เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมาเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศของกระทรวงการคลัง เรื่อง ‘การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สำเร็จรูปที่นำเข้ามาทั้งคัน’ เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 12 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศไว้

สรุปเนื้อหาสำคัญคือ

รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สําเร็จรูปที่มีราคาขายปลีกแนะนําไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้ได้รับการลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากร 40%

  • ลดอัตราอากรลง 40% เมื่อผู้นําของเข้าใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้วยังมีอัตราอากรที่ต้องชำระมากกว่า 40%
  • ได้รับการยกเว้นอากร เมื่อผู้นําของเข้าใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้วยังมีอัตราอากรที่ต้องชำระน้อยกว่า 40%
  • ลดอัตราอากรลงเหลือ 40% หากผู้นําของเข้าไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรี

รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สําเร็จรูปที่มีขนาดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไปและ มีราคาขายปลีกแนะนํามากกว่า 2 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท ให้ได้รับการลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากร 20%

  • ลดอัตราอากรลง 20% เมื่อผู้นําของเข้าใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้ว และยังมีอัตราอากรที่ต้องชําระไม่เกิน 20% ให้ได้รับการยกเว้นอากร
  • ลดอัตราอากรลงอีก 20% เมื่อผู้นําของเข้าใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้ว และยังมีอัตราอากรที่ต้องชําระมากกว่า 20%
  • ลดอัตราอากรลงเหลือ 60% หากผู้นําของเข้าที่ไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรี

เนื้อหาเต็มๆ มีดังนี้

  • ข้อ 1 ในประกาศนี้

“รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สําเร็จรูป” หมายความว่า รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่ง ไม่เกินสิบคนแบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle : BEV) ซึ่งประกอบ สําเร็จรูปและนําเข้ามาทั้งคัน (Completely Built Up : CBU)

  • ข้อ 2 ให้ลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรสําหรับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สําเร็จรูป ที่นําเข้าตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ดังต่อไปนี้
    • (1) รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สําเร็จรูปที่มีราคาขายปลีกแนะนําไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้ได้รับการลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากร ดังต่อไปนี้
      • ผู้นําของเข้าที่ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้ว ยังมีอัตราอากรที่ต้องชําระไม่เกินร้อยละสี่สิบ ให้ได้รับการยกเว้นอากร
      • ผู้นําของเข้าที่ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้ว ยังมีอัตราอากรที่ต้องชําระมากกว่าร้อยละสี่สิบ ให้ได้รับการลดอัตราอากรลงอีกร้อยละสี่สิบ
      • ผู้นําของเข้าที่ไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรี ให้ได้รับการลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละสี่สิบ
    • (2) รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่สําเร็จรูปที่มีขนาดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไปและ มีราคาขายปลีกแนะนํามากกว่า 2 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 7 ล้านบาท ให้ได้รับการลดอัตราอากรหรือ ยกเว้นอากร ดังต่อไปนี้
      • ผู้นําของเข้าที่ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้ว ยังมีอัตราอากรที่ต้องชําระไม่เกินร้อยละยี่สิบ ให้ได้รับการยกเว้นอากร
      • ผู้นําของเข้าที่ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแล้ว ยังมีอัตราอากรที่ต้องชําระมากกว่าร้อยละยี่สิบ ให้ได้รับการลดอัตราอากรลงอีกร้อยละยี่สิบ
      • ผู้นําของเข้าที่ไม่ได้ใช้สิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรี ให้ได้รับการลดอัตราอากรลงเหลือร้อยละหกสิบ
  • ข้อ 3 การลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรตามข้อ 2 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
    • ผู้นําของเข้าตามข้อ 2 (1) ต้องแสดงหนังสือรับรองการแสดงการได้รับสิทธิจาก กรมสรรพสามิต (ยฟ. 06 – O๒/๑)
    • ผู้นําของเข้าตามข้อ 2 (2) ต้องแสดงหนังสือรับรองการแสดงการได้รับสิทธิจาก กรมสรรพสามิต (ยฟ. 09 – ๐๒/๒)
  • ข้อ 4 ในกรณีที่ผู้นําของเข้าไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตกําหนด และกรมสรรพสามิตได้แจ้งเพิกถอนหนังสือรับรองการแสดงการได้รับสิทธิสําหรับของใดกับกรมศุลกากรแล้ว ให้ถือว่าของนั้นไม่ได้รับสิทธิลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรตามประกาศนี้ตั้งแต่วันน้ําของเข้า และผู้นําของเข้ามีหน้าที่ต้องแจ้งขอชําระค่าภาษีอากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนสิทธิ และต้องชําระค่าภาษีอากรให้เสร็จสิ้นภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจํานวนเงินค่าภาษีอากร แต่ไม่ถูกตัดสิทธิพิเศษทางอากรศุลกากรในการ ลดอัตราอากรหรือยกเว้นอากรตามความตกลงการค้าเสรีที่ได้ยืนไว้ในขณะนําของเข้า
  • ข้อ 5 ผู้นําของเข้าต้องปฏิบัติตามพิธีการที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศกําหนด
  • ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565

อ้างอิง ราชกิจจานุเบกษา

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส