Steven Spielberg คือผู้กำกับระดับตำนานที่ยังมีชีวิตอยู่ของฮอลลีวูด เพราะผลงานหนังของเขาได้ขับเคลื่อนวัฒนธรรมพอปคัลเจอร์มาตั้งแต่ยุค 70s มาจนถึงปัจจุบัน ในทุกทศวรรษจะต้องมีหนังฮิตระเบิดของเขาเข้าฉาย รวมไปถึงหนังที่ขึ้นสู่เวทีรางวัลออสการ์ในฐานะภาพยนตร์ยอดเยี่ยมหรือเข้าชิง ตลอด 50 ปีที่ผ่าน มนต์ขลังของพ่อมดฮอลลีวูดคนนี้ไม่เคยเสื่อมคลาย

และก็เป็นโอกาสอันดีที่ Netflix ตอนนี้ก็มีหนังของเขาให้ชมกันหลายเรื่อง What the Fact ขอใช้โอกาสนี้แนะนำหนังต่าง ๆ และวาง Link ไว้ที่ชื่อเรื่องเพื่อเข้าไปชมกันได้ (จริง ๆ ก็มีเรื่องอื่น ๆ นอกจากลิสต์ด้านล่างนี้ ที่วนเวียนเข้าออกโปรแกรมสตรีมมิง ซึ่งถ้ามีเรื่องไหนเพิ่มเติมมาอีก เราก็จะมาเพิ่มรายชื่อให้) รวมถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เป็น Easter Egg เชื่อมโยงไปหนังเรื่องอื่น หรือเชื่อมกับความชอบของ Spielberg เอง เราก็รวบรวมมาให้ได้อ่านกันเพลิน ๆ ด้วย

(ภาพจาก deviantart.com)

Ready Player One (2018)

Spielberg บอกว่า หนังเรื่องนี้สร้างยากที่สุดสำหรับเขาเป็นอันดับที่ 3 รองจาก Jaws (1975) และ Saving Private Ryan (1998) เพราะนอกจากจะต้องสร้างโลกจริงและโลกเสมือนในเกมให้ออกมาสอดประสานลงตัวแล้ว ลิขสิทธิ์ของเรื่องราวและตัวละครต่าง ๆ ก็ต้องซื้อและเจรจาอย่างมาก ซึ่งอย่างที่ได้เห็นในหนังนั้นคิดเป็น 80% (ที่ตลกคือ ไม่สามารถเจรจาสิทธิ์ของ Close Encounters of the Third Kind (1977) จากอีกค่ายมาได้ ทั้งที่เป็นผลงานของ Spielberg เองแท้ ๆ) และงบสร้างกว่า 175 ล้านเหรียญฯ ที่แพงสุด ๆ ก็คือค่าลิขสิทธิ์ตัวละครที่จะเอามาใช้นี่เอง

หนังได้กลายเป็นขวัญใจของแฟนบอยและเหล่ากีคของการ์ตูนและหนังในยุค 80s ที่จะต้องเข้าไปจับจ้องกันให้ทันว่า สิ่งละอันพันละน้อยที่ปรากฎอยู่ตามที่ต่าง ๆ อ้างอิงมาจากหนัง การ์ตูน หรือเกมอะไร แต่ถ้าคนที่ไม่ได้เนิร์ดกีคขนาดนั้นก็ยังดูหนังได้สนุก Spielberg ใช้เวลาดันหนังอยู่ 8 ปี เต็ม และเขาก็บอกว่า ถ้าทำตอน 29 ก็คงจะเหนื่อยเท่านี้แหละ (ปู่อายุ 69 แล้วตอนกำกับ) แต่พอมาทำตอนนี้ การร่ายมนต์ของเขาก็ยิ่งทรงพลังและหนังก็ให้มุมมองที่เฉียบคมจากคนวัยนี้

Steven Spielberg, Tye Sheridan, and Olivia Cooke in Ready Player One (2018)
  • นักแสดง: Tye Sheridan, Olivia Cooke, Ben Mendelsohn, Simon Pegg, Mark Rylance, Lena Waithe
  • ทุนสร้าง/รายรับรวมทั่วโลก: 175 / 582 ล้านเหรียญฯ
  • Easter Egg ของ Spielberg ในหนัง (ถ้าจะพูดถึง Easter Egg ของเรื่องนี้คงพูดได้เป็นวัน เลยขอยกมาแค่บางอัน แต่สามารถตามไปอ่านต่อกันได้ที่นี่):
    • หนังพูดถึง Rosebud หนึ่งปริศนาใหญ่ที่สุดของโลกภาพยนตร์จากหนัง Citizen Kane (1941) ซึ่งตัวละครในเรื่องนี้อย่าง Ogden Morrow ที่รับบทโดย Simon Pegg กับ พระเอก Wade ที่นำแสดงโดย Tye Sheridan ช่วงท้ายเรื่อง ฉากนั้นเป็นการคารวะต่อหนังปี 1941 โดยทำให้เปรียบเทียบว่า ตัวละครของ James Halliday ที่รับบทโดย Mark Rylance ผู้สร้าง OASIS กับมหาเศรษฐี Charles Foster Kane
    • อุปสรรคสำคัญของด่านแรกที่ Wade จะต้องซิ่งหนีสัตว์ประหลาดยักษ์ ประกอบด้วยเจ้าคิงคองจาก King Kong (1933) หนังสุดโปรดของ Spielberg และเจ้าทีเร็กซ์จากหนัง Jurassic Park (1993) หนังของ Spielberg เอง
    • ด้วยเพราะ Spielberg ไปอำนวยการสร้างให้หนังไตรภาค Back to the Future (1985-1990) ของ Robert Zemeckis และทั้งสองก็เป็นเพื่อนซี้กันมายาวนาน หนังจึงมี Easter Egg มากมายจากเจาะเวลาหาอดีต ทั้งรถไทม์แมชชีน “DeLorean”, กระดานเสก็ตบอร์ดลอยได้ Hoverboard, ป้ายหาเสียงของตัวละครนายกเทศมนตรีผิวดำ Goldie Wilson, พ่อมด Artemis เรียก Wade ว่า Marty McFly พระเอกของ Back to the Future และอาวุธอย่างหนึ่งในเรื่องก็ชื่อว่า Zemeckis Cube
    • หุ่นเหล็กจากภาพยนตร์ The Iron Giant (1999) ของผู้กำกับ Brad Bird (ที่ถูกนำมาแทน Ultraman เพราะติดเรื่องลิขสิทธิ์) Bird ก็เป็นศิษย์เก่าอีกรายของ Spielberg เพราะเคยกำกับแอนิเมชัน Family Dog ตอนหนึ่งของซีรีส์ Amazing Stories ที่ Spielberg อำนวยการสร้าง
    • โปสเตอร์ Raider of the Lost Ark (1981) ที่มีตัวละครยอดฮิต Indiana Jones แปะอยู่ในห้องของ Halliday ตอนเด็ก
    • Star Trek ซีรีส์ในดวงใจของ Spielberg ปรากฎในฉากป้ายโลโก้ Star Fleet แปะอยู่ในห้องของ Halliday และโลงศพของเขาก็เป็นแบบ Mark VII ของ Spoc ใน Star Trek II: The Wrath of Khan (1982)
Citizen Kane (1941)
Citizen Kane (1941)
King Kong และรถ DeLorean
Ready Player One (2018)
เจ้าทีเร็กซ์
หุ่น The Iron Giant
The Iron Giant (1999)
รถ DeLorean
Mark Rylance in Ready Player One (2018)
งานศพของ James Halliday

Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull (2008)

ทิ้งจากภาค 3 ในปี 1989 จนคิดว่าจะไม่ได้สร้างตอนต่อกันแล้ว แต่ต่อมาอีก 19 ปี หนังก็มีภาค 4 ตามออกมา (และก็กำลังจะมีภาค 5 ในปี 2022 ถ้าไม่เลื่อนออกไปอีกเพราะโควิด เรียกว่า ภาค 4 ที่ปู่ Ford ว่าแก่เกินกว่าจะกลับมาเล่นแล้ว ภาค 5 คงไม่ต้องพูดถึง) หลังจาก Spielberg แยกตัวไปทำหนังฮิต ๆ มากมาย และ Lucas ที่ปลุกปั้นแฟรนไชส์นี้มาด้วยกันก็กลับไปทำไตรภาค Star Wars

สุดท้ายในปี 2008 ทีมงานทั้งหมดก็กลับมาเจอกันกับการผจญภัยรอบใหม่ของ Indiana Jones ที่ไปเกี่ยวข้องกับมนุษย์ต่างดาว และมีตัวร้ายเป็นสหภาพโซเวียต Spielberg บอกว่า จริง ๆ แล้วคนคงเบื่อกับแนวทางเดิม ๆ ของหนังที่ต้องไปตามหาอะไรสักอย่าง (เรียกว่า หนังแนว MacGuffin) และเขาก็เบื่อเหมือนกัน แต่เขาก็เคารพเรื่องที่เขียนมาโดย Lucas และกำกับโดยใส่วิธีการเล่าเรื่องแบบ Spielberg เข้าไปให้สนุกจนได้

Harrison Ford and Steven Spielberg in Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull (2008)
  • นักแสดง: Harrison Ford, Cate Blanchett, Karen Allen, Shia LaBeouf, Ray Winstone, John Hurt
  • ทุนสร้าง/รายรับรวมทั่วโลก: 185 / 790 ล้านเหรียญฯ
  • Easter Egg ของ Spielberg ในหนัง:
    • ในฉากเปิดเรื่องตอนที่ Indiana Jones เข้าไปใน Area 51 ที่เป็นแหล่งเก็บของลับมากมายของกองทัพสหรัฐฯ จะเห็นหีบแห่งพันธะสัญญา (Ark of the Covenant) ที่ Indy พบในหนังภาคแรก Raider of the Lost Ark (1981) อยู่ด้วย
    • Indiana Jones ได้พูดประโยคจากหนัง Star Wars ขึ้นมาว่า “ฉันรู้สึกสังหรณ์ใจไม่ดีจริง ๆ” ซึ่งเป็นบทพูดที่มีในหนัง Star Wars ทุกเรื่อง ไม่แพ้ประโยค “ขอพลังจงสถิตย์อยู่กับท่าน” เลยทีเดียว
    • ตัวละคร Marcus Brody กลับมาในรูปแบบของรูปปั้นที่ตั้งอยู่กลางมหาวิทยาลัยมาร์แชล เพราะนักแสดง Denholm Elliott เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 1992
    • ฉากเปิดตัวของ Mutt Williams รับบทโดย Shia LaBeouf เขาสวมชุดหนังและขี่มอเตอร์ไซค์แบบเดียวกับ Marlon Brando ในหนัง The Wild One (1959)
Every Known Item In Raiders Of The Lost Ark's Warehouse
ตอนจบของ Raider of the Lost Ark (1981)
Star Wars: The Force Awakens and Indiana Jones' Lost Ark - SlashGear
หีบแห่งพันธะสัญญา (Ark of the Covenant) ใน Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull (2008)
Remembering Marcus Brody.
Marcus Brody เป็นรูปปั้นของนักแสดง Denholm Elliott เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 1992
Harrison Ford and Shia LaBeouf in Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull (2008)
Shia LaBeouf
Marlon Brando in "The Wild One" 1954 Columbia
Marlon Brando ใน The Wild One (1959)

(อ่านต่อหน้าถัดไป)

Catch Me If You Can (2002)

การร่วมงานของนักแสดงต่างรุ่นที่กำลังโด่งดังอย่างสุด ๆ จากทั้งการเป็นนักแสดงวัยรุ่นสุดฮอตและนักแสดงขายฝีมือออสการ์การันตีของทั้ง Leonardo DiCaprio และ Tom Hanks (ซึ่งก็เล่นได้ดีงามตามมาตรฐาน แต่สุดท้ายไปไม่ถึงการเข้าชิงออสการ์กันทั้งคู่ รวมถึงตัวหนังเองด้วย ถึงอย่างนั้น ใครที่ดูหนังก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า หนังดูเพลินมาก) ในปีนั้นก็เป็นอีกครั้งที่ Spielberg กำกับหนังสองเรื่องในแนวทางที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง เรื่องหนึ่งคือแนวดราม่า ส่วนอีกเรื่องคือหนังแอ็กชันไซไฟอย่าง Minority Report (2002)

หนังเรื่องนี้เน้นเรื่องราวความผูกพันของพ่อลูกอย่างเห็นได้ชัด ทั้งพ่อของ Frank Abagnale Jr. ที่ชีวิตล้มเหลวแต่ก็ยังรักลูก Frank Abagnale Jr. ที่แทบไม่ได้อยู่กับพ่อเลย แต่ต้องมาหนีการตามจับจากเจ้าหน้าที่ Carl Hanratty เป็นเวลาสิบ ๆ ปี หนังสะท้อนว่า Hanratty ที่ไม่ค่อยจะได้เจอลูกเพราะแยกทางกับภรรยา แทบจะรู้สึกตัวว่าเป็นพ่อของ Abagnale Jr. และนั่นทำให้เขาไม่เคยมองอีกฝ่ายเป็นอาชญากร แต่เป็นเด็กมีปัญหาที่ต้องให้ใครสักคนให้โอกาสมากกว่า

Leonardo DiCaprio, Tom Hanks, and Steven Spielberg in Catch Me If You Can (2002)
DiCaprio, Spielberg และ Hanks
  • นักแสดง: Leonardo DiCaprio, Tom Hanks, Christopher Walken, Martin Sheen, Martin Sheen, James Brolin
  • ทุนสร้าง/รายรับรวมทั่วโลก: 52 / 352 ล้านเหรียญฯ
  • Easter Egg ของ Spielberg ในหนัง:
    • Frank Abagnale Jr. นักต้มตุ๋นชั้นเซียนตัวจริงที่ Leonardo DiCaprio มารับบทนำไว้ ได้มารับบทรับเชิญเป็นเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมตัวละครนี้ร่วมกับตัวละคร Carl Hanratty ของ Tom Hanks ที่เมืองบ้านเกิดของแม่ Frank ในประเทศฝรั่งเศส
    • ในฉากที่ Frank Abagnale Jr. ต้องแปลงโฉมให้ดูเป็นคนรวยและน่าเชื่อถือ เขาได้เห็นหนังสายลับเรื่อง James Bond ตอน Goldfinger (1964) จึงได้ไปร้านตัดสูทเพื่อบอกว่า จะขอตัดชุดแบบ James Bond โดย 007 ตอน Goldfinger นี้เป็นหนัง James Bond ที่ Spielberg ชอบมากที่สุด
The mutiple identities of Frank Abagnale Jr. – the Storyteller's Hat
Leonardo DiCaprio และ Frank Abagnale Jr. ตัวจริง
Arrests of the Escape Artist Frank Abagnale | Catch the Truth If ...
Frank Abagnale Jr. ตัวจริง (คนใส่หมวกที่จับ Leonardo อยู่) มารับบทรับเชิญในเรื่องด้วย

Schindler’s List (1993)

นอกจากจะเป็นหนังที่คว้ารางวัลออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี 1993 ทำให้ Steven Spielberg คว้าออสการ์ตัวแรกในสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม และหนังเองก็คว้ารางวัลออสการ์ 7 สาขา จากการเข้าชิงทั้งหมด 12 สาขารางวัล ชนะรางวัลลูกโลกทองคำและบาฟตา ในสาขาใหญ่ ๆ เกือบทั้งหมดในปีนั้น หนังยังถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในหนังที่ดีที่สุดในโลกที่พูดถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวโดยนาซี ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สมจริงและสร้างความสะเทือนใจมากที่สุดมาจนถึงปัจจุบัน นี่คือหนังที่ Universal Studios ยอมควักเงิน 22 ล้านเหรียญฯ ทิ้งให้ Spielberg สร้าง เพราะคิดว่าหนังต้องเจ๊งแน่ที่คิดจะนำเสนอความหดหู่จากสงคราม แถมยังเป็นหนังขาวดำที่ยาว 3 ชั่วโมง ท้ายที่สุดหนังทำรายได้ทั่วโลกไป 322 ล้านเหรียญฯ

Steven Spielberg: 'Schindler's List' more relevant today than in 1993
Spielberg, Kingsley และ Neeson
  • นักแสดง: Liam Neeson, Ben Kingsley, Ralph Fiennes, Caroline Goodall, Jonathan Sagall, Embeth Davidtz
  • ทุนสร้าง/รายรับรวมทั่วโลก: 22 / 322 ล้านเหรียญฯ
  • Easter Egg ของ Spielberg ในหนัง:
    • Branko Lustig หนึ่งในผู้อำนวยการสร้างของหนังเรื่องนี้ ได้มาร่วมแสดงเป็นผู้จัดการไนต์คลับในฉากนี้ด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้วเขาก็เป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผาพันธุ์ของนาซีด้วย หมายเลขประจำตัวของเขาตอนเป็นนักโทษคือ A3317
    • เพลง Por Una Cabeza ที่ดังขึ้นตอนที่ Oskar Schindler ตัวละครของ Liam Nesson เดินเข้าไปในไนต์คลับแล้วเจอทหารนาซี เพลงนี้เป็นเพลงที่ถูกใช้ในหนังอยู่หลายเรื่อง ทั้งในหนังเรื่อง Scent of a Woman (1992) ที่นำแสดงโดย Al Pacino และต่อมาก็ถูกใช้อีกครั้งในหนัง True Lies (1994) ของผู้กำกับ James Cameron
Branko Lustig in Schindler's List (1993)
Branko Lustig ใน Schindler’s List (1993)
Charlton Heston, Steven Spielberg, Branko Lustig, and Gerald R. Molen
Charlton Heston (ผู้มอบรางวัลออสการ์), Steven Spielberg, Gerald R. Molen และ Branko Lustig ผู้อำนวยการสร้างของหนัง

Indiana Jones and the Last Crusade (1989)

อีกหนึ่งการโคจรมาเจอกันของดาราดังแห่งยุคอย่าง Ford และ James Bond คนแรก Sean Connery ที่ต้องมารับบทเป็นพ่อลูกกัน ทั้งที่อายุจริงห่างกันแค่ 12 ปี ด้วยเหตุนี้ Connery ก็เกือบจะไม่รับเล่นบทนี้แล้ว อย่างไรก็ดี พูดได้เลยว่าภาคนี้เป็นหนังผจญภัยแบบครอบครัวที่สนุกที่สุดในจำนวน 4 ภาค เพราะการได้พ่อของ Indiana Jones มาร่วมผจญภัยสร้างสีสันด้านความตลกได้เป็นอย่างดี มือระดับ Sean Connery ย่อมทำได้ดีอยู่แล้ว

หนังยังมีฉากต้นเรื่องนำแสดงโดยนักแสดงวัยรุ่นสุดฮอตตอนนั้นอย่าง River Phoenix เล่นเป็น Indy ตอนเด็ก น่าเสียดายที่เขาอายุสั้น บทของ Phoenix เป็นแรงบันดาลใจให้ Spielberg ทำซีรีส์ The Young Indiana Jones Chronicle (1992-1993) ด้วย หนังเล่าเรื่องราวการตามเสาะหาจอกศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูที่เชื่อว่า ผู้ที่ดื่มน้ำจากจอกนี้จะทำให้เป็นอมตะ ซึ่ง Indy ต้องต่อสู้แย่งชิงไปมากับพวกนาซี มีฉากสุดฮาที่เขาต้องไปเจอกับ Adolf Hitler เผด็จการคนดังด้วย

Sean Connery, Harrison Ford, and Steven Spielberg in Indiana Jones and the Last Crusade (1989)
Spielberg, Ford และ Connery
  • นักแสดง: Harrison Ford, Sean Connery, Denholm Elliott, Alison Doody, John Rhys-Davies, Julian Glover, River Phoenix
  • ทุนสร้าง/รายรับรวมทั่วโลก: 48 / 474 ล้านเหรียญฯ
  • Easter Egg ของ Spielberg ในหนัง:
    • ในฉากที่ Indiana Jones สอนนักศึกษาในห้องเรียนแล้วพูดว่า “วิชาโบราณคดีคือการค้นหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่การหาความจริง แต่ถ้าอยากหาความจริง ให้ไปตามศาสตราจารย์ Tyree ที่ห้องโน้น” จริง ๆ แล้วศาสตราจารย์ Tyree นั้นมีตัวตนอยู่จริง เขาก็คือ อาจารย์สอนวิชาปรัชญาของ Harrison Ford ตอนเรียนมหาวิทยาลัย
    • ในตอนที่ตัวร้าย Walter Donovan ที่รับบทโดย Julian Glover นักธุรกิจที่ปรากฎตัวขึ้นในตอนแรก ๆ ขณะยังไม่เปิดเผยตัวว่าเป็นผู้ร้ายของภาคนี้ แต่ Spielberg ก็แอบบอกใบ้ว่าตัวละครตัวนี้ไม่ได้มาดี เพราะใส่ทำนองเพลง Imperial Marsh เพลงธีมประจำตัว ดาร์ธ เวเดอร์ จาก Star Wars: The Empire Strike Back (1980)
Sean Connery, Harrison Ford, Denholm Elliott, Julian Glover, Alison Doody, and John Rhys-Davies in Indiana Jones and the Last Crusade (1989)
ตัวร้าย Walter Donovan ที่รับบทโดย Julian Glover

(อ่านต่อหน้าถัดไป)

Indiana Jones and the Temple of Doom (1984)

หนังเล่าเรื่องย้อนไปก่อนภาคแรก Raider of the Lost Ark (1981) เพราะทั้ง Spielberg และ Lucas ไม่อยากกลับไปเล่าเรื่องที่ต้องเกี่ยวกับนาซี และทั้งคู่อยู่ในช่วงชีวิตที่กำลังดาร์กพอดี (Lucas ก็เพิ่งทำ Star Wars: The Empire Strikes Back (1980) ภาค 2 ให้ออกมาดาร์กเหมือนกัน) หนังถ่ายทำในประเทศศรีลังกาแม้ในเรื่องจะบอกว่าเกิดที่อินเดีย เพราะทางการอินเดียขอเปลี่ยนแปลงบทหนังหลายอย่าง ทำให้ภาคนี้เป็นภาคที่ Spielberg จะปลื้มน้อยที่สุดในบรรดาทุกภาคของ Indiana Jones แต่ถึงอย่างนั้น หนังก็ยังมีงานสร้างที่ยิ่งใหญ่เพราะไปถ่ายทำกันถึงป่าในประเทศอินเดีย

หนังได้แรงบันดาลใจมาจาก Gunga Din (1939) ของค่าย RKO และในบทร่างแรก ๆ ของ Lucas มีไอเดียมากมายถึงให้ Indiana ขี่มอเตอร์ไซค์ไต่กำแพงเมืองจีน ไปเจอกับเห้งเจียในไซอิ๋ว เรื่อยไปจนถึงปราสาทผีสิงในสก็อตแลนด์ แต่ Spielberg บอกว่า ดูจะเยอะเกินไปจึงมาจนที่ตำนานเจ้าแม่กาลีแทน ก่อนที่นางเอกจะเป็น Kate Capshaw นั้น Sharon Stone เกือบจะได้มาเล่นเรื่องนี้ และท้ายที่สุด คนที่ได้รางวัลไปเต็ม ๆ ก็คือ Harrison Ford เพราะเขาได้แต่งงานกับ Capshaw ในเวลาต่อมา

Spielberg กับ Ke Huy Quan
  • นักแสดง: Harrison Ford, Kate Capshaw, Ke Huy Quan, Amrish Puri, Roshan Seth, Philip Stone, Ric Young
  • ทุนสร้าง/รายรับรวมทั่วโลก: 28 / 233 ล้านเหรียญฯ
  • Easter Egg ของ Spielberg ในหนัง:
    • ตอนที่สองของ Indiana Jones ที่ใช้ชื่อจากตัวละครดังมาเป็นชื่อหนังเลย (ต่างจากภาคแรกที่ใช้ชื่อว่า Raider of the Lost Ark (1981) ในเรื่องนี้ก็ยังมี Easter Egg ที่เชื่อมโยงกับหนัง Star Wars อยู่ อย่างไนต์คลับในฉากเปิดเรื่องที่พระเอก Indy เข้าไปบู๊แหลก ก็มีชื่อว่า Club Obi Wan ซึ่งถ้าใครเป็นสาวก Star Wars ก็จะรู้ว่าเป็นชื่อตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่งเลย
    • Dan Aykroyd นักแสดงชื่อดังจาก Ghostbusters (1984) ที่ก็เข้าฉายในปีเดียวกัน มาแสดงรับเชิญอยู่ 18 วินาทีภายในเรื่อง รับบทเป็นเพื่อนที่ช่วยพา Indy หนี โดยเขาต้องติดหนวดปลอมและพูดด้วยสำเนียงอังกฤษด้วย
    • และในฉากเดียวกันนี้ ทั้ง Spielberg, George Lucas, Frank Marshall และ Kathleen Kennedy ทีมผู้อำนวยการสร้างของหนังก็ขอมารับเชิญในบทเหล่ามิชชันนารีด้วยเช่นกัน แต่เห็นแบบแวบ ๆ น้อยกว่า Dan Aykroyd เยอะ
    • เสียงเอฟเฟกต์ที่ได้ยินบนเครื่องบินที่ Indy โดยสาร เป็นเสียงเดียวกับในหนัง Star Wars: The Empire Strike Back (1980) ตอนที่ยาน Millennium Falcon ของตัวละคร Han Solo ซึ่งก็รับบทโดย Harrison Ford เหมือนกัน เกิดขัดข้องขึ้นมา
Club Obi Wan | Indiana Jones Wiki | Fandom
ไนท์คลับ Club Obi Wan ในฉากเปิดเรื่อง
Behind the scenes of Temple of Doom with Harrison Ford and Dan ...
Dan Aykroyd และ Harrison Ford
George Lucas and Steven Spielberg in Indiana Jones and the Temple of Doom (1984)
สองเพื่อนซี้ Steven Spielberg และ George Lucas ที่เป็นเจ้าของเรื่องและได้เครดิตผู้เขียนบทด้วย

E.T. the Extra-Terrestrial (1982)

ตัวแทนของวัฒนธรรมพอปคัลเจอร์ในยุค 80s ที่คงทั้งความลี้ลับและชวนให้น้ำตารื้นไปกับมิตรภาพต่างสายพันธุ์ หนังเล่าเรื่องของ Elliot เด็กชายที่มีปัญหาชีวิตต้องช่วยเหลืออีทีเพื่อนรักจากต่างดาว สร้างเครื่องสัญญาณวิทยุเพื่อให้ยานแม่มารับเขากลับไปก่อนที่เจ้าหน้าที่รัฐจะมาจับตัวไป หนังรายรับรวมทั่วโลกถล่มทลาย 793 ล้านเหรียญฯ ซึ่งถือว่าสูงมากมากในยุคนั้น จากทุนสร้างของหนังที่ลงทุนไป 10 ล้านเหรียญฯ เท่านั้น หนังยังเป็นแรงบันดาลใจให้ Super 8 (2011) และ ซีรีส์ Stranger Things ในยุคปัจจุบัน

Drew Barrymore and Steven Spielberg in E.T. the Extra-Terrestrial (1982)
Spielberg และ Drew Barrymore
  • นักแสดง: Drew Barrymore, C. Thomas Howell, Henry Thomas, Debra Winger, Dee Wallace
  • ทุนสร้าง/รายรับรวมทั่วโลก: 10 / 793 ล้านเหรียญฯ
  • Easter Egg ของ Spielberg ในหนัง:
    • ในฉากวันฮัลโลวีนที่มีผู้คนแต่งชุดแฟนซีออกมาเดินเล่นริมถนน เจ้า E.T. ก็ได้เจอกับคนแต่งชุดเป็น Master Yoda จากจักรวาลหนัง Star Wars ไตรภาคแรก (1977-1983) ของเพื่อนซี้ Spielberg อย่าง George Lucas แฟน ๆ วิเคราะห์ว่า ท่าทีของเจ้า E.T. ที่อยากจะเข้าหา Yoda นั้น เหมือนกับเคยรู้จักกันมาก่อน หรือจะหมายความว่า ทั้งคู่รู้จักกันและอยู่ร่วมจักรวาลหนังเดียวกันก็อาจเป็นไปได้
    • และในตอนที่ Yoda ปรากฎตัว ผู้ชมก็จะได้ยินเพลงธีมประจำตัวของเขา จากหนัง Star Wars: The Empire Strike Back (1980) ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์เพลงก็ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะผู้ประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์คือ John Williams เจ้าของ 5 รางวัลออสการ์และเข้าชิงอีกเกือบ 20 ครั้ง โดย 1 ใน 5 ครั้งที่เขาได้ก็มาจากเรื่อง E.T. นี้ด้วย
    • ตัวละคร Elliott ที่รับบทโดย Henry Thomas จะมีของเล่นจากหนัง Star Wars หลายอย่างมาก ทั้ง Planetarium playset, Hoth Turret and Imperial Probe Droid playset, Han Solo’s Blaster, Greedo action figure, Darth Vader’s Star Destroyer Play set และอีกมากมาย รวมถึงของเล่นจากหนัง Jaws และทีม Avengers ของ Marvel ด้วย ดูรายชื่อของเล่นทั้งหมดได้ที่นี่
E.T. the Extra-Terrestrial (1982)
คนแต่งชุด Yoda ในหนัง E.T. the Extra-Terrestrial (1982)
Steven Spielberg and John Williams in AFI Life Achievement Award: A Tribute to John Williams (2016)
John Williams มือทำเพลงคู่บุญของ Steven Spielberg
Image for post
โต๊ะของเล่นของตัวละคร Elliott

Jaws (1975)

ความเป็นตำนานของ Jaws นั้นปรากฎตั้งแต่การเป็นหนังทำเงินเกิน 100 ล้านเหรียญฯ เป็นเรื่องแรกของสหรัฐฯ ได้ในเวลาเพียง 28 วัน เอาชนะ The Godfather (1972) และ The Exocist (1973) ซึ่งเป็นหนังที่ก็ดังมาก ๆ (ก่อนที่ Jaws จะถูกโค่นแชมป์โดย Star Wars (1977) ที่ทำเงินไปถึง 200 ล้านเหรียญฯ เลย) โดยที่ทำได้แบบนั้นก็เพราะค่ายหนังเริ่มใช้กลยุทธ์ฉายหนังแบบ Blockbuster นั่นคือ เปิดฉายหนังพร้อม ๆ กันทั้งสหรัฐฯ ระดับ 400 โรงซึ่งเป็นเทคนิคที่ The Godfather ใช้ และก่อนหน้าใช้วิธีการฉายแบบจำกัดโรง First-Run Spielberg ทำหนังเรื่องเป็นหนังใหญ่เรื่องแรกในวัย 26-27 ปี และนำเสนอวิธีการกับค่ายเพื่อทำหนังให้แมสที่สุด เข้าถึงผู้ชมวงกว้างที่สุด เพื่อให้หนังโกยรายได้ แสดงให้เห็นว่า เขาเป็นผู้กำกับที่เกิดมาเพื่อเอาใจคนดู (และค่ายหนัง) แต่ก็ยังไม่ทิ้งศาสตร์ของความเป็นภาพยนตร์

ว่ากันว่านิยายต้นฉบับของ Jaws นั้นดัดแปลงหรือลอกเลียนมาจาก An Enemy of the People ของ Henrik Ibsen แต่ในเรื่องนั้นไม่มีฉลาม กลายเป็นสารพิษแทน ส่วนหนังเรื่องนี้ก็ซื้อสิทธิ์การสร้างมาได้ในราคาที่ถูกมากคือ 175,000 เหรียญฯ เท่านั้น รวมถึงได้นักเขียนมาเขียนบทให้เลยด้วย Jaws สร้างความสำเร็จมโหฬาร แต่ก็ทำให้ Spielberg เข็ดขยาดการทำหนังที่ต้องถ่ายในทะเลมาอีกหลายปี Jaws มีภาคต่อตามออกมาอีก 3 ภาคแต่ Spielberg ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอีก (ตอนแรกเขาเกือบจะกลับมากำกับภาค 2 หลังจากผู้กำกับ John D. Hancock ถูกไล่ออกกลางคัน แต่ตอนนั้น Spielberg ติดถ่าย Close Encounters of the Third Kind (1977) อยู่

Steven Spielberg, Roy Scheider, Richard D. Zanuck, and Simon van Collem in Jaws (1975)
Steven Spielberg, Richard D. Zanuck, Roy Scheider, และ Simon van Collem
  • นักแสดง: Roy Scheider, Robert Shaw, Richard Dreyfuss, Lorraine Gary, Murray Hamilton
  • ทุนสร้าง/รายรับรวมทั่วโลก: 7 / 471 ล้านเหรียญฯ
  • Easter Egg ของ Spielberg ในหนัง
    • Peter Benchley ผู้เขียนนิยายต้นฉบับและได้เครดิตเป็นผู้เขียนบทหนังด้วย มาร่วมแสดงเป็นนักข่าวทีวีที่มารายงานเหตุการณ์ฉลามอาละวาดช่วงกลางเรื่อง และชีวิตจริงเขาก็มีอาชีพเป็นนักข่าว
    • เสียงเอฟเฟกต์รถบรรทุกเหมือนเสียงไดโนเสาร์คำรามใน Duel (1971) ถูก Spielberg นำมาใช้ซ้ำอีกครั้งในฉากที่เจ้าฉลาม Jaws โดน Brody ระเบิดร่างเละเป็นจุณ โดย Spielberg บอกว่า เจ้าฉลามตัวร้ายก็เหมือนรถบรรทุกตัวร้ายในเรื่องนั้นที่อวตารมาร่างใหม่ในเรื่องนี้นั่นเอง
    • Spielberg เป็นคนรักน้องหมามาก จึงไม่พ้นจะนำน้องหมาสุดที่รักอย่างเจ้า Elmer พันธุ์ค็อกเกอร์ สแปเนียลมาเล่นหนังด้วย โดยในเรื่อง Jaws น้องรับบทเป็นหมาของนายอำเภอ Brody พระเอกของเรื่องที่รับบทโดย Roy Scheider และในหนังเรื่องอื่น ๆ ของ Spielberg เจ้า Elmer ก็ไปมีบทบาทในหนังมาแล้ว ทั้ง The Sugar Express (1974) และ Close Encounters of the Third Kind (1977) และ 1941 (1979)
Peter Benchley in Jaws (1975)
Peter Benchley
Jaws: 9 Easters Eggs You Never Noticed – Page 7
Jaws (1975)
Close Encounters of the Canine | THEDARCLAUD□
Spielberg และเจ้า Elmer

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส