ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี่ สหรัฐอเมริกาต้องเจอกับเหตุการณ์วัตถุบินลึกลับและปรากฏการณ์ประหลาดบนน่านฟ้ามากมาย ทั้งบอลลูนสอดแนมที่ภายหลังเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าเป็นของจีน อีกไม่กี่วันก็เจอแสงเลเซอร์ที่ปรากฏบนท้องฟ้าที่ฮาวาย ที่สืบทราบภายหลังว่ามาจากดาวเทียมของจีน แต่ในช่วงนี้ก็ยังมีรายงานว่านักบินของกองทัพสหรัฐฯ ได้เจอวัตถุบินลึกลับไม่ปรากฏสัญชาติ ซึ่งนักบินเชื่อว่าน่าจะเป็น UFOs มาจากนอกโลก ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นขัดแย้งว่าวัตถุบินลึกลับเหล่านี้น่าจะมีจุดกำเนิดอยู่บนโลกเรานี่ละ

ช่วงนี้กองทัพสหรัฐฯ กำลังอยู่ในช่วง “ตื่นตระหนกกันอย่างมาก” เพราะในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมานี่ เครื่องบินขับไล่ได้ยิงวัตถุลึกลับร่วงไปแล้วถึง 4 ชิ้น

กองทัพสหรัฐฯ อยู่ในสถานะ “ตื่นตัวมากขึ้น” ต่อวัตถุที่ไม่สามารถระบุได้ซึ่งบินอยู่ในน่านฟ้า โดยอย่างน้อย 4 ชิ้นถูกยิงตกในช่วง 8 วันที่ผ่านมา ในจำนวนนี้มีเพียงบอลลูนสีขาวเพียงสิ่งเดียวที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็ฯบอลลูนสอดแนมจากจีน ส่วนที่เหลืออีก 3 ชิ้นนั้นยังคงเป็นปริศนา

กองทัพสหรัฐฯ ได้พบวัตถุบินลึกลับกันอยู่เนือง ๆ ย้อนไปเมื่อปี 2014 ต่อเนื่องถึง 2015 ก็มีการพบวัตถุบินประหลาดรูปทรงคล้ายลูกข่างแต่หมุนทวนกระแสลม มีผู้พบเห็นวัตถุบินลึกลับนี้แทบทุกวันลอยตัวอยู่บนท้องฟ้าเหนือชายฝั่งด้านตะวันออก นักบินประจำกองทัพเรือสหรัฐฯ รายงานว่า พยายามสังเกตแล้วก็มองไม่เห็นส่วนที่น่าจะเป็นเครื่องยนต์ของวัตถุบินลึกลับนี้ แต่มันก็สามารถขึ้นไปที่ระดับความสูง 9,000 เมตรได้ และเคลื่อนตัวได้ด้วยความเร็วเหนือเสียง

อดีตนาวิกโยธินไรอัน เกรฟส์

อดีตนาวิกโยธินไรอัน เกรฟส์ เป็นนักบินเครื่อง F/A-18 Super Hornet ที่มีประสบการณ์การบินกว่า 10 ปี ระบุว่าวัตถุเหล่านี้สามารถลอยตัวอยู่ในอากาศได้นานมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมากว่าพวกมันใช้พลังงานจากไหนถึงได้ลอยตัวต่อเนื่องอยู่ได้นานอย่างนั้น

เมื่อปลายปี 2014 ก็มีรายงานอย่างเป็นทางการว่า นักบินเครื่อง Super Hornet เกือบจะชนกับวัตถุบินลึกลับ ซึ่งการเผชิญหน้าครั้งนั้นก็ถูกบันทึกไว้เป็นวิดีโอด้วย เช่นเดียวกับอีกเหตุการณ์เมื่อปี 2015 ก็มีนักบินหลายคนเผชิญกับวัตถุบินลึกลับลอยตัวอยู่เหนือคลื่นทะเล ทำเอาหนึ่งในนักบินตกใจ แทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง ถึงกับอุทานออกมาในวิดีโอด้วยว่า “ว้าว นั่นมันคืออะไรวะเพื่อน เฮ้ยดูมันบินสิ”

โจเซฟ กราดิเชอร์ โฆษกกองทัพเรือกล่าวว่า ได้มีรายงานการพบเห็นวัตถุบินลึกลับต่าง ๆ เข้ามาหลายครั้ง บางครั้งก็สืบพบกว่าเป็นโดรนที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่อีกหลายเหตุการณ์ก็ไม่มีข้อมูลพอจะที่ระบุที่มาได้ การพบเห็นวัตถุบินลึกลับหลายครั้งได้ถูกรายงานไปยัง ‘โครงการระบุตัวตนภัยคุกคามจากอากาศยานขั้นสูง’ (Advanced Aerospace Threat Identification Program) เป็นโครงการขั้นสูงของเพนตากอนที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักนัก โครงการนี้จะทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลเรดาร์ วิดีโอต่าง ๆ ที่ไม่สามารถระบุที่มาได้

ลุยส์ เอลิซอนโด (Luis Elizondo) หัวหน้าโครงการฯ ซึ่งลาออกมาเมื่อปี 2017 เล่าว่าช่วงที่เขายังทำงานอยู่กับโครงการฯ ก็ได้พบหลาย ๆ เหตุการณ์ที่น่าตกตะลึง

โครงการดังกล่าวนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 ตามคำเรียกร้องของ แฮร์รี รีด อดีตวุฒิสภาพจากพรรคเดโมแครต แต่โครงการนี้ก็ถูกยกเลิกไปในปี 2012 เหตุเพราะขาดเงินทุนสนับสนุน

แต่ในปี 2019 ทางกองทัพเรือก็ได้รับรู้ว่า บางส่วนของโครงการนี้ยังคงดำเนินการสืบสวนเมื่อมีรายงานว่ามีการพบเห็น UFOs ของเจ้าหน้าที่กองทัพสหรัฐฯ

กรณีหนึ่งที่ทางโครงการยังคงทำหน้าที่ตรวจสอบก็คือ วิดีโอที่บันทึกภาพวัตถุทรงรีสีขาวขนาดใหญ่ ที่ผู้พบเห็นบรรยายว่าเป็น “Tic Tac ขนาดยักษ์” (ลูกอมชื่อดังของสหรัฐฯ ที่เม็ดเป็นวงรีสีขาว)
เครื่องบินรบของกองทัพเรือ 2 ลำ พบวัตถุดังกล่าวนี้ นอกชายฝั่งซานดิเอโกเมื่อปี 2004 พวกเขาบอกว่ามันใหญ่พอ ๆ กับเครื่องบินพาณิชย์เลย แต่นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์อาวุโสแห่งศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์วาร์ด-สมิธโซเนียน ก็ออกมาแย้งว่า ไม่น่าจะเป็นวัตถุที่มาจากนอกโลก

เขาให้สัมภาษณ์กับ New York Times ว่า
“มีความเป็นไปได้อื่นๆ อีกมากมาย เช่น จุดบกพร่องในโค้ดสำหรับระบบภาพและการแสดงผล ผลกระทบจากบรรยากาศและการสะท้อน การโอเวอร์โหลดของระบบประสาทจากอินพุตหลายตัวระหว่างการบินด้วยความเร็วสูง”

มีการคาดเดาไปต่าง ๆ นานามากมายเกี่ยวกับต้นกำเนิดของวัตถุบินลึกลับ แต่ก็ไม่มีใครในกระทรวงกลาโหมกล้าออกมายืนยันว่าวัตถุเหล่านี้มาจากนอกโลก

นักบินของกองทัพเรือไม่ได้คาดเดาว่าวัตถุดังกล่าวมาจากไหน อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือได้รับทราบในเวลานั้นและได้ออกแนวทางลับสำหรับการรายงานปรากฏการณ์ทางอากาศที่ไม่สามารถอธิบายได้เหล่านี้

นักบินกองทัพเรือไม่ได้ให้ข้อสังเกตว่าวัตถุบินลึกลับเหล่านี้จะมีที่มาจากไหน แต่กองทัพเรือก็ได้ออกแนวทางปฏิบัติเพื่อการนี้ ด้วยการเปิดช่องทางการรายงานลับเฉพาะในกรณีที่นักบินพบเห็นวัตถุลึกลับเหล่านี้

ที่มา