ต่างรู้กันอย่างดีว่าในตอนนี้โลกของเราได้ก้าวข้ามจากคำว่า ‘โลกร้อน’ เป็น ‘โลกเดือด’ แล้วในตอนนี้ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้เกิดภัยธรรมชาติ บางจากจึงได้จัดงาน ครบรอบ 3 ปี Carbon Markets Club ชวนรุก รับ ปรับตัว รับมือยุคโลกเดือด ในงาน “READY, SET, NET ZERO” มาสร้างองค์ความรู้เพื่อองค์กร และประชาชนตระหนักรู้เรื่อง Net Zero
โดยภายในงานก็มีการแบ่งหัวข้อบรรยายพิเศษ เสวนาบนเวทีหลากหลายหัวข้อบนเวที และมีคุณหนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โชว์ไร้ขีด (จำกัด) เป็นผู้ดำเนินรายการ
“Road to Decarbonization” สู่ “Warmer than in hell”
“Road to Decarbonization” สู่ “Warmer than in hell” โดย ผศ. ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ และอาจารย์ประจำภาควิชา วิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดยผศ. ดร. ธรณ์ ได้เล่าถึงประสบการณ์ทำงานจากการสำรวจทางทะเลว่า ในตอนนี้เรากำลังโดนโกหกอยู่เรื่องของโลกร้อนว่าโลกเราไม่ได้ร้อนขนาดนั้น แต่การทำแบบสำรวจของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกว่า 380 คนมากกว่า 77% มีความคิดเห็นในทางเดียวกันคือ โลกของเราจะร้อนขึ้นอย่างน้อย 2.5 องศา ซึ่งเกินกว่า 1.5 องศาจากการเซ็นต์ข้อตกลงปารีส และในปัจจุบันโลกของเราร้อนขึ้น 1.6 องศาแล้ว และผลกระทบที่ผมเห็นได้ชัดก็คือ ปะการังฟอกขาว หญ้าทะเลที่ตายทั่วท้องทะเลไทย และทั่วโลกก็ต่างเจอเหมือนกัน
สำหรับสิ่งที่ผมสะพรึ่งกลัวมาก ๆ ที่เจอคือ น้ำทะเลมันร้อนมาก ๆ ผมเคยวัดผิวน้ำทะเลไทยสูงถึง 40 องศาเซลเซียส นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ปะการังฟอกขาว หญ้าทะเลตายสัตว์ทะเลไม่มีอาหารกิน พะยูนตาย เต่ามะเฟืองเหลือแต่เพศเมีย
ซึ่งคำถามว่า ในทุก ๆ วันมีการทำ CRS ช่วยรักษ์โลก หรือสร้างความตระหนักรู้นี้มันช่วยโลกได้ไหม คำตอบคือ มันช่วยได้ แต่มันช่วยได้แค่ 2% เท่านั้น และพวกเราควรทำต่อไป พร้อมกับไม่ควรตัดสินใจว่ามันช่วยได้สำเร็จลุล่วง ควรให้ธรรมชาติเป็นคนตัดสินใจเองว่ามันสำเร็จหรือไม่
“𝗥𝗲𝗮𝗱𝘆, 𝗦𝗲𝘁, 𝗡𝗲𝘁 𝗭𝗲𝗿𝗼: 𝗦𝗠𝗘𝘀 ปรับตัวอย่างไรในยุคโลกเดือด”
“𝗥𝗲𝗮𝗱𝘆, 𝗦𝗲𝘁, 𝗡𝗲𝘁 𝗭𝗲𝗿𝗼: 𝗦𝗠𝗘𝘀 ปรับตัวอย่างไรในยุคโลกเดือด” โดย คุณกลอยตา ณ ถลาง รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธาน Carbon Markets Club ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า
แม้ว่าโลกของเรากำลังก้าวข้ามจากโลกร้อน เป็นโลกเดือดแล้วในตอนนี้ แต่อีก 10 ปีข้างหน้าพวกเรามนุษย์โลกต้องเผชิญปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนี้ต่อไปอีก ซึ่งจาก 4 ใน 10 หัวข้อแรก World Economic Forum ได้บอกว่า 1. โลกจะต้องเจอสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว, 2. การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อระบบของโลก, 3. การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศล่มสลาย และ 4. การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ
ซึ่งในปัจจุบันทั่วโลกก็ต่างเป้าหมายสู่ Net Zero ปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ และในหลายประเทศก็ต่างตั้งเป้าในปี 2030 2045 2050 2060 บ้าง แต่ประเทศไทยของเรานั้นตั้งเป้าอยู่ปี 2065 เรียกได้ว่าช้าการเพื่อนร่วมโลก แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็ได้บอกว่า เป้าหมายนี้จะสำเร็จได้ จะต้องได้รับการสนันสนุนจากทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพราะการมุ่งสู่ Net Zero ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มันต้องใช่ทุนที่สูง และมหาศาลเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบประเทศสู่การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์
“Steps to Net Zero” & “Carbon Footprint Tracking for Organizations (CFO) และ Trading Platform”
“Steps to Net Zero” โดย คุณปวีณา พึ่งแพง ผู้จัดการกิจการเพื่อสังคม บมจ. บางจากฯ และ “Carbon Footprint Tracking for Organizations (CFO) และ Trading Platform” โดย ดร.วิชชุวรรณ พึ่งเจริญ ผู้จัดการอาวุโส Energy Innovation Department บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ได้บอกว่า
ในปัจจุบันทั่วโลกนั้นต่างเข้าหาการเข้าสู่ Net Zero แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่รู้เลยคือเราจะต้องเริ่มต้นอย่างไร ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือ สำรวจตัวเอง และองค์กรของเรา โดยดูว่าในชีวิตประจำวันนั้นเรามีการสร้าง Carbon Footprint มาน้อยเพียงใด และเราจะได้กำหนดว่าสิ่ง ๆ นั้นควรถูกลดให้เหลือน้อยที่สุด เพราะ Carbon Footprint นั้นก็พ่วงด้วยของต้นทุนในบริษัท ถ้าลดมากได้เท่าไหร่ก็จะส่งผลดีต่อองค์กร และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิธีที่มานำเสนอในวันนี้ก็มีทั้งหมด 8 ขั้นตอนเริ่มจาก
- ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
- กำหนดความมุ่งมั่น หรือเป้าหมาย
- ประเมินความเสี่ยง และโอกาส
- ตั้งเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาว
- วางแผนกลยุทธ์ขององค์กร
- กำหนดแผนงาน
- ดำเนินตามแผน และติดตาม
- เปิดเผยข้อมูลการดำเนินการทั้งหมด
“BAY Green Finance for SMEs”
“BAY Green Finance for SMEs” โดย คุณเชวง เศรษฐพร ผู้อำนวยการอาวุโส แผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อบรรษัท ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้บอกว่า เราไม่ได้มีเป้าหมายที่จะปล่อยกู้เงินให้แก่ SME แต่อย่างเดียว แต่เราเป็นสถาบันการเงินของประเทศที่ต้องการให้ความรู้ว่าคุณจะได้ประโยชน์อะไรจากการกู้ยืมเงินสิ้นเชื่อเพื่อนำธุรกิจสู่ความยั่งยืน และสินเชื่อของเราจะให้นั้นมีดอกเบี้ยที่ต่ำ และผ่อนได้นาน
“𝗠𝘆𝗖𝗙” 𝗖𝗮𝗿𝗯𝗼𝗻 𝗙𝗼𝗼𝘁𝗽𝗿𝗶𝗻𝘁 𝗖𝗮𝗹𝗰𝘂𝗹𝗮𝘁𝗼𝗿 𝗳𝗼𝗿 𝗜𝗻𝗱𝗶𝘃𝗶𝗱𝘂𝗮𝗹𝘀 (𝗖𝗙𝗜)”
แนะนำแอปพลิเคชัน “𝗠𝘆𝗖𝗙” 𝗖𝗮𝗿𝗯𝗼𝗻 𝗙𝗼𝗼𝘁𝗽𝗿𝗶𝗻𝘁 𝗖𝗮𝗹𝗰𝘂𝗹𝗮𝘁𝗼𝗿 𝗳𝗼𝗿 𝗜𝗻𝗱𝗶𝘃𝗶𝗱𝘂𝗮𝗹𝘀 (𝗖𝗙𝗜)” โดย คุณพุฒิพงศ์ พันธนะวรพิน นักกีฬาแฟลกฟุตบอลทีมชาติไทย และเจ้าหน้าที่กิจการเพื่อสังคม บมจ. บางจากฯ, คุณอมินตา เพิ่มพูนวิวัฒน์ นักสื่อสารด้าน Climate Change และ ด.ญ.พีรดา หิรัญพฤกษ์ เยาวชนผู้มีความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม จาก Wellington College International School Bangkok
ซึ่งภายในงานก็มีการเปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่ที่มีชื่อว่า 𝗠𝘆𝗖𝗙 ติดตั้งใช้งานได้ผ่าน Google Play Store และ App Store เป็นแอปฯ ที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถกรอกข้อมูลว่าในแต่ละวันนั้นเราได้ปล่อยคาร์บอนไปมากน้อยเพียงใดจากการกรอกข้อมูลเช่น จำนวนผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน, ค่าไฟฟ้าต่อเดือนเฉลี่ยเท่าไหร่, ติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือไม่, ปริมาณการใช้น้ำประปา, รูปแบบการเดินทางในชีวิตประจำวัน และอื่น ๆ อีกมากมาย
โดยผลลัพธ์จะแสดงให้เห็นว่า ในหนึ่งปีนั้นเราปล่อยปริมาณคาร์บอนจำนวนกี่ตัน และค่าเฉลี่ยของมนุษย์โลกปล่อยอยู่ที่ 4-5 ตันต่อปี ซึ่งตัวแอปฯ จะให้แนะนำข้อมูลว่า หากเรานั้นปล่อยมากขนาดนี้จะมีวิธีการลดคาร์บอนยังไงให้ได้มากที่สุด