Release Date
22/01/2021
ผู้สร้าง
ไบรอัน ยัง
จำนวนตอนของซีซัน 1
6 ตอน
นักแสดง
อาบิเกล โคเวน,แฮนนาห์ แวน เดอร์ เวสธายเซน,เพรเชียส มุสตาฟา
Our score
7.5[รีวิวซีรีส์] Fate : The Winx Saga – แฟรี่เอาใจยากปะทะครูใหญ่ท็อปซีเคร็ต
เรื่องย่อ
เมื่อสาวน้อย บลูม ได้เข้าโรงเรียนพลังเวทย์ อัลเฟีย เธอต้องเรียนรู้ที่จะเรียกพลังเวทย์ของตนและปรับตัวเข้าสู่โลกแห่งแฟรีที่เธอไม่คุ้นเคยรวมถึงค้นหาเรื่องราวของครอบครัวที่แท้จริงที่เกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ดำมืดของอัลเฟีย ในขณะที่ภัยร้ายจาก เบิร์นวัน กำลังคืบคลานเข้ามาสู่อัลเฟียมากขึ้นทุกที.
จุดเด่น
- เป็นการคิดใหม่ทำใหม่จากฉบับแอนิเมชันซึ่งถือว่ากล้าหาญมาก
- ทีมนักแสดงทำหน้าที่ได้ดีและตัวละครแต่ละตัวก็ทำให้เราร่วมลุ้นและติดตามชะตากรรมของพวกเธอได้อย่างไม่น่าเบื่อ.
- แม้สเปเชียลเอฟเฟกต์จะมีบ้ง ๆ บ้างแต่ภาพรวมถือว่าทำได้ดีเลยทีเดียว
- การเมืองในเรื่องเข้มข้นและทำให้เรื่องราวน่าติดตาม
จุดสังเกต
- และความกล้าหาญดังกล่าวเช่นกันที่เปลี่ยนโทนจากแอนิเมชันมาเยอะเลยเข้าข่ายดูแล้ว "ไม่รักก็เกลียดเลย"
- จุดที่น่าตกใจมากคือการนำเสนอเรื่องเพศอย่างโจ๋งครึ่ม จนแฟนแอนิเมชันก็น่าจะตกใจไม่น้อย
- ตัวละคร บลูม ที่เป็นตัวละครนำมีบุคลิกที่อาจจะน่ารำคาญมากไปหน่อยจนต้องเตือนว่า พยายามดูให้ผ่าน 2 ตอนแรกไปให้ได้ และถ้าชินกับพฤติกรรมเอาแต่ใจสไตล์เด็ก GEN ME ของเธอก็พอจะสนุกกับซีรีส์ได้ครับ
- เรื่องราวของมิตรภาพระหว่างเพื่อนหายไปอย่างน่าเสียดาย.
-
ความลงตัวของบทซีรีส์
7.0
-
คุณภาพงานสร้าง
7.5
-
คุณภาพนักแสดง
8.0
-
ความน่าติดตามในแต่ละตอน
7.0
-
ความคุ้มค่าเวลาในการติดตามชม
7.8
ขึ้นอันดับ 1 คอนเทนต์ยอดนิยมเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียน Netflix แล้วสำหรับ Fate : The Winx Saga ซีรีส์ฉบับไลฟ์แอ็กชันที่ทาง Rainbow S.p.A ผู้สร้าง WINX CLUB แอนิเมชันซีรีส์โลกเวทมนตร์เจาะกลุ่มสาว ๆ Tween ตั้งแต่ 12 – 16 ปีมาร่วมกันจับแต่งหน้าทาปากแต่งองค์ทรงเครื่องใหม่ให้กลายเป็นภาพยนตร์ซีรีส์คนแสดงที่ดูโตขึ้นและเนื้อหาก็ก้าวหน้าแบบผิดหูผิดตาทีเดียว
จาก WINX CLUB สมบัติชาติอิตาลี (ร่วมอเมริกัน) สู่ FATE : The Winx Saga
ย้อนกลับไปปี 2004 อิกชินิโอ สคราฟฟิ ศิลปินวาดคอมิกชาวอิตาเลียนได้ผลักดันจนเกิดแอนิเมชันซีรีส์อย่าง Winx Club ออนแอร์ที่สถานี Rai 2 ในอิตาลีจนกระทั่งในปี 2011 ก็ได้ร่วมงานกับ Nickelodeon ในเครือ VIACOM (เจ้าของ Paramount) จนเกิดเป็นงานโคโปรดักชันและสร้างฐานแฟนคลับเหนียวแน่นไปทั่วโลกจากการออนแอร์ทาง Nickelodeon และ Nick jr. ตามลำดับ
และจากการทดลองชมฉบับแอนิเมชันซีรีส์บอกได้เลยว่ามันมีองค์ประกอบมากมายที่ืทำมาเพื่อสื่อสารกับเด็กที่เติบโตมาในช่วงปี 2000 โดยเฉพาะการกำหนดให้ตัวละครหญิงในเรื่อง 5 คนมีบทบาทที่โดดเด่นและมีตัวละครชายเป็นเพียงไม้ประดับและยังมีเรื่องของแฟชันร่วมสมัยในแต่ละซีซันบอกเล่าเรื่องราวการตามหาตัวตนและความรักอันว้าวุ่นซึ่งถือเป็นอารมณ์ร่วมของยุคสมัยสำหรับเด็กที่เกิดมาในยุค 2000 เลยทีเดียว
ซึ่งฉบับซีรีส์ไลฟ์แอ็กชันยังสานต่อและดึงองค์ประกอบที่แฟน ๆ ชื่นชอบทั้งตัวละครบางตัวที่ถอดแบบมาคล้ายของเดิม การมีแฟรี่ (กลุ่มสาว ๆ ใช้พลังเวท) และสเปเชียลลิสต์ (ทหารหนุ่มเชี่ยวชาญการต่อสู้) โรงเรียนอัลเฟีย และเวทมนตร์สุดตื่นตาตื่นใจรวมถึงปีศาจร้ายที่มาเพิ่มความน่าตื่นเต้นให้เรื่องราว
แต่กระนั้น FATE : The Winx Saga กลับเลือกเดิมพันครั้งใหญ่ด้วยการปรับเรื่องราวและตัวละครให้ออกมาในแนวทางของซีรีส์วัยรุ่นดาร์ก ๆ ซึ่งก็ไม่แปลกล่ะเพราะตัวซีรีส์ได้ไบรอัน ยังที่ยกเอาทีมเขียนบท The Vampire’s Diaries ของเขามาพัฒนาตัวซีรีส์ให้มีความเป็นซีรีส์วัยรุ่นอเมริกันพร้อม”ตัด”และ”ปะ”รายละเอียดหลายอย่างจากแอนิเมชันซีรีส์.
เริ่มที่การ “ปะ” ก่อนโดยเรื่องราวของ Fate : The Winx Saga จะไม่ได้เริ่มเหมือน Winx Club โดยเริ่มเรื่อง แม้ บลูม (อบิเกล โคเวิน) จะยังไม่ทราบว่าตัวเองมีพลังและเคลือบแคลงสงสัยในตัวตนเหมือนกันแต่ซีรีส์จะโยนบลูมเข้าโรงเรียนสำหรับผู้มีพลังเวท อัลเฟีย ซึ่งเธอโกหกพ่อแม่ว่าโรงเรียนอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ และบลูมก็เริ่มเรียนรู้วิธีปล่อยพลังและเรื่องราวของครอบครัวที่แท้จริงของเธอไปพร้อม ๆ กัน และตัวซีรีส์ยังเพิ่มเรื่องการเมืองในโลกแห่งเวทมนตร์ซึ่งเกี่ยวพันกับความเป็นมาของบลูมอีกด้วย
ส่วนการ “ตัด” อันนี้บอกตรง ๆ เลยว่ามันจะทำลายความคาดหวังของแฟนอนิเมชันซีรีส์แน่ ๆ ตั้งแต่การตัดขอบเขตของเรื่องราวให้อยู่แค่ในโรงเรียนอัลเฟียซึ่งต่างจากเวอร์ชันแอนิเมชันซีรีส์ที่แยกโซนของโรงเรียนชัดเจนและมีหลายโรงเรียนโดยเฉพาะโรงเรียนของแม่มดตัวร้ายที่หายไปจากเรื่องและโรงเรียนของเหล่าสเปเชียลลิสต์ก็เอามารวมกับอัลเฟียไปเลย ยังไม่นับถึงเรื่องคอสตูมที่น่าขัดใจสำหรับแฟนแอนิเมชันซีรีส์แน่ ๆ เพราะเหมือนตัวละครในเรื่องไปซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปมาใส่เข้าฉากจนงงว่าตกลงเมืองเวทมนตร์ก็แต่งตัวเหมือนโลกมนุษย์เหรอเนี่ย ? นี่ยังไม่นับรวมถึงการเปลี่ยนแปลงตัวละครที่เราจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป
อยากรู้ว่าตัวละครเปลี่ยนไปยังไง อ่านหน้าต่อไปได้เลย
จากขบวนการ 5 สาวสู่วัยรุ่น GEN ME หัวรั้น
หากใครเป็นแฟนฉบับแอนิเมชันซีรีส์จะพบว่า Winx Club สามารถตอบสนองคอแอนิเมชันที่คุ้นเคยกับแอนิเมะญี่ปุ่นอย่างเซเลอร์มูน หรือพวกขบวนการ 5 สาวต่าง ๆ ได้แบบแทบจะถอด DNA กันมาเลย แต่สำหรับฉบับซีรีส์ไลฟ์แอ็กชันหากจะทำให้เหมือนแอนิเมชันก็แน่นอนล่ะว่าสเกลมันจะต้องออกมาใหญ่พอสมควรและอาจไม่เหมาะกับการขยายกลุ่มผู้ชมที่หวังว่าแฟนคลับ Winx Club ที่โตขึ้นจะยังอยากมาดูฉบับคิดใหม่ทำใหม่แบบนี้ โดยมีตัวละครที่เราขอเปรียบเทียบกับฉบับเก่าดังนี้
Bloom (Abigail Cowen)
สำหรับตัวละครบลูมในซีรีส์แม้จะมีที่มาหลายอย่างที่คล้ายกับฉบับแอนิเมชันแต่ผู้สร้างก็เปลี่ยนและปรับคาแรกเตอร์รวมถึงลักษณะนิสัยใจคอหลายอย่างโดยเริ่มจากเรื่องของพลัง ซึ่งบลูมในซีรีส์จะไม่สามารถปล่อยและควบคุมพลังได้ในตอนแรก ต่างจากของแอนิเมชันที่เธอจะเรียนรู้ได้เร็วยิ่งกว่า ยิ่งไปกว่านั้นคือพลังของเธอถูกตัดจากพลังมังกรไฟเหลือแค่เป็นแฟรีแห่งไฟปล่อยไฟแบบลำแสงเฮ้ากวงแค่นั้นเอง
แต่เรื่องที่เปลี่ยนแล้วหนักหนาที่สุดเห็นจะเป็นนิสัยที่ชวนให้คนดูหงุดหงิดไม่น้อยซึ่งในฉบับไลฟ์แอ็กชันบลูมจะเป็นวัยรุ่นอายุ 16 เหมือนในแอนิเมชันเพียงแต่นิสัยจะเป็นคนดื้อรั้น อ่อนไหวง่าย แถมยังเชื่อใจคนผิดเป็นนิสัย แต่กระนั้นสิ่งที่ขับเคลื่อนให้เธอเป็นเช่นนี้คงหนีไม่พ้นการที่ถูกปกปิดความจริงมาทั้งชีวิตซึ่งถือเป็นอีกประเด็นที่เราจะพูดถึงต่อไป
Stella (Hannah van der Westhuysen)
ส่วนตัวละครสเตลลานี่คือแทบจะไม่เหลืออะไรที่เหมือนกับแอนิเมชันเลยนอกจากมีพลังเรื่องแสงเพราะนางทำตัวน่าหมั่นไส้ วางมาดเจ้าหญิงและตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์กับบลูมอย่างชัดเจน แต่จะมีจุดน่าสนใจหน่อยคือซักตอนที่ 3 ที่เราจะเริ่มได้เห็นนางต้องรับแรงกดดันจากหม่อมแม่ที่เป็นราชินีโซลาร์เรีย ซึ่งด้วยเสน่ห์ของแฮนนาห์ แวน เดอร์ เวสธายเซน ก็น่าจะตกหนุ่ม ๆ ได้ไม่ยากเลยล่ะ.
Aisha (Precious Mustapha)
สำหรับตัวละคร ไอช่า แฟรี่แห่งคลื่นควบคุมน้ำได้ เนื่องจากในแอนิเมชันซีรีส์ไม่ค่อยมีบทบาทที่โดดเด่นนักแต่ด้วยการดีไซน์ให้เป็นตัวละครผิวสีหน้าหวานและถ้าจะว่ากันตามตรงคือใครได้ดูแอนิเมชันมาก็คงคาดหวังความสวยของตัวละครตัวนี้ไม่น้อย แต่ในซีรีส์กลับเปลี่ยนลุคให้เป็นนักกีฬาและไม่ค่อยมีบทบาทอะไรน้ก จะมีความน่าสนใจคือความฉลาดและคอยเตือนสติหญิงบลูมนี่แหละทีเราพอจะเอาใจช่วยเธอบ้าง แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าทำไมบทของเธอถึงดูรองจากนักแสดงผิวขาวยังไงก็ไม่รู้
Terra Harvey (Eliot Salt)
เอาล่ะหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่น่าจะพลิกทุกอย่างจากแอนิเมชันที่สุดคือเดิมทีตัวละครนี้ในแอนิเมชันจะใช้ชื่อว่า ฟลอร่า เป็นแฟรีแห่งธรรมชาติและมีรูปร่างดี แต่สำหรับฉบับไลฟ์แอ็กชันกลับพลิกคาแรกเตอร์ให้เป็นสาวร่างท้วมและพูดเยอะ ซึ่งหากมองให้ลึกอันนี้ถือเป็นเรื่องน่าชื่นชมของทีมงานนะครับที่กล้าสร้างคาแรกเตอร์สาวอวบให้น่าสนใจขนาดนี้ ที่สำคัญนี่น่าจะเป็นคาแรกเตอร์เดียวในกลุ่มที่เราลำใยน้อยที่สุดและค่อย ๆ เผยด้านที่น่ารักและด้านแข็งแกร่งออกมาจนเริ่มมีแฟนคลับของตัวละครนี้ออกมาชื่นชมให้เห็นบ้างแล้ว
Musa (Elisha Applebaum)
และอีกหนึ่งตัวละครที่ถูกเปลี่ยนเยอะที่สุดก็หนีไม่พ้น มิวซ่า ที่เดิมทีเธอจะเป็นแฟรีแห่งเสียงเพลง แต่เหมือนมันจะดรามาไม่พอทางผู้สร้างก็เลยเพิ่มพลังในการได้ยินความคิดคนเข้ามา ซึ่งเมื่อมิวซ่าที่รับบทโดย เอลิชา แอปเพิลเบิม ที่เป็นคนผิวขาวแทนคนเอเซียในต้นฉบับก็ถูกวิจารณ์ถึงประเด็น White Washing ไม่น้อยเลยทีเดียว แต่สำหรับผมเมื่อได้ดูจริง ๆ แล้วก็ยังถือว่าพอรับได้นะครับ (เรียกง่าย ๆ คือนอกจากนางเอกอย่างบลูมนี่รับได้หมดอ่ะ 555) ที่สำคัญคือบทของน้อง เอลิชา น่ารักและแอบเซ็กซี่นิด ๆ ด้วยล่ะ
Beatrix (Sadie Soverall)
สำหรับบีอาทริกซ์ อาจเป็นกรณีคล้ายตัวละครเทอร์รา คือเป็นตัวละครที่แอบเอาคาแรกเตอร์จากในแอนิเมชันมาปั้นตัวละครใหม่ โดยแทนที่ เทคน่า แฟรีแห่งเทคโนโลยี (คือถ้ามีจริงจะประหลาดมากเพราะพวกนางก็ใช้สมาร์9โฟนอยู่แล้ว) ซึ่งการเพิ่มบีอาทริกซ์ขึ้นมาก็ทำให้โทนซีรีส์วัยรุ่นดาร์ก ๆ เข้มข้นมากขึ้นเพราะนางมีงานบางอย่างแอบแฝงอยู่ระหว่างมาร่วมเรียนที่อัลเฟีย
ซึ่งนอกจากการเปลี่ยนแปลงคาแรกเตอร์ของตัวละครจากแอนิเมชันแล้วมันยังสะท้อนภาพของวัยรุ่นยุค Gen Me ในปัจจุบันในแทบทุกตัวละคร ทั้งความหัวรั้นของบลูม ความมั่นและถือยศถืออย่างของสเตลล่าหรือกระทั่งความโลกส่วนตัวสูงและไม่อยากรับรู้ความรู้สึกของคนอื่นในกรณีมิวซ่าก็ทำให้มันถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อยเลยว่ามันหลงลืมแมสเสจอันว่าด้วยความมหัศจรรย์ของมิตรภาพที่อยู่ในแอนิเมชันซีรีส์ และโดยปริยายล่ะว่ามันทำให้ความสัมพันธ์ของตัวละครตอนหลังที่เริ่มกลับมารวมตัวดูขาดความน่าเชื่อถือไปอย่างน่าเสียดาย
นอกจากนี้ยังมีตัวละครหนุ่ม ๆ อย่างสกายและริเว่นจากแอนิเมชันมาดัดแปลงเป็นตัวละครโดยคงคาแรกเตอร์บางอย่างไว้เช่นริเว่นจะเป็นพวกต่อต้านสังคม แต่ไม่ใช่แค่นั้นเพราะตัวละครสกายถูกเอามาใช้ชนวนแค้นที่ทำให้บลูมกับสเตลลาไม่ลงรอยกันตามสูตรรักสามเส้าไปอี๊ก ดังนั้นคาแรกเตอร์ของซีรีส์ที่ดัดแปลงมาจากแอนิเมชันซีรีส์ค่อนข้างเยอะเลยเป็นปัจจัยนึงที่อาจทำให้คนดูรักหรือเกลียดมันได้เลย.
นอกจากประเด็นตัวละครแล้วยังมีจุดไหนที่เปลี่ยนไปอีกบ้าง พลิกอ่านหน้าถัดไปเลย
การเมือง – เรื่องที่ยิ่งปกปิดยิ่งยุให้อยากรู้
หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงโทนการเล่าเรื่องที่สำคัญคือการเพิ่มประเด็นการเมืองในอาณาจักรของโลกดิอาร์เทอร์เวิร์ลขึ้นมา (ขอเลี่ยงใช้คำว่าโลกคู่ขนานเหมือนซับไทเทิล) ที่จะเริ่มเข้มข้นขึ้นในช่วงตอนที่ 3 เมื่อมีการเปิดเผยถึงความลับที่ ฟาร์รา ดาว์ลิง (อีฟ เบสต์) ครูใหญ่ของโรงเรียนอัลเฟียได้ซุกซ่อนไว้ใต้ห้องทำงานของตน และก่อนจะไปพูดถึงสงครามตราบาปในอดีตที่เกี่ยวพันกันแล้ว เราจะพบว่าการเมืองมันเริ่มตั้งแต่การปกปิดชาติกำเนิดของบลูมมาก่อนแล้ว
ดังนั้นแม้เราจะกล่าวในทีแรกว่าตัวละครมีความมั่นหน้ามั่นโหนกจนน่าหมั่นไส้แค่ไหน แต่พอมาพิจารณาประเด็นที่นางคับแค้นใจนี่ต้องยอมเห็นใจนางเหมือนกันนะครับ เพราะการที่ “ผู้ใหญ่ไม่ยอมบอก” เพราะเชื่อว่าเป็นการปกป้องกลับทำให้บลูมรู้สึกไม่มั่นคง ซึ่งมันก็ดันบังเอิญเป็นอารมณ์ร่วมของยุคสมัยพอดี ดังนั้นเมื่อหาคำตอบจากผู้ใหญ่ไม่ได้นางก็เลยไปหาจากคนที่มีเจตนาไม่ดีจนเกิดเรื่องราวสุดอลหม่านและอันตรายในตอนท้าย
นอกจากนี้แม้ใน 6 ตอนแรกของซีรีส์ซีซันแรกจะยังปูมาไม่มากและทิ้งระเบิดไว้ในตอนสุดท้าย เราก็แอบเห็นว่าภายใต้ความสงบสุขของอาร์เธอร์เวิร์ลก็มีความขัดแย้งด้านอำนาจที่รุนแรงรอการปะทุในซีซันต่อไป ซึ่งนั่นก็ทำให้เราอดใจรอซีซันต่อไปไม่ไหวเหมือนกันเพราะเชื่อว่าการเมืองจะกลายเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อนเกมอำนาจของโรงเรียนอัลเฟียที่ถูกใช้เป็นเหมือนรัฐสภาในการปกครองเยาวชนได้อย่างน่าสนใจยิ่ง
เรื่องเพศก้าวหน้า – โจ๋งครึ่มจนน่าตกใจ
แม้ในแอนิเมชันซีรีส์ Winx Club จะใส่เรื่องความรักที่อยู่ในช่วงวัยของการแสวงหาตัวตน แต่กับฉบับไลฟ์แอ็กชันต้องบอกว่ามาไกลจนแทบฉุดไม่อยู่มาก ๆ โดยเราจะขอข้ามความรักแบบพัพพีเลิฟของพระนางไปพูดถึงความสัมพันธ์แบบนัวเนีย 3 เส้าระหว่าง เดน (ธีโอ เกรแฮม) ริเว่น (เฟรดดี ธอร์ป) และบีอาทริกซ์ (เซดี โซเวอร์รอล) โดยเดนถือเป็นตัวแทนของเพศที่เลื่อนไหลอย่างเควียร์ (Queer) เพราะชอบได้ทั้งชายอย่างริเว่น และผู้หญิงอย่างบิอาทริกซ์
และแม้ซีรีส์จะเลี่ยงฉากเซ็กส์โดยตรงแต่กระนั้นมันก็ยังมีบทสนทนาที่ล่อแหลมมากอย่างคำถามของริเว่นที่ถามเดนตรง ๆ ว่าตอนช่วยเหลือตัวเองเขาคิดถึงใคร ซึ่งไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่ามันจะมาอยู่ในหนังแฟนตาซีแบบนี้ ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองที่ติดภาพจากแอนิเมชันอาจลมจับได้เลยล่ะครับ ซึ่งส่วนตัวก็พอเข้าใจได้ว่านี่เป็นงานสร้างของทีม The Vampire’s Diaries ที่เล่นเรื่องความเลื่อนไหลทางเพศเหมือนกัน
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส