ถ้าพูดถึงคลิปที่กำลังมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นคลิป “ใบปริญญามีไว้เพื่ออะไร” ของมหาวิทยาลัยมหิดลอย่างแน่นอน ที่มีเนื้อหาเรียบๆ แต่ก็ฮอตฮิตและถูกแชร์อย่างล้นหลาม แถมยังมียอดวิวร่วม 2 ล้าน ในเวลาไม่กี่วันด้วย ว่าแต่คลิปนี้ มีอะไรกันนะ ทำไมถึงมีผู้ชมและผู้แชร์กันเยอะขนาดนี้ อย่าช้าดีกว่า มาดูกันค่ะ

1

คลิปนี้เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า “ปริญญามีไว้เพื่ออะไร” จากนั้นก็ตัดภาพสลับกับการถ่ายทำบรรยากาศของวันรับพระราชทานปริญญาบัตร ในวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา (แน่นอนว่าวันนั้นตอนดูคลิปนี้ครั้งแรก บีและเหล่าๆเพื่อนบัณฑิตคนอื่น ก็น้ำตาซึมตามๆกัน)

2

และก็ตัดไปที่คลิปวิดีโอนี้อีกครั้ง โดยเป็นเสียงของ “ใบปริญญา” พูดเอง

3

ถัดมาใบปริญญาก็มาเล่าเรื่องของหนุ่มสาวออฟฟิศ ที่ต่างฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆ เพื่อตามหาความสำเร็จของตนเอง

5

6

จากนั้นก็ตามมาด้วยคำถามว่า “คุณมีปริญญาแค่นี้รึเปล่า”

พอดีกว่าไม่สปอยแล้ว บีว่าไปดูเองจนจบดีกว่าเนอะ

หาความหมายของใบปริญญากับมหาวิทยาลัยมหิดล

ย้อนกลับมาที่ตัวเราเองกันบ้าง หลายครั้งเรามองเห็นปัญหาชีวิตของเราเป็นเรื่องใหญ่ เป้าหมายชีวิตของเราเป็นสิ่งสำคัญ จนบางครั้งเราก็ละเลยคนรอบข้าง และคนอื่นๆในสังคม บีเชื่อว่าต้องมีบ้างแหละ ที่เราเผลอทำอะไรที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ไม่ว่าเราจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

ส่วนหนึ่งก็คงต้องโทษสังคมในปัจจุบัน ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องแข่งขันอยู่ตลอดเวลา เลย หล่อหลอมให้เรามองหาแต่จุดหมาย จนละเลยสิ่งดีงามหลายๆอย่างบนโลกนี้ไป..

บีเองก็เป็นหนึ่งในนักศึกษามหิดล ที่เรียนที่มหิดล วิทยาเขตศาลายามาร่วม 4 ปี เรียกได้ว่าทุกส่วน ทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยนี่บีคุ้นเคยหมดแล้ว แต่ส่วนที่บีคุ้นเคยและจำได้ดีที่สุด คงหนีไม่พ้น พระบรมราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก หรือพระบิดานั่นเอง “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน เป็นที่สอง ประโยชน์ของ เพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง”  

the-initiative

ความรู้สึกแรกตอนได้ยินข้อความนี้ที่มหาวิทยาลัยในช่วงเฟรชชี่ บอกได้เลยว่า ขนลุกมากค่ะ เพราะมันทำให้บีชะงักว่า ไอ้ช่วง 18 ปีของชีวิตที่ผ่านมาเราทำอะไรเพื่อสังคมบ้างนะ หรือเราเอาแต่เรียกร้องอย่างเดียว จากนั้นก็เกิดความคิดที่ว่า “นอกจากภาระที่เราต้องรับผิดชอบตัวเองแล้ว ภาระสังคมเราก็ต้องรับผิดชอบด้วย

ฟังดูอาจจะดูเหมือนยาก แต่บีคิดว่าการทำอะไรเพื่อสังคมที่ง่ายที่สุด คือการเริ่มจากการไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน สิ่งต่อมาก็คือการรู้จักให้ การ “ ให้ ” ในที่นี้ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ที่การให้เงินหรือสิ่งของ แต่อาจเป็นการให้สิ่งอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นการตักเตือนคนทีกำลังทำผิดอยู่ ให้เขาตระหนักได้ หรือการมอบความรู้ดีๆให้กับผู้อื่นด้วยวิธีต่างๆ รวมถึงการไม่ละเลยที่จะส่งต่อโอกาสดีๆต่างๆให้กับคนอื่น

คงเป็นเรื่องที่ดีหากเราจะใช้ใบปริญญาและความรู้ที่เราร่ำเรียนมาทำเพื่อคนอื่นด้วย เพราะสิ่งที่เราควรจะมองเห็นคือ เราเป็นคนหนึ่งที่ได้รับโอกาสดีๆมากกว่าคนอื่น และหากเราใช้โอกาสที่เราได้รับนั้น ส่งต่อให้คนอื่นๆ โดยการทำความดีเล็กๆน้อยๆในแต่ละวัน สิ่งดีๆเหล่านั้นก็ย่อมส่งผลให้สังคมเราน่าอยู่มากขึ้น