เหลือเวลาอีกไม่ถึง 1 สัปดาห์แล้ว สำหรับการเข้าคูหา กาเบอร์ที่ชอบ ซึ่งคนไทยน่าจะคุ้นเคยกับการเลือกโดยต้องกาบัตร 2 ใบ  ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ของชาวกรุงเทพฯ หรือการเลือกอบต. ของแต่ละจังหวัด รวมถึงการเลือกตั้งทั่วไปอย่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ (2566) นอกจากการจำเบอร์ที่ชอบแล้ว สิ่งที่ต้องจำให้ขึ้นใจคือ บัตรใบไหนใช้เลือกอะไร เลือกคนหรือเลือกพรรค เพราะเมื่อกาผิดและมีการขีดฆ่า ขีดทับ บัตรใบนั้นจะกลายเป็นบัตรเสียทันที โดยที่ไม่สามารถขอบัตรเลือกตั้งใบใหม่จากกรรมการประจำหน่วยได้ แล้วประเทศอื่น ๆ ในโลกนี้ บัตรเลือกตั้งของเขาเป็นยังไง ใส่ข้อมูลอะไรเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ออกไปใช้สิทธิ์บ้าง เราจะบรีฟให้ฟัง

อินโดนีเซีย

บัตรเลือกตั้งขนาด A2 (16.54 x 23.39 นิ้ว) อีกนิดก็จะเท่าโปสเตอร์แล้วนะ 

ที่ต้องใหญ่ขนาดนี้เพราะอินโดนีเซีย มีพรรคการเมืองหลายพรรค แต่ละพรรคส่ง ส.ส.ลงเลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 5 คนต่อเขต และในบัตรเลือกตั้งต้องระบุหมายเลขประจำพรรค ชื่อ และโลโก้ของพรรคให้ครบถ้วน แถมยังต้องระบุรายชื่อ ส.ส.ที่ลงสมัครประจำเขตของแต่ละพรรคให้ครบถ้วน แต่เห็นบัตรใบใหญ่ขนาดนี้พอเลือกเสร็จก็จะต้องพับจนเหลือแค่ขนาดเท่าฝ่ามือถึงจะหย่อนลงหีบได้เช่นกัน  

ส่วนวิธีลงคะแนนเสียง ภายในคูหาจะมีอุปกรณ์เจาะรูเตรียมไว้ให้ ผู้ใช้สิทธิ์เพียงแค่เจาะรูลงบนชื่อของผู้สมัครที่ต้องการเพียงรูเดียว คะแนนก็จะถูกนับเป็น 1 แต่หากผู้ใช้สิทธิ์ไม่รู้จะเลือกใครก็สามารถเจาะรูที่ชื่อพรรค  พรรคที่ได้คะแนนมากที่สุดจะได้สัดส่วน ส.ส.ในเขตนั้นมากที่สุด แต่ต้องมาดูกันอีกทีว่าผู้สมัครคนไหนได้คะแนนโหวตมากที่สุดถึงจะได้ตัวผู้แทน (ข้อมูลของการเลือกตั้งทั่วไปปี 2014) 

ออสเตรเลีย 

บัตรเลือกตั้ง ส.ส.ออสเตรเลีย จะระบุทั้งชื่อและนามสกุลของผู้สมัคร รวมถึงพรรคที่สังกัดและโลโก้ของ

พรรคด้วย  เรียกว่าระบุมาครบ จบในที่เดียว

วิธีลงคะแนน เพียงแค่เขียนหมายเลขเรียงลำดับความชอบผู้สมัครจาก 1 ไปจนถึงเลขสุดท้าย หมายเลข 

โลโก้พรรคที่สังกัด การลงคะแนนเสียงเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คุณจะต้องเขียนหมายเลข ‘1’ ในช่องถัดจากผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นตัวเลือกแรกของคุณ และหมายเลข ‘2’, ‘3’ และอื่นๆ เทียบกับทั้งหมด ผู้สมัครคนอื่น ๆ จนกว่าจะมีการกำหนดหมายเลขในช่องทั้งหมดตามลำดับที่คุณต้องการ ชื่อของใครได้หมายเลข “1” มากที่สุด ก็ได้เก้าอี้ไปครอง 

นิวซีแลนด์ 

ข้ามมาที่นิวซีแลนด์กันบ้าง บัตรเลือกตั้ง ส.ส.นิวซีแลนด์ จะไม่ระบุหมายเลขของผู้สมัคร มีเพียงชื่อพรรคและชื่อของผู้สมัครในเขตนั้น ๆ กำกับด้วยโลโก้พรรค โดยตัวบัตรจะแบ่งออกเป็นสองฝั่ง (ซ้าย-ขวา) เนื่องจากคนนิวซีแลนด์ต้องเลือก 2 อย่าง คือ 

  • เลือกพรรคเพื่อแบ่งสัดส่วนส.ส. ที่แต่ละพรรคควรได้ 
  • เลือกคนที่อยากให้เป็นตัวแทนในเขตของตัวเอง 

วิธีเลือกแค่ “ติ๊กถูก” ในช่องวงกลมของพรรคและ ส.ส. ที่ถูกใจ โดยไม่จำเป็นว่าข้อมูลทั้ง 2 ฝั่งจะต้องมา

จากพรรคเดียวกัน ผู้ใช้สิทธิ์ยังสามารถเลือกว่าจะเลือกแค่พรรคที่ชอบโดยไม่เลือกคนก็ได้เช่นกัน 

หรือเลือกคนที่ชอบแต่ไม่เลือกพรรค คะแนนที่เลือกที่เราออกเสียงไปนั้น ก็จะถูกนำมานับอยู่เช่นเดิม 

ฝรั่งเศส 

มาดูที่ฝรั่งเศสกันบ้าง แต่ละพรรคจะมีบัตรเลือกตั้งที่สามารถออกแบบได้เองตามกรอบของกฎหมายเลือกตั้บ แต่จะต้องส่งให้ กกต. เป็นผู้จัดพิมพ์เพื่อนำมาใช้ในการลงคะแนนเสียง โดยตัวบัตรจะถูกกำหนดให้มีแค่สีเดียวและจะต้องพิมพ์บนกระดาษสีขาว ภายในบัตรต้องมีชื่อผู้สมัคร และชื่อผู้สมัครสำรอง ที่จะมาคอยทำหน้าที่แทนในกรณีฉุกเฉินหากผู้สมัครที่รับเลือกไม่สามารถทำหน้าที่ได้ รวมถึงจะต้องมีชื่อพรรค โลโก้ หรือสโลแกนประจำพรรคด้วย 

วิธีลงคะแนน คือผู้ใช้สิทธิ์แค่เข้าไปที่คูหา ลงทะเบียน  และหยิบบัตรเลือกตั้งของพรรคในดวงใจ ซึ่งบัตรของแต่ละพรรคจะถูกวางเรียงไว้บนโต๊ะเดียวกัน แล้วเข้าไปลงคะแนนในคูหา ซึ่งตามธรรมเนียมแล้วควรหยิบบัตรจาก 2 พรรคที่ต่างกันเพื่อ แต่หลังจากกาเสร็จจะพับบัตรของพรรคที่เลือกใส่ซองที่จัดไว้ให้แล้วหย่อนลงในกล่อง

ที่มา : lasemainedespyrenees aec.gov carnegieendowment electoral commission

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส