เป็นเวลาหลายปีที่งานวิจัยส่วนมากให้ความสนใจกับความสำคัญของอาหารเช้า และอีกหลายงานวิจัยก็ให้ความสำคัญกับอาหารมื้ออื่นรองลงมา แต่งานวิจัยจากญี่ปุ่นชิ้นนี้จะมาบอกเราถึงความสำคัญของอาหารเย็นกันค่ะ
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Osaka ประเทศญี่ปุ่นได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินอาหารในแต่ละวันของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย พวกเขาติดตามพฤติกรรมการกินของนักศึกษาชาย 17,573 คน และนักศึกษาหญิง 8,860 คน ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปผ่านการตรวจสุขภาพประจำปี พวกเขาจะถูกสอบถามพฤติกรรมการกิน เวลาในการกินข้าวแต่ละมื้อ รวมถึงปัจจัยร่วมอื่น ๆ เช่นการนอนหลับ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่
พบว่านักศึกษาที่งดอาหารเย็นเป็นบางครั้งมีจำนวนน้อย แต่สำหรับนักศึกษาที่งดอาหารเย็นเป็นประจำ หรืองดทุกครั้งเมื่อมีโอกาศมีแนวโน้มที่จะดูแก่กว่าวัย, น้ำหนักเกิน, สูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นอนหลับได้ไม่เต็มอิ่ม (นอนเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ), ข้ามอาหารมื้ออื่น ๆ บ่อยขึ้น และมีแนวโน้มจะกินมื้อดึก
และสำหรับนักศึกษาชาย/หญิง ที่งดอาหารกลางวัน ก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกับการงดมื้อเย็น เว้นแต่ว่าการงดมื้อกลางวันไม่ได้ส่งผลให้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สูงขึ้น นักวิจัยพบว่าการงดมื้อเย็นมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 10% และทำให้มีค่า BMI มากกว่า 25 (โรคอ้วน) ที่สำคัญด้วยตัวอย่างจำนวนมากทำให้งานวิจัยนี้มีความน่าเชื้อถือมากทีเดียว
อย่างไรก็ตามนักวิจัยคาดว่าสาเหตุของความอ้วน ที่เกิดจากการงดมื้อเย็นมีอยู่ด้วยกัน 2 ข้อหลัก ๆ คือ เมื่อพวกเขางดมื้อเย็นทำให้ระหว่างวันพวกเขาหิวมากจึงต้องกินมากขึ้น และข้อที่สองคือ อาหารมื้อเย็นเป็นมื้ออาหารที่ควรประกอบไปด้วยโปรตีนไขมันต่ำ และผัก เมื่อเรางดอาหารเย็นจึงทำให้เราได้รับสารไม่เพียงพอ (ก็เลยต้องกินมากขึ้นเพื่อเติมสารอาหารให้ร่างกาย)
อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ก็ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการออกกำลังกาย และภาวะซึมเศร้า แต่นักวิจัยฟันธงแล้วว่าไม่กินอาหารเย็นทำให้คุณน้ำหนักขึ้น และอ้วนแน่นอน
อ้างอิง Busiessinsider