ในยุคสมัยที่อยู่กันของช่วงชีวิตนี้ มนุษย์อาจจะยังไม่เคยชินหรือรู้จักกับการแพร่ระบาดของเชื้อโรคร้ายมากนัก เท่ากับที่เผชิญหน้ากันอยู่ในปัจจุบัน จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 หรือเชื้อไวรัส Corona ที่จนถึง ณ ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 100,000 คนทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วในอัตราประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ป่วยสะสมรวม ในอดีตของมวลมนุษยชาตินั้น มีการระบาดของโรคร้ายหลายครั้งที่จำนวนผู้เสียชีวิตมีเป็นหลักสิบหรือร้อยล้านคน ชนิดทีเมื่อเทียบกับผู้เสียชีวิตจากสงครามโลกทุกครั้งรวมกันก็ยังเทียบกันไม่ได้เลย “โรคระบาด” ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น (?) จึงเป็นศัตรูตัวฉกาจของมนุษยชาติ ที่มาถึงทีไรก็วอดวายหายนะกันไปทั้งโลกแทบทุกที

โรคฝีดาษโรมันหรือโรคระบาดแอนโทนีน (Antonine Plague)

ภาพเขียนที่วาดถึงเหตุการณ์ (Antonine Plague)

ภาพเขียนที่วาดถึงเหตุการณ์โรคระบาดแอนโทนีน (Antonine Plague)

  • ระยะเวลาที่โรคแพร่ระบาด: ปี ค.ศ.165 มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า The Plague of Galen เป็นโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษที่ระบาดในอาณาจักรโรมัน
  • ชื่อเชื้อโรค: เชื้อฝีดาษ
  • พาหะของโรค: สาเหตุการเกิดนั้นเชื่อกันว่า มาจากการที่กองทัพโรมันเดินทางกลับมาจากแถบตะวันออกใกล้ หรือแถบเอเชียตะวันตก โซนประเทศตุรกี อียิปต์ ไปจนถึงจักรวรรดิออตโตมัน
  • จำนวนคนตาย: มีผู้เสียชีวิตถึงวันละ 2,000 คน ยอดผู้เสียชีวิตรวมทั้งหมดประมาณ 5 ล้านคน
  • ผลกระทบในด้านต่าง ๆ: การแพร่ระบาดในครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงถึงเรื่องของเส้นทางการค้าขาย Indo-Raman Trade ในแถบมหาสมุทรอินเดีย

กาฬโรค (Black Death) 

ภาพเขียนที่วาดถึงการแพร่ระบาดของกาฬโรคที่สร้างความสะพรึงให้กับคนทั้งยุโรป

ภาพเขียนที่วาดถึงการแพร่ระบาดของกาฬโรคที่สร้างความสะพรึงให้กับคนทั้งยุโรป

  • ระยะเวลาที่โรคแพร่ระบาด:  ปี 1346-1353
  • ชื่อเชื้อโรค: เชื้อแบคทีเรีย เยอซิเนีย แพสทิซ (Yersinia pestis)
  • พาหะของโรค: ซึ่งแพร่ระบาดอยู่ในสัตว์จำพวกหนูและตัวหมัดในแถบตอนกลางของเอเชีย จุดเริ่มต้นนั้นเชื่อว่า มาจากขบวนคาราวานที่เดินทางมาจากทวีปเอเชีย เข้ามาถึงยังท่าเรือเมืองซิซิลี ในประเทศอิตาลีประมาณปี 1347 ก่อนที่จะแพร่ต่อไปทั่วทั้งทวีปยุโรป
  • จำนวนคนตาย: 75-200 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประชากรโลกในเวลานั้น (ประมาณ 100,000 คน เฉพาะในเมืองมาร์เซย์ ประเทศฝรั่งเศส) ผู้ป่วยที่ติดโรคนี้จะมีหลายอาการ ขึ้นอยู่กับสถานที่ และช่วงเวลาที่พบ โดยมีลักษณะร่วมคือ ผู้ป่วยจะมีฝีมะม่วงขึ้นบริเวณข้อพับ ขาหนีบ คอ รักแร้ มีไข้สูง อาเจียนเป็นเลือด และเสียชีวิตภายในเวลา 2-7 วัน
  • ผลกระทบในด้านต่าง ๆ: ซากศพของคนที่ตายนั้นทับถมกันจนสูงเป็นเนิน ทำให้ไม่สามารถเผาทำลายได้อย่างทันท่วงที เมื่อซากเริ่มเน่าสลายก็ก่อให้เกิดเชื้อโรคกระจายลงทั้งพื้นดินและแหล่งน้ำต่อไปไม่จบสิ้น Black Death นั้นมีความหมาย 2 อย่าง นั่นคือ อาการขั้นสุดท้ายของผู้ป่วยจากกาฬโรค ร่างกายจะกลายเป็นสีดำเพราะมีเลือดออกใต้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า และอีกความหมายนั้นสื่อถึงความน่าสะพรึงกลัวของโรคร้ายนี้ และอารมณ์เศร้าหมองของผู้คนในยุคสมัยนั้น
  • เทียบช่วงเวลากับไทย: จากข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารอยุธยา ฉบับวันวลิต พ.ศ. 2182 ว่า ก่อนที่จะสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นมา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถูกเนรเทศมาจากเมืองจีน ขึ้นสำเภามาลงที่เมืองปัตตานี แล้วย้ายอยู่ตามเมืองท่าชายทะเลต่างๆ แล้วมาปราบโรคระบาด สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ.1893 ซึ่งตรงกับ ปี ค.ศ.1350 ซึ่งเป็นปีที่มีการระบาดใหญ่ของ Black Death ในยุโรป และจากข้อมูลการระบาดของกาฬโรคในจีนซึ่งร่วมสมัยกันอยู่ โรค ‘ห่า’ ที่พระเจ้าอู่ทองปราบได้ น่าจะเป็น กาฬโรค
แผนผังเส้นทางการแพร่ระบาดของกาฬโรคในยุโรป

แผนผังเส้นทางการแพร่ระบาดของกาฬโรคในทวีปยุโรป

อหิวาตกโรค / โรคห่า 

การระบาดของอหิวาตกโรคครั้งใหญ่ที่นับได้เป็นครั้งที่ 3 ในปี

การระบาดของอหิวาตกโรคครั้งใหญ่ที่นับได้เป็นครั้งที่ 3 ในปี 1855

  • ระยะเวลาที่โรคแพร่ระบาด: มีการระบาดหลายระลอกตามประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ (ขอยกมาเล่าแต่ครั้งใหญ่ ๆ)
    • การระบาดรอบแรกเมื่อปี 1817 เกิดขึ้นในประเทศรัสเซีย เชื้อแพร่กระจายผ่านทางน้ำ และอาหาร ต่อมาติดไปกับทหารอังกฤษ จากนั้นกองเรืออังกฤษก็แพร่ไปสู่ประเทศเสปน  อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น อิตาลี เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปแอฟริกา กระทั่งการแพทย์สามารถผลิตวัคซีนขึ้นมาเป็นผลสำเร็จในปี 1885 แต่การแพร่ระบาดของเชื้อนี้ก็ยังคงดำเนินต่อไป
    • การระบาดในครั้งที่ 3 ปี 1855 เริ่มต้นขึ้นที่ประเทศจีน ก่อนที่จะลามไปยังประเทศอินเดีย และฮ่องกง อาณานิคมของอังกฤษทั้งคู่
    • การระบาดในครั้งที่ 6 เริ่มระบาดในประเทศอินเดีย ลุกลามเชื้อไปยังทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปตะวันออกกลาง ทวีปยุโรปตะวันออกอย่างประเทศรัสเซีย ตั้งแต่ปี 1820 จนถึงปี 1911
  • ชื่อเชื้อโรค: เชื้ออหิวาตกโรค
  • พาหะของโรค: หนูและตัวหมัดเป็นพาหะ ซึ่งแพร่ในชุมชนแออัดและในถิ่นที่มีการใช้ชีวิตอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ
  • จำนวนคนตาย: รอบแรกมีผู้เสียชีวิตรวมกว่า 1 ล้านคน / การระบาดครั้งที่ 3 เสียชีวิตประมาณ 15 ล้านคน / การระบาดครั้งที่ 6 เสียชีวิตประมาณ 800,000 คน
  • เทียบช่วงเวลากับไทย: การระบาดในครั้งที่ 6 ได้ระบาดมายังประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยในสมัยรัชกาลที่ 2 พ.ศ. 2363 โดยมีการระบาดจากประเทศอินเดียเข้ามาประเทศไทยผ่านทางเมืองปีนัง (ประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) โดยมีผู้เสียชีวิตในกรุงเทพและหัวเมืองใกล้เคียงประมาณ 30,000 คน
ผู้ปวยอหิวาตกโรคในฮ่องกง ปี 1894

ผู้ป่วยอหิวาตกโรคในฮ่องกง ปี 1894

โรคไข้หวัดเสปน (The Spanish Flu)

โรงพยาบาลฉุกเฉินในเมือง Kansus ช่วงการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนปี 1918

โรงพยาบาลฉุกเฉินในเมือง Kansus ประเทศสหรัฐฯ ช่วงการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนปี 1918

วอร์ดรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดเสปนของโรงพยาบาล Walter Reed ในสหรัฐฯ ปี 1918

วอร์ดรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดเสปนของโรงพยาบาล Walter Reed ในสหรัฐฯ ปี 1918

  • ระยะเวลาที่โรคแพร่ระบาด: เริ่มแพร่ระบาดในประเทศเสปน ปี 1918 (ช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1) จนถึงปี 1919 โดยมีทฤษฎีที่เชื่อกันว่า เชื้อไวรัสน่าจะติดมากับกลุ่มแรงงานชาวจีน แล้วไปกลายพันธุ์ที่สหรัฐอเมริกา แต่สุดท้ายสถานที่ที่เกิดการระบาดร้ายแรงที่สุดนั้น เริ่มตันที่กรุงแมดริด ประเทศสเปน ทำให้ถูกเรียกว่า “ไข้หวัดสเปน” นั่นเอง การระบาดของไข้หวัดสเปนนี้กินอาณาเขตทั้งในสหรัฐอเมริกา และยุโรป
  • ชื่อเชื้อโรค: เกิดจากไวรัสชนิด A ที่ติดต่อจากหมูสู่คน ต่อมาใช้ชื่อตามระบบสากลว่า H1N1
  • พาหะของโรค: หมู  ผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีไข้ จาม คลื่นไส้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และท้องเสีย ซึ่งเป็นอาการแรกเริ่มของไข้หวัดใหญ่ทั่วไป แต่หลังจากนั้นช่วงหลังของการแพร่ระบาด เชื้อก็กลายพันธุ์และมีความร้ายแรงกว่าเก่า
  • จำนวนคนตาย: ประมาณ 20-40 ล้านคน (มากกว่าคนที่ตายในสงครามโลกครั้งที่ 1 รวมกัน) จากผู้ติดเชื้อกว่า 500 ล้านคนทั่วโลก คิดเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของประชากรทั่วทั้งโลก โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงถึง 25 ล้านคนภายใน 6 เดือนแรกของการแพร่ระบาด นอกจากนี้โรคไข้หวัดเสปนยังมีอัตราการเสียชีวิต 10-20% โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ยังไม่ค่อยมีภูมิต้านทานโรคนี้
ศาลในเมืองซานฟรานซิสโก ต้องออกมาพิจารณาภายนอกอาคาร ขณะเกิดการแพร่ระบาด

ศาลในเมืองซานฟรานซิสโก ต้องออกมาพิจารณาภายนอกอาคารขณะเกิดการแพร่ระบาด

โรคไข้หวัดใหญ่เอเชีย (Asian Flu)

วอร์ดรักษาผู้ป่วยไข้หวัดเอเชียในประเทศสวีเดน ปี 1957

วอร์ดรักษาผู้ป่วยไข้หวัดเอเชียในประเทศสวีเดน ปี 1957

  • ระยะเวลาที่โรคแพร่ระบาด: 1956-1958 มีต้นกำเนิดจากกลุ่มชาวจีนในมณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน ในระยะเวลา 2 ปีนี้เอง ไข้หวัดใหญ่เอเชียลุกลามไปยังประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง สหรัฐฯ ต่อเนื่องกันไป และขยายไปยังหลายประเทศทั่วโลกในที่สุด
  • ชื่อเชื้อโรค: Influenza virus สายพันธุ์ A2 แต่เมื่อมีการปรับเข้าสู่ระบบสากลจึงเปลี่ยนชื่อเป็น H2N2
  • พาหะของโรค: ผ่านสารคัดหลั่งของคน ที่ส่วนมากจะแพร่กระจายด้วยการไอหรือจาม
  • จำนวนคนตาย: ประมาณ 2 ล้านคน โดยเป็นชาวอเมริกันในสหรัฐฯ 70,000-100,000 คน (บางแหล่งข้อมูลเขียนว่า มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 4 ล้านคน) โชคยังดีที่สายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่เอเชียเป็นสายพันธุ์เดียวกับไข้หวัดนก ซึ่งสามารถผลิตวัคซีนไข้หวัดนกขึ้นได้เป็นครั้งแรกในปีนั้นเอง การแพร่ระบาดจึงได้ยุติลง
  • ผลกระทบในด้านต่าง ๆ: การแพร่ระบาดขยายตัวอย่างรวดเร็วเนื่องจากในยุคนั้นเริ่มมีการโดยสารทางเครื่องบินสำหรับนักธุรกิจที่ต้องเดินทางข้ามโลกตลอดเวลา

โรคไข้หวัดฮ่องกง (The Hong Kong Flu)

ป้ายบิลบอร์ดบอกเหตุการณ์ไข้หวัดฮ่องกงที่เมือง Des Moines ปี 1968

ป้ายบิลบอร์ดบอกเหตุการณ์ไข้หวัดฮ่องกงที่เมือง Des Moines ปี 1968

  • ระยะเวลาที่โรคแพร่ระบาด: พบครั้งแรกในฮ่องกง ปี 1968 ก่อนลุกลามไปยังประเทศเวียดนามและสิงคโปร์ภายในเวลาเพียงแค่ 3 เดือน และขยายวงไปยังประเทศอินเดีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และประเทศในทวีปยุโรป แอฟริกา อเมริกาใต้
  • ชื่อเชื้อโรค: เชื้อไวรัสชนิด H3N2 กลายพันธุ์มาจากโรคไข้หวัดใหญ่เอเชีย
  • พาหะของโรค: ผ่านสารคัดหลั่งของคน ที่ส่วนมากจะแพร่กระจายด้วยการไอหรือจาม
  • จำนวนคนตาย: มากกว่า 1 ล้านคน (อัตราการตาย 5%) ในฮ่องกงนั้นมีผู้ป่วยมากถึง 500,000 คน หรือคิดเป็น 15% ของประชากรฮ่องกงในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้เสียชีวิตในฮ่องกงมีไม่มากนัก นักวิจัยสันนิษฐานว่า เป็นเพราะร่างกายชาวฮ่องกงมีภูมิคุ้มกันจากเมื่อครั้งเจอกับไข้หวัดใหญ่เอเชียระบาดตอนเมื่อ 10 ปีก่อนแล้ว
คุณหมอฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุกว่า 200 คนในมหานครนิวยอร์ก

คุณหมอฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุกว่า 200 คนในมหานครนิวยอร์ก

โรคเอดส์ (AIDS)

ภาพการตาย David Kirby ท่ามกลางครอบครัวของนิตยสาร LIFE ถือเป็นภาพแรก ๆ ที่ทำให้คนทั้งโลกรู้จักความรุนแรงของโรคเอดส์

ภาพการตาย David Kirby ท่ามกลางครอบครัวของนิตยสาร LIFE ในปี 1990 ถือเป็นภาพแรก ๆ ที่ทำให้คนทั้งโลกรู้จักความรุนแรงของโรคเอดส์

  • ระยะเวลาที่โรคแพร่ระบาด: เกิดครั้งแรกที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกใน ในปี 1976 จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการแพร่ระบาดอยู่
  • ชื่อเชื้อโรค: เชื้อ HIV
  • พาหะของโรค: ถ่ายทอดผ่านสารคัดหลั่งโดยเฉพาะจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ หรือจากการรับถ่ายเลือดจากผู้ติดเชื้อ
  • จำนวนคนตาย: มากกว่า 32-36 ล้านคน (ตลอดที่เคยมีโรคนี้ปรากฎขึ้นบนโลก)
  • สถานการณ์ในปัจจุบัน: ปัจจุบันมนุษย์ทั่วไปใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ ประมาณ 31-35 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแถบเมืองซับซาฮารา ทวีปแอฟริกา ประมาณ 21 ล้านคน โดยระหว่างปี 2005-2012 จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ทั่วโลกลดลงจาก 2.2 ล้านคน เหลือ 1.6 ล้านคนต่อปี
กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านโรคเอดส์ในปี 1989

กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านโรคเอดส์ในปี 1989

โรคซาร์ส (SARS)

เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ตรวจวัดอุณหภูมิจากนักท่องเที่ยวในเมืองอู่ฉั่น ประเทศจีน ปี 2003

เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ตรวจวัดอุณหภูมิจากนักท่องเที่ยวในเมืองอู่ฉั่น ประเทศจีน ปี 2003

  • ระยะเวลาที่โรคแพร่ระบาด:  โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS) เริ่มแพร่ระบาดในมณฑลกวางตุ้น ปี 2002 ก่อนระบาดใน 27 ประเทศทั่วโลก และสิ้นสุดลงในปี 2003
  • ชื่อเชื้อโรค: เชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนา (Coronavirus)
  • พาหะของโรค: ติดต่อผ่านสารคัดหลั่งของคน ที่ส่วนมากจะแพร่กระจายด้วยการไอหรือจาม
  • จำนวนคนตาย: เสียชีวิต 774 รายในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ (มีผู้ติดเชื้อประมาณ 8,096 คน)
เด็กเรียนบัลเลต์ในฮ่องกง ใส่หน้ากากอนามัยระหว่างมีการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส ปี 2003

เด็กเรียนบัลเลต์ในฮ่องกง ใส่หน้ากากอนามัยระหว่างมีการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส ปี 2003

โรคไข้หวัดหมู (Swine Flu)

ประชาชนเฝ้ารอการตรวจรักษาโรคไข้หวัดหมูที่ Maimonides Medical Center เมือง Brooklyn ในสหรัฐฯ

ประชาชนเฝ้ารอการตรวจรักษาโรคไข้หวัดหมูที่ Maimonides Medical Center เมือง Brooklyn ในสหรัฐฯ

  • ระยะเวลาที่โรคแพร่ระบาด: เริ่มแพร่ระบาดในเมืองเมรารูซ ประเทศเม็กซิโก ปี 2009 พบผู้ติดเชื้อกว่า 130 ประเทศ ระบาดมากที่สุดในประเทศสหรัฐฯ เม็กซิโก อินเดีย และจีน
  • ชื่อเชื้อโรค: เชื้อไวรัสกลุ่ม A ชนิด H1N1 โดยเป็นส่วนผสมของเชื้อไข้หวัดในมนุษย์ ไข้หวัดนกอเมริกาเหนือ และไข้หวัดหมูเอเชียและยุโรป
  • พาหะของโรค:  ยังไม่มีใครทราบว่าเชื้อดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร ที่ไหน แต่สันนิษฐานว่ามาจากหมู  โดยเริ่มระบาดจากในประเทศเม็กซิโกและประเทศสหรัฐฯ ติดต่อผ่านสารคัดหลั่งของคน ที่ส่วนมากจะแพร่กระจายด้วยการไอหรือจาม
  • จำนวนคนตาย:  ประมาณ 20,000 ราย
ครอบครัวที่มีคนหลายวัยในเมือง Mexico City หลังจากพิธีล้างบาปยกเลิกในช่วงนั้น เพราะการระบาดของไข้หวัดหมู

ครอบครัวที่มีคนหลายวัยในเมือง Mexico City หลังจากพิธีล้างบาปยกเลิกในช่วงนั้น เพราะการระบาดของไข้หวัดหมู

โรคอีโบลา (Ebola)

เด็กชายชื่อ James Dorbor อายุ 8 ขวบที่อาศัยในเมือง Monrovia ประเทศ Liberia ถูกนำตัวไปรักษาโรคอีโบลา และเสียชีวิตในเวลาต่อมาเพราะรอการรักษาานานเกินไป

เด็กชายชื่อ James Dorbor อายุ 8 ขวบที่อาศัยในเมือง Monrovia ประเทศ Liberia ถูกนำตัวไปรักษาโรคอีโบลา และเสียชีวิตในเวลาต่อมาเพราะรอการรักษานานเกินไป

  • ระยะเวลาที่โรคแพร่ระบาด: การระบาดของโรคนี้เกิดขึ้นหลายรอบ โดยรอบแรกเกิดขึ้นในปี 2013-2016 พบผู้ติดเชื้อกว่า 10 ประเทศ ระบาดมากที่สุดในเมืองเซียร์ราลีโอน โลบีเรีย และกินี และยังมีการระบาดรอบใหม่ในประเทศคองโก ระหว่างปี 2018-2020
  • ชื่อเชื้อโรค: เชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola Virus)
  • พาหะของโรค:  แพร่สู่คนจากการสัมผัสผิวหรือสารคัดหลั่งของสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ เช่น ลิง ลิงชิมแปนซี หรือค้างคาว และสามารถติดต่อจากคนสู่คน ด้วยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดที่ติดเชื้อและสารคัดหลั่ง
  • จำนวนคนตาย: ประมาณ 11,300 ราย (มีผู้ติดเชื้อกว่า 28,000 คนตามรายงานเมื่อปี 2015) และในการระบาดรอบใหม่  มีผู้เสียชีวิต 2,241 รายจากจำวนผู้ติดเชื้อกว่า 3,900 คน
  • ผลกระทบในด้านต่าง ๆ: เป็นโรคสมัยใหม่ที่สร้างผลกระทบในวงกว้าง ทำให้มีการปิดร้านอาหารและบาร์จากเมืองลอสแอนเจลิสไปจนถึงกรุงโรม สายการบินข้ามมหาสมุทธแอนแลนติกต้องหยุดให้บริการ บริษัทเอกชนและโรงเรียนปิดทำการอย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน
Eric Gweah คร่ำครวญ ขณะทีมกาชาดขุดย้ายศพพ่อของเขาในบริเวณบ้านไปไว้ที่อื่น หลังต้องสงสัยว่าเสียชีวิตด้วยโรคอีโบลา

Eric Gweah คร่ำครวญ ขณะทีมกาชาดขุดย้ายศพพ่อของเขาในบริเวณบ้านไปไว้ที่อื่น หลังต้องสงสัยว่าเสียชีวิตด้วยโรคอีโบลา

โรคเมอร์ส (MERS)

เจ้าหน้าที่วัดอุณหภูมิของกลุ่มผู็โดยสารในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคเมอร์ส ในสนามบินแห่งชาติฮ่องกง ปี 2015

เจ้าหน้าที่วัดอุณหภูมิของกลุ่มผู้โดยสารในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคเมอร์ส ในสนามบินแห่งชาติฮ่องกง ปี 2015

  • ระยะเวลาที่โรคแพร่ระบาด: โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) องค์การอนามัยโลกประกาศว่า เริ่มมีการแพร่ระบาดเมื่อปี 2012 แถวภูมิภาคอาหรับ ก่อนที่ปี 2015 จะมีการกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในประเทศเกาหลีใต้
  • ชื่อเชื้อโรค: เชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus)
  • พาหะของโรค: ติดต่อผ่านสารคัดหลั่งของคน ที่ส่วนมากจะแพร่กระจายด้วยการไอหรือจาม
  • จำนวนคนตาย: 858 ราย จากผู้ป่วยติดเชื้อรวม 2,494 คน
กลุ่มผู้เลี้ยงอูฐในเมือง Riyadh เชื่อกันว่าต้นตอของการแพร่ระบาดโลกนี้มาจากสัตว์

กลุ่มผู้เลี้ยงอูฐในเมือง Riyadh ประเทศซาอุดิอาระเบีย เชื่อกันว่าต้นตอของการแพร่ระบาดโลกนี้มาจากสัตว์

อ้างอิง

อ้างอิง

อ้างอิง

อ้างอิง

อ้างอิง

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส