องค์การสหประชาชาติประกาศเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ประชากรโลกได้มีจำนวนเกิน 8,000 คน ไปเรียบร้อยแล้ว จำนวนประชากรโลกในทศวรรษที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มยากจน นับเป็นปัญหาในระดับโลกที่ต้องเร่งแก้ไข เพราะถ้าอิงจากสถิติที่ผ่านนั้น มนุษย์เรานั้นเพิ่มจำนวนขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ในปี 1804 นั้น ประชากรโลกเพิ่งถึง 1,000 ล้านคนแรก จนผ่านไปหนึ่งศตวรรษ ในปี 1927 นั้น เราถึงได้เพิ่มมาเป็น 2,000 ล้านคน และจากจุดนั้น จำนวนประชากรโลกก็ขยายจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ 1,000 ล้านคนล่าสุดนี้ ใช้เวลาเพียงแค่ 11 ปีเท่านั้น ทั้งนี้ปัจจัยหลัก ๆ ก็มาจากคุณภาพยาและระบบสาธารณสุข

แม้ว่าในหลายภาคส่วน พยายามชะลออัตราการเพิ่มจำนวนประชากรในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็ได้ผลบ้างในบางประเทศ ประเทศที่มีประชากรมากอยู่แล้วอย่างสหรัฐอเมริกา และจีน ก็สามารถชะลออัตราการเกิดใหม่อย่างได้ผล แต่ขณะเดียวกันประชาชนที่ทราบว่าอัตราการเกิดใหม่ในประเทศลดลง กลับรู้สึกไม่สบายใจ ส่วนในประเทศยากจนที่ยังไม่สามารถชะลออัตราการเกิดใหม่ได้ ก็ยิ่งทำให้สภาพความเป็นอยู่ที่ลำบากอยู่แล้วก็ยิ่งแย่ลงไปอีก

ประชากรที่เกิดใหม่ 1,000 ล้านคนล่าสุดนี้ 70% มาจากประเทศกลุ่มที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง ซึ่งประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศในแอฟริกาทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า อัตราการเกิดในประเทศในกลุ่มนี้ยังไม่มีวี่แววว่าจะชะลอลง แล้วจะเห็นผลชัดเจนในหนึ่งพันล้านคนถัดไป และผู้หญิงและเด็กในกลุ่มประเทศนี้ขาดการเข้าถึงการดูแลสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งการคุมกำเนิด

“อีก 1,000 ล้านคนถัดไป จะเริ่มต้นในช่วงปี 2022 ถึง 2037 และ 90% ก็จะมาจากประเทศในกลุ่มยากจนและปานกลางนี้แหละ”
ในขณะที่กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง กลับมีอัตราการเกิดใหม่ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในปีหน้านี้ จำนวนประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด

แน่นอนว่าอัตรการการเกิดใหม่ที่พุ่งพรวดเช่นนี้ย่อมมีผลกระทบต่อสภาวะสิ่งแวดล้อมโลก เพราะจำนวนประชากรยิ่งเพิ่มขึ้นก็ยิ่งเผาผลาญพลังงานมากขึ้น และมีผลกระทบกับสภาวะสิ่งแวดล้อม ทั้งการเปลี่ยนทางภูมิอากาศ, การตัดไม้ทำลายป่า และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

“ถ้าเราชะลอการเกิดใหม่ได้จากนี้ต่อไปอีกหลายทศวรรษก็จะช่วยลดการเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ที่จะมีผลต่อไปในครึ่งหลังของศตวรรษนี้”
องค์การสหประชาชาติกล่าวเพิ่มเติม

อัตราการเกิดของประเทศในแถบแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาราที่ยังพุ่งสูง

ผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกไว้ดังนี้
เราใช้เวลา 11 ปีที่ผ่านมา เพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็น 8,000 ล้านคน
และจะใช้เวลา 15 ปีจากนี้ไปสู่หลัก 9,000 ล้านคนในปี 2037
และอีก 22 ปีต่อไป ที่จะเข้าสู่หลัก 10,000 ล้านคนในปี 2058

ในปี 2021 ที่ผ่านมานั้น ประเทศจีนมีอัตราการเกิดใหม่ที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะเดียวกันอายุขัยของประชากรก็ยืนยาวขึ้น ส่งผลให้ประเทศขาดแคลนแรงงาน สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัว เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาที่มีอัตราการเกิดใหม่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาลดต่ำลงนับตั้งแต่ปี 1930s เป็นต้นมา ส่วนประเทศอินเดียนั้น คาดการณ์ว่าจะกลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก แซงหน้าประเทศจีนในปี 2023

ที่มา