คุณเชื่อใน Butterfly effect หรือไม่? ทฤษฎีที่ว่าด้วยพลังมหาศาลของสิ่งเล็ก ๆ แค่การกระทำเพียงแค่ผีเสื้อกระพือปีก แต่สั่นสะเทือนไปถึงดวงจันทร์ หากมองย้อนกลับมาที่ชีวิตประจำวันการออกกำลังกายเพียงแค่วันละนิด กินดีเพียงแค่วันละมื้อ อ่านหนังสือแค่วันละหน้า ก็ทำให้ชีวิตที่ขึ้น รวมถึงอนาคตเราเปลี่ยนแปลงไป
หลายคนก็เข้าใจการเริ่มต้นมักยากเสมอ ดังนั้นการเริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ แล้วคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในภาคที่ใหญ่ขึ้น จะช่วยให้เราไม่กดดัน และค่อย ๆ ทำไปทีละนิด ตั้งแต่เรื่องของการใช้จ่าย การเดินทาง หรือแม้กระทั่งลงทุน ทุกสิ่งเล็ก ๆเหล่านี้ล้วนนำไปสู่โลกที่ดีกว่าเดิมได้
โดยงาน Be the Change: Sustainable in Everyday Life ‘ยั่งยืน’ ได้เมื่อเรา ‘เปลี่ยน’ อีกแรงสนับสนุนจาก The People ให้ผู้คนที่สนใจเรื่อง ‘ความยั่งยืน’ มาร่วมเปลี่ยนไปด้วยกัน พร้อมทำให้เห็นว่า ‘ทางเลือก’ ของการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถทำได้ทุกวัน ทุกภาคส่วน ตั้งแต่ “เมือง x พลเมือง x หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง x ภาคธุรกิจ
การบริโภคหรือการใช้จ่ายมักจะทำลายโลกของเรา นี่เป็นความคิดที่หลายคนอาจจะนึกถึง แต่เราก็ต้องใช้จ่ายกันอยู่ทุกวันไม่ใช่หรือ แล้วจะมีทางไหนไหมที่ทุก ๆ การใช้จ่ายของเราจะทำไปเพื่อโลกที่ดีขึ้น งานนี้จึงจัดขึ้นเพื่อรวมเอาทั้งหน่วยงานที่เล็กไปจนถึงหน่วยงานที่ใหญ่ ร่วมเสนอทางเลือกและสินค้าที่ยั่งยืนให้กับสังคม และกระตุ้นให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงในยุคที่เปลี่ยนไป
Sustainable City พัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
โจทย์สำคัญของกรุงเทพมหานครวันนี้ คือ การทำให้เมืองเป็นเมืองที่น่าอยู่และเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการเป็นเมืองที่น่าอยู่ได้ต้องมีความยั่งยืนเป็นปัจจัยหลัก โดยสิ่งที่กทม. ทำมาเริ่มต้นจากเปลี่ยนวิธีคิดสู่การกระทำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้แก่เมือง ประกอบด้วย
- พัฒนาจากเส้นเลือดฝอยไปสู่เส้นเลือดหลัก หรือดื้อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทำให้ทุกคนสามามารถเข้าถึงรถไฟฟ้าสาสายหลัก ได้ง่ายขึ้น หน้าที่การพัฒนาระบบบินทางเท้าเส้นทางจักรยาน หรือส่งเสริมรถเมล์ EV
- การจัดลำดับความสำคัญ อย่างตอนนี้กทนก็มีมก็มีมาตรการการแยกขยะแห่งและขยะเปี๊ยกเพื่อให้จัดการขขยะได้มีประสิทธิ์ภาพ และยังได้เริ่มมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมถูกลงหักแยกขยยะใส่อย่างถูกต้อง
- ประโยชน์ 3 เด้ง คือการสื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อม ให้เกี่ยวพันกับสังคมและเศรษฐกิจด้วย ซึ่งตอนนี้กทมมีโครงการ BKK FOod Bank เปิดรับขยะแลกเงิน และโครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น ที่สนับสนุนให้คนในชุมชนมีรายได้
สิ่งเหล่านี้ที่กรุงเทพฯ ได้เริ่มไปแล้ว จึงอยากขอเชิญชวนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการรักษ์โลกโดยเริ่มจากส่วนของตนเองได้ทันทีเช่นกัน
Small Changes in Everyday Life was ‘เล็ก’ ที่ ‘เปลี่ยน’ โลก
คุณวรรณสิงห์ นักทำสารคดีเล่าผ่านมุมมองผู้เคยอยุ่ในพื้นที่ที่มีภาวะสงคราม ได้เห็นถึงสิ่งเลวร้ายที่มนุษย์ทำต่อกัน แต่ก็พบว่าปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่คนทั้งโลกต้องพบเจอคือ ‘เรื่องสิ่งแวดล้อม’ เพราะทุกสิ่งล้วนเกี่ยวโยงกันหมด ป่าลดลงล้วนเกี่ยวกับมนุษย์ ปะการังฟอกขาวก็เกี่ยวกับมนุษย์ หรือการที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายก็จะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นกว่า 7 cm และถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ก็อาจจะจมลง แล้วเรื่องพวกนี้ก็ไม่ได้เกิดในยุคหน้าอีกต่อไป แต่ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงเกิดขึ้นแล้วในวันนี้
หากย้อนกลับมาถามที่ตัวเราว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง? เพื่อหยุดยั้งภัยพิบัติอันเลวร้ายที่ได้กล่าวไป ในท้ายที่สุดผมก็ได้ข้อสรุปว่า เรื่องสิ่งแวดล้อม การเริ่มต้นที่ตัวเองนั้นทำได้ แต่ต้องไปจบที่สภาอยู่ดี เพราะถึงแล้วตระหนักรู้แล้ว ลงมือทำแล้ว แต่ไม่อาจแก้ไขได้ทุกปัญหา กฎหมายจึงเป็นสิ่งที่ต้องเปลี่ยนเพื่อให้ภาพใหญ่เคลื่อนไปพร้อมกัน
คุณชารีย์ เล่าถึงบทบาทเกษตรกร ผู้เป็นนักจัดการดินให้เกิดสิ่งมีชีวิตผุดขึ้นมา ที่จากจุดเริ่มต้นอยากเลี้ยงไส้เดือนเพื่อลดขยะที่เกิดจากเศษอาหาร จนต่อมาอยากเพาะปลูกพืช แต่ที่ดินกับแสงไม่เพียงพอจึงหันไปเพาะเห็ดแล้วนำเห็ดมาแปรรูป เปิดเป็นร้านอาหารในรูปแบบ pre-order ด้วยการจองเข้ามาทานอาหาร ทำให้ลด Food watse ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นแบบเล็ก ๆ แต่กลับทำให้ร้านอาหารฟาร์มลุงลี เป็นที่น่าจดจำของเราลูกค้าที่รักการกินเห็ด และสร้างคุณค่าต่อสังคมเพราะทุกอย่างล้วนเกิดประโยชน์
คุณภาคภูมิตั้งคำถามกับเรา ๆ ว่า การซ่อมนั้นทำให้สังคมดีขึ้นอย่างไร? เพราะการซ่อมนั้นประหยัดกว่ากันนำสินค้าไปรีไซเคิล และยืดอายุให้เราสามารถใช้ซ้ำได้ต่อไป แต่ความย้อนแย้งการซ่อมกับคัดต่อระบบเศรษฐกิจปัจจุบันที่กระตุ้นให้เราทุกคนต้องซื้อของใหม่อยู่เรื่อย ๆ
โดยมีการยกตัวอย่างว่าอย่างยุคสมัยแรก ๆ iPhone ก็ซ่อมยาก หากอยากเปลี่ยนกระจกหลัง ต้องมีการแกะหลายชิ้นส่วนแล้วมาประกอบใหม่ จนการปรับปรุงของ iPhone 15 ทำให้การปรับเปลี่ยนฝาหลังนั้นง่ายขึ้นเยอะ รวมถึงสายชาร์จ Type C ที่สามารถใช้ได้ กับหลายอุปกรณ์โดยที่ไม่ต้องซื้อใหม่ โดยปีหลัง ๆ มานี้บริษัท Apple เองก็กลายเป็นบริษัทที่ผลักดันด้านสินค้า Green อย่างเต็มตัว
และในยุโรปมุมมองของการซ่อมก็ต่างจากบ้านเรา โดยมีการให้ความเห็นว่า แม้การซ่อมจะทำให้รายได้ของธุรกิจนั้นหายไป แต่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้บริโภค จะทำให้พวกเขาอยากใช้จ่ายกับสินค้าที่รักษ์โลกมากขึ้น
คุณศิระ เจ้าของเรือไฟฟ้าผู้เริ่มจากการอยู่บ้านริมคลองบางหลวง จึงใช้ชีวิตในวัยเด็กที่ใกล้ชิดกับแม่น้ำจนมีโอกาสหลังลาออกจากงานประจำหันมาทำธุรกิจเหลืออีกครั้ง แล้วอยากสร้างรายได้ที่มาพร้อมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน
ซึ่งเชื่อว่าตอนนี้เทรนกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีตกลง แต่จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดการฟอกเขียว (Green Washing) ที่หลายธุรกิจอ้างว่ารักสิ่งแวดล้อม แต่ทำเพียงเพื่อสร้างภาพ ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนทำได้คือช่วยกันตรวจสอบจับตาดูว่าธุรกิจที่บอกว่ากรีนนั้น ทำเรื่องสิ่งแวดล้อมจริงไหม พร้อมทั้งเชิญชวนให้คนมาสนใจในด้านกินมากขึ้น เพราะทุก ๆ การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เริ่มต้นที่ตัวเรา
Mission for Sustainability การขับเคลื่อนของภาคธุรกิจ ที่ดำเนินนโยบายอย่างยั่งยืน
และ Session สุดท้ายนี้ มีคุณหนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โชว์ไร้ขีด (จำกัด) เป็นผู้ดำเนินรายการ เพื่อสอบถามถึงการปรับตัวของธุรกิจ รวมทั้งให้ะุรกิจเหล่านี้แชร์เป้าหมายเรื่องความยั่งยืนจาก 4 อุตสาหกรรมประกอบด้วย อุตสาหกรรมพลังงาน, อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์, อุตสาหกรรมการเงิน และอุตสาหกรรมสิ่งทอ
โดยในอุตสาหกรรมแรกเกี่ยวกับด้านพลังงาน คุณปัณวรรธน์ นิลกิจศรานนท์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายวิศวกรรมโครงสร้าง บริษัท เชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต เผยว่า มีความท้าทายในการลดคาร์บอน เพราะเป็นสิ่งที่สวนทางกับธุรกิจหลัก และอีกหนึ่งความยากคือทำให้พลังงานเป็นได้ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1.พลังงานที่สะอาด 2.พลังงานราคาถูก 3.พลังงานที่มีเสถียรภาพ มั่นคง ซึ่งอย่างดีที่สุดก็สามารถทำได้ 2 จาก 3 อย่าง แต่ตอนนี้ทางกลุ่มเชฟรอนเองก็มีการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อผลิตพลังงานแบบเดิมแต่ลดการปล่อยคาร์บอน อีกทั้งยังมีการสร้างธุรกิจใหม่ CCUS ที่สามารถดักจับคาร์บอนลงดินได้
ต่อมา คุณสมัชชา พรหมศิริ Chief of Staff บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เล่าว่า ตอนนี้บริษัทแสนสิริก็กำลังสร้างสมดุลระหว่างกำไรที่ธุรกิจต้องการกับการตอบแทนความยั่งยืนสู่สังคม รวมไปถึงการบริหารความเสี่ยงในองค์กรให้เข้าใจในเทรนด์สิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ เช่นกัน โดยแสนสิริต้องพัฒนาใน 3 ด้านได้แก่ 1.การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว 2.การก่อสร้างนวัตกรรมเพื่อโลก 3.การส่งมอบบ้านปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050
ส่วนภาคการเงิน คุณอารภัฏ สังขรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด แชร์ว่า เมย์แบงค์เองก็มีส่วนร่วมในด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริมการลงทุนในสินทรัพย์ ซึ่งตอนนี้ประเทศเรามีสัดส่วนการลงทุนที่น้อยเกินไป โดยให้ความเห็นว่า ประโยชน์ของการที่มีการลงทุนในสินทรัพย์มากขึ้น จะทำให้คนมีความมั่นคงมากขึ้น ส่งผลทำให้พวกเขาจะมองหาสินค้าที่ยั่งยืนมากขึ้นตามมา
สุดท้าย คุณณัษฐพงษ์ ธรรมฉัตรพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธรรมฉัตร เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผลิตภัณฑ์แบรนด์ฟรอลิน่า เผยว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เพราะในกระบวนการการผลิตมีการใช้น้ำมากถึง 20% ของทั้งโลก และการทำเสื้อผ้าฝ้าย 1 ตัวใช้น้ำถึง 200 ลิตร ทำให้แบรนด์ฟรอริน่า จึงเปลี่ยนมาใช้ฝ้ายที่ปรับพันธุกรรม เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ รวมถึงยังมีการนำไผ่มาผสมกับฝ้าย ลดการใช้ผ้าฝ้าย แต่ยังคงคุณภาพสินค้าให้เหมือนเดิม
พร้อมทิ้งท้ายว่า ทุกธุรกิจนั้นไม่มีเหตุผลที่จะไม่ทำเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเลย เพราะการที่เราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ถือเป็นการส่งมอบสิ่งที่ดีให้โลกและคนรุ่นต่อไป แม้มันจะมีผลต่อต้นทุนธุรกิจบ้าง แต่นี่คือสิ่งที่เราต้องจัดการเพื่อโลกที่ยั่งยืนต่อไป