพศสัมพันธ์ โดยคนส่วนใหญ่หายจากโรคภายในไม่กี่สัปดาห์ซึ่งไม่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
ล่าสุดมีรายงานจาก ดร. เดวิด เฮย์มันน์ ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าแผนกฉุกเฉินของ WHO เผยว่า “เราทราบดีว่าโรคฝีดาษสามารถแพร่กระจายได้เมื่อมีการสัมผัสใกล้ชิดกับของตัวหรือของใช้ของผู้ที่ติดเชื้อ และดูเหมือนว่าการติดต่อทางเพศได้ขยายการแพร่เชื้อออกไปแล้ว”
สำหรับการรักษาพบว่าวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษซึ่งเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกันนั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคฝีดาษในลิงและมีการพัฒนายาต้านไวรัสบางชนิด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โรคนี้มีผู้เสียชีวิตถึง 6% ของการติดเชื้อ
สัตว์หลายชนิดได้รับการระบุว่ามีความอ่อนไหวต่อไวรัสโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) และการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกนั้นอาจไม่เพียงพอรวมถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่น ๆ ที่ติดเชื้อนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ โรคฝีดาษมักจำกัดตัวเองแต่อาจรุนแรงในบางคน เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเนื่องจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ
อาการที่ต้องสงสัย
บุคคลทุกวัยที่มีผื่นเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุหรืออาการแสดงต่อไปนี้ตั้งแต่หนึ่งรายการขึ้นไป
- ปวดศีรษะ
- เริ่มมีไข้เฉียบพลันมากกว่า 38.5 องศา
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
- ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ปวดหลัง
- อาการอ่อนเพลีย
คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก
มีการระบุเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแพร่กระจาย ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคอีสุกอีใสควรได้รับการตรวจสอบ และหากได้รับการยืนยัน ควรแยกกักตัวรักษาจนกว่ารอยโรคจะลอกเป็นขุย ตกสะเก็ดหลุดออกมาและมีชั้นผิวหนังใหม่เกิดขึ้นด้านล่าง ซึ่งถือเป็นการไม่เผยแพร่ต่อแล้ว
และในประเทศต่าง ๆ ควรเตรียมพร้อมสำหรับสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยที่มีผื่นผิดปกติ และมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง และปวดกล้ามเนื้อ บุคคลเหล่านี้อาจจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และประกาศให้รับรู้ในหมู่ชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ เพื่อป้องกันและการจัดการการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ