หนังสือเล่มนี้จะแสดงมุมมองอีกด้านของเดดไลน์ หรือเส้นตายแห่งการทำงาน ที่ไม่เพียงใช้เพื่อเป็นตัวชี้วัดความล้มเหลวเท่านั้น แต่เดดไลน์จะชี้ทางแห่งความสำเร็จในโลกการทำงานอีกด้วย และมีประโยชน์ต่อผู้ที่มีปัญหาในการเริ่มต้นงานและทำงานให้เสร็จ อีกทั้งนำเสนอวิธีใช้เครื่องที่เรียกว่า ‘เส้นตาย’ อย่าง CEO ระดับแถวหน้าในโลกธุรกิจ
ปรากฎการ์ณเดดไลน์ หรือ Deadline Effect นั้นพัฒนามาจาก กฏของเยอร์คส-ด็อดสัน (Yerkes-Dodson) ซึ่งคิดขึ้นโดยนักจิตวิทยา Robert M. Yerkes และ John Dillingham Dodson ในปี 1908 ว่าด้วยเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด ความกดดัน และงานที่รับผิดชอบ ซึ่งอาจจะมาในลักษณะของสถานการณ์ของความยากลำบาก หรือมีความท้าทายที่เราไม่เคยไปถึงมาก่อน โดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้จากภาวะตื่นตัว ดังนั้นการกำหนดเดดไลน์ จึงเป็นแรงขับที่ทรงอานุภาพมากพอจะทะลุทะลวงได้ แม้กระทั่งภาวะต่อมจินตนาการตีบตันขั้นเลวร้ายที่สุด
7 วิธี ปรับใช้ Deadline ฉบับนักวางแผนมือโปร
ตั้งด่านตรวจ
ลองสุ่มตรวจ แก้ไขข้อผิดพลาด ดังที่เรื่องราวร้านอาหารฝรั่งเศสชื่อดังในเล่มก็ใช้วิธีนี้ โดยตั้งวันเปิดทดลองร้าน รันโฟลวงานเหมือนจริงทุกประการ เพื่อเช็คข้อบกพร่อง หาปรับจุดพัฒนาก่อนเปิดร้านจริง
นับย้อนหลัง
กำหนดเส้นตายแล้วย้อนระบุรายละเอียดงานที่ต้องทำ เรียนรู้จากการปลูกต้นไม้ว่าแผนแต่ละขั้นตอนใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วเริ่มทำจากเล็กไปใหญ่
เปิดไม่เป็นทางการ
พยายามตั้งเดดไลน์หลอกก่อนเดดไลน์จริง เพราะหากเรากำหนดวันส่งแค่ครั้งเดียว งานอาจเสร็จไม่ทันส่งแน่ ๆ ดังนั้นเคล็ดลับคือต้องจริงจังกับเส้นตายอย่างไม่เป็นทางการนี่ด้วย
จดจ่อกับภารกิจ
หากคุณเจอกับภารกิจที่ซับซ้อน ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนดี นับว่าเป็นเรื่องที่ไม่แปลกเลย เนื่องจากพวกเราเก่งแต่กับเป้าหมายเล็กจิ๋ว แต่ลำดับความสำคัญไม่เป็น ซึ่งการเรียนที่จะจดจ่อ และรู้ว่าลำดับงานไหนคือเรื่องสำคัญตามลำดับนี่แหละ เป็นตัวช่วยชั้นดีในการจัดการงานซับซ้อน
แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
คำ 3คำที่ควรจำให้ขึ้นใจ ‘ทำไปก่อน ปรับแก้ทีหลัง’ จะช่วยให้งานเสร็จไวยิ่งกว่าการมัวแต่นั่งเล็ง วางแผนจนทะลุปรุโปร่ง แต่ไม่เริ่มลงมือทำสักที ดังนั้นครั้งต่อเราควรที่จะสร้าง ทดสอบ และปรับปรุงให้สม่ำเสมอ
แปลงร่างเป็นปีศาจที่ขับด้วยภารกิจ
ไม่ตั้งเป้าหมายแบบทั่วไป, เบ็ดเตล็ด, เอนกประสงค์ สิ่งพวกนี้ทำให้เราไม่เข้าใจทิศทางกับเส้นทางที่กำลังมุ่งไป เปลี่ยนเข้าสู่จุดหม่ายที่เจาะจงมากขึ้น ตัวอย่าง NASA เคยเป็นหน่วยการทางวิทยาศาสตร์เอนกประสงค์ แต่หลังจากประธานาธิบดีกำหนดเป้าหมายพิชิตดวงจันทร์ องค์การ NASA ก็เปลี่ยนไปตั้งแต่นั้นมา กลายเป็นองค์การแห่งอวกาศที่หลายคนนึกถึง
ฝึกฝนจนชำนาญ
เตรียมตัวให้ดี เรียนรู้ผ่านการทำซ้ำ ๆ จะทำให้เรารับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดอย่างใจเย็น และเมื่อคุณเข้าสู่การทำงานใน ‘ภาวะลื่นไหล’ คือช่วงเวลาที่เรามีสมาธิมากที่สุด ไม่คิดเรื่องอื่นใด นอกเสียจากเป้าตรงหน้า ส่งผลให้ขยายขีดความสามารถออกไป แล้วการต่อสู้กับเดดไลน์ก็เป็นแค่เรื่องจิ๊บจ๊อย
ประโยชน์ของเดดไลน์ ในหลายแง่มุม
- ร้านอาหารมิชลินสตาร์ปรับปรุงเมนู และการจัดภายในได้ดีเยี่ยม เมื่อคอยกำหนดการตรวจงานย่อย ๆ
- บรรณาธิการนิตยสาร GQ กำหนดเส้นตายหลอกก่อนวันส่งงานจริงเพื่อให้นักเขียนส่งงานทันเวลา
- ช่วยให้เวลามีพักผ่อนให้เพียงพอเพิ่มมากขึ้น
- สร้างนิสัยที่ดีในการทำงาน โดยการวางแผนที่เป็น
การกำหนดเดดไลน์ จึงเป็นแรงขับที่ทรงอานุภาพมากพอจะทะลุทะลวงได้ แม้กระทั่งภาวะต่อมจินตนาการตีบตันขั้นเลวร้ายที่สุด
สุดท้ายผมก็หวังว่าการป้ายยาหนังสือครั้งนี้ จะมีประโยชน์กับใครก็ตามที่ดิ้นรนให้งานเสร็จ ซึ่งก็คือพวกเราทุกคน แล้วคุณจะบอกกับตัวเองว่า “กำหนดเส้นตายในงานสิ ยิ่งเร็วยิ่งดี”
ชื่อหนังสือ: The Deadline Effect
แปลจาก: ทำงานสำเร็จได้ก่อนเดดไลน์เสมอ
ผู้เขียน: คริสโตเฟอร์ ค็อกซ์
ผู้แปล: จินดารัตน์ ธรรมรงวุทย์
สำนักพิมพ์: อมรินทร์ How to
ราคา: 275 บาท