ศาลปกครองสูงสุดสั่งคุ้มครองชั่วคราวบริษัท ไทยทีวี จำกัด ให้กสทช. ชะลอการยึดทรัพย์ค้ำประกัน หลังบริษัท ไทยทีวี จำกัด ของเจ๊ติ๋มทีวีพูล ที่ประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 2 ใบคือช่อง ไทยทีวี 17 และ โลก้า 15 หรือ MVTV FAMILY ขอยกเลิกใบอนุญาตและยุติออกอากาศไปเมื่อปี 2558
คลิปแถลงยกเลิกการทำช่องทีวีดิจิทัลของไทยทีวี ในรายการ สน.17 เมื่อปี 2558
ชมคลิปทุก Part :
ศาลปกครองสูงสุดได้มีมติให้ “กสทช.ยังยึดหลักทรัพย์ค้ำประกันของบริษัทไทยทีวีไม่ได้ จนกว่าการพิจารณาจะสิ้นสุด”
บทสรุปจากคำพิจารณาของศาลครับ เราอาจด่วนสรุปกันเกินไป วันนี้ศาลตัดสินมาแค่นี้ครับ
- วันนี้ เวลา 13.30 น. ศาลปกครองกลาง อ่านคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดในคดีที่บริษัท ไทยทีวี จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) (ผู้ถูกฟ้องคดี) โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาที โดยศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง (ศาลปกครองชั้นต้น) สั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ตามที่บริษัทไทยทีวี ร้องขอ ซึ่งมีผลห้าม กสทช.ยึดเงินค้ำประกันจากธนาคารกรุงเทพ ที่บริษัทไทยทีวี นำมาวางไว้แก่ผู้ถูกฟ้องคดี ในงวดที่เหลือ 4-6 มูลค่ารวมกว่า 1,075 ล้านบาท จนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
- บริษัทไทยทีวียื่นฟ้อง เนื่องจาก กสทช.ไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมายหรือแผนแม่บทและคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ในการเชิญชวนให้เข้าร่วมประมูลโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ซึ่งบริษัทไทยทีวีได้ขอยกเลิกใบอนุญาตและเลิกประกอบกิจการไปแล้วช่อง 2 ช่อง ได้แก่ ช่องไทยทีวี และช่องโลก้าทีวี
- หลังจากนั้น กสทช.มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต แต่ได้สั่งให้บริษัทไทยทีวีชำระค่าธรรมเนียมในงวดที่ 4-6 ที่ยังค้างชำระ บริษัทไทยทีวี จึงยื่นฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของ กสทช. และระงับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในงวดที่เหลือ และขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยห้าม กสทช.บังคับธนาคารกรุงเทพ ในฐานะธนาคารผู้ค้ำประกันให้บริษัทไทยทีวี จ่ายค่าธรรมเนียมงวดที่ 4-6 ไว้จนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น
- ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่า
- บริษัทไทยทีวี ไม่ได้ประกอบกิจการแล้ว ซึ่งคดีนี้ มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่า บริษัทไทยทีวี หรือ กสทช.ปฏิบัติผิดข้อตกลงหรือสัญญาที่มีต่อกัน ซึ่ง กสทช.นั้นจะมีสิทธิเรียกให้ธนาคารชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันก็เฉพาะแต่ในกรณีที่ กสทช.ไม่ได้ผิดข้อตกลงหรือสัญญาเท่านั้น
- เมื่อประเด็นนี้ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย ทาง กสทช.ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดี จึงยังไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ธนาคารกรุงเทพ ชำระหลักเงินตามหนังสือค้ำประกันเสมือนว่าบริษัทไทยทีวีเป็นฝ่ายผิดข้อตกลงหรือสัญญา เนื่องจากหากดำเนินการไปแล้ว ธนาคารย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับบริษัทไทยทีวี ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นได้ ซึ่งจะทำให้บริษัทไทยทีวี เป็นฝ่ายแพ้คดีทั้งที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาล
- การใช้สิทธิของ กสทช. จึงเป็นการกระทำซ้ำและกระทำต่อไปซึ่งการผิดสัญญา ซึ่งหากศาลมีคำสั่งคุ้มครองให้บริษัทไทยทีวี ก็จะผลเพียงทำให้ กสทช.ยังไม่ได้รับเงินค่าธรรมเนียมในทันที เพื่อนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินเท่านั้น ซึ่งตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตการประมูลทีวีดิจิทัล ได้กำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมเป็นงวดๆ อยู่แล้ว จึงมีคำสั่งยืนตามศาลปกครองชั้นต้น
- หลังจากรับทราบผลคำสั่งศาล นายสมบัติ ระบุว่า จากนี้จะรายงานให้เลขาธิการ กสทช.และคณะกรรมการ กสทช.รับทราบ ซึ่งไม่ได้หนักใจอะไร เนื่องจากคำสั่งครั้งนี้ เป็นเพราะคดีการฟ้องร้องยังไม่แล้วเสร็จ และศาลเห็นว่า กสทช.ก็ไม่เสียหายนอกจากจะไม่ได้เงินค้ำประกันในทันที จึงมีคำสั่งคุ้มครองให้บริษัทไทยทีวี
- จากนี้จะกลายเป็นบรรทัดฐานหรือไม่ หากมีผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลรายใดต้องการยกเลิกประกอบกิจการ และยื่นฟ้องเพื่อขอให้ศาลคุ้มครอง ห้าม กสทช.ยึดหลักทรัพย์ค้ำประกัน นายสมบัติ กล่าวว่า ก็อาจทำได้ แต่เชื่อว่าไม่ได้ง่ายขนาดนั้น ซึ่งการยื่นขอยกเลิกประกอบกิจการก็ต้องพิจารณาเป็นประเด็นไป ผู้ประกอบการแต่ละบริษัทมีเหตุผลไม่เหมือนกัน สำหรับมูลค่าค่าธรรมเนียมสงวดที่ 4-6 ที่ ห้าม กสทช.ยึดจากธนาคารกรุงเทพในระหว่างนี้มีมูลค่ารวมประมาณ 1,075 ล้านบาท ซึ่งยังอยู่ในช่วงที่ศาลยังพิจารณาคดีไม่แล้วเสร็จเท่านั้น
***สรุปของสรุป : คดีที่ตัดสินวันนี้เป็นแค่กสทช.ยังไม่สามารถยึดแบงก์การันตรีของธนาคารกรุงเทพได้ทั้งหมด ในระหว่างที่ศาลยังไม่ได้ตัดสินคดีทีวีพูลฟ้องกสทช.ว่าใครผิด
ข้อมูลจาก : Twitter @Pat_ThaiPBS
Facebook พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ (click)