ที่ผ่านมางานวิจัย ตัวบทกฎหมาย หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ Cyberbully (ไซเบอร์บูลลี่) หรือการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ที่เอามาพูดถึงหรืออ้างอิงในไทยมักเป็นข้อมูลจากต่างประเทศ ทำให้การนำมาวิเคราะห์ หรือปรับใช้ก็อาจจะมีความไม่พอดีกัน ดังนั้นจะดีแค่ไหนถ้าหลังจากนี้เราจะมีกฎหมายไซเบอร์บูลลี่ที่เป็นของเราจริง ๆ ที่พอดีกับบริบทสังคมคนไทย เพื่อทำให้การแก้ไขปัญหาได้ผลสูงสุด
DTAC เปิดตัวแคมเปญ #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา สำหรับร่วมระดมสมอง-ออกแบบ “ข้อปฏิบัติร่วมเพื่อหยุดไซเบอร์บูลลี่” ผ่านแพลตฟอร์มที่ทำขึ้นพิเศษในรูปแบบ JAM Ideation ให้เข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเข้มข้นต่อเนื่องเป็นเวลา 72 ชั่วโมง เริ่มเปิดแจมตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน เวลา 20.00 น. ถึงวันที่ 28 มิถุนายน เวลา 20.00 น.
ข้อความคิดเห็นทั้งหมดจะเป็นแก่นตั้งต้นของการแลกเปลี่ยนมุมมองอย่างเข้มข้นผ่านการพูดคุยในคอมมูนิตี้บนโซเชียลมีเดียระหว่างคนทุกเพศวัยในระหว่างวันที่ 3 – 5 กรกฎาคม พร้อมนำข้อสรุปชงหน่วยงานภาครัฐและองค์กรที่ห่วงใยในประเด็นไซเบอร์บูลลี่ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติในสังคม และกฎหมายเทียบเท่านานาชาติ ปักหมุดความก้าวหน้าเชิงนโยบายรับวันต่อต้านการกลั่นแกล้งออนไลน์สากล 2564 (Stop-Cyberbullying Day)
การแสดงความคิดเห็นจะแบ่งเป็น 3 ประเด็น
- การเหยียดรูปร่างหน้าตา (Body Shaming)
- การเหมารวมและอคติทางเพศ (Gender Inequality)
- การกล่าวล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Harassment)
โดยเราสามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นที่เราสนใจได้ ซึ่งการแสดงความคิดเห็นนั้นจะเป็นการใช้ Avatar และนามแฝงเท่านั้น เพื่อให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีเกี่ยวกับประเด็นนั้น ๆ โดยไม่มีกรอบตัวตนมาบดบังไว้
นอกจากการแสดงความคิดเห็นแล้ว เราสามารถกดเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย พร้อมแสดงความคิดเห็นต่อความเห็นของคนอื่น ๆ ในประเด็นนั้น ๆ ได้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและแชร์มุมมองใหม่ ๆ ต่อกันและกัน ทั้งนี้จะมีเจ้าหน้าที่คอยสแกนความเห็นที่ไม่เหมาะสม หรือเป็น Hate Speech
ขั้นตอนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นก็แสนง่ายเพียงแค่เข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.safeinternetlab.com/brave ไม่มากก็น้อย มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งเพื่อให้ #ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คลิก
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส