“…ฟ้า…ใสขึ้นอย่างมาก
น้ำ…ใสขึ้นอย่างมาก
ค่าอากาศ …เขียวสด
ทุกอย่างกลับมาร่มรื่น …ภายในระยะเวลาที่สั้นมากนะ ลองคิดกันดูดี ๆ …เรา “หยุดการสัญจร” แบบฉับพลันกันเมื่อไม่กี่วันนี้เองนะ…

“…ขอบคุณ “ความรู้แท้ที่นำพาความถูกต้องทั้งปวงมาให้” …ใครที่ยังไม่เริ่มต้นดูแลตัวเอง ดูธรรมชาติรอบตัวตอนนี้ก็ได้ พอมนุษย์ไม่ขับรถออกไปรุกราน เขา #แท้งกิ้วเรา เร็วมากขนาดไหน…

“…ผมมั่นใจว่า “วิกฤตกาลที่ยากจะรับมือได้” มา …เพื่อบอกมนุษย์ว่า “โลกที่สวยงามเป็นอุทยาน” รออยู่หลังจากนี้  #เราจะรอดไปด้วยกัน…” , คุณหนุ่ย-พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์

หากจะเชื่อว่าในทุกสถานการณ์นั้นมีทั้งแง่ดีและแง่ร้าย และผู้ที่อยู่รอดได้มักจะนำแง่ดีของเรื่องร้าย ๆ มาดำเนินชีวิตต่อไปอย่าง “พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส” ตามรายงานล่าสุดชิ้นนี้อาจจะทำให้เรามองเห็นข้อดีข้อหนึ่งของการแพร่รระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ทำให้โลกต้องชัตดาวน์ปิดให้บริการต่อไปอีกสักระยะก็เป็นได้ Beartai เคยนำเสนอข่าวรายงานขององค์การนาซาว่า มลพิษเหนือน่านฟ้าจีนลดลงอย่างมาก วันนี้นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมได้เปิดเผยในรายงานชิ้นล่าสุดว่า ชั้นโอโซนโลกกำลังฟื้นตัวดีขึ้นกว่าเดิม เพราะโลกร่วมกันหยุดปล่อยสารที่ส่งผลให้โอโซนเป็นรูโหว่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการหมุนเวียนอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไป

ชั้นบรรยากาศโลกที่ปกคลุมไปด้วยก๊าซโอโซน ที่ปกป้องคุ้มครองสิ่งมีชีวิตบนโลกจากรังสี

ชั้นบรรยากาศโลกที่ปกคลุมไปด้วยก๊าซโอโซน ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิ่งมีชีวิตบนโลกจากรังสี

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์พบว่าโอโซนในชั้นบรรยากาศของทวีปแอนตาร์กติกาถูกทำลายจนเป็นรูโหว่ขนาดใหญ่ ซึ่งอย่างที่เราเคยเรียนกันมาในวิชาวิทยาศาสตร์ตอนเด็ก ๆ ว่า โอโซนซึ่งเป็นก๊าซที่ป้องกันสิ่งมีชีวิตบนโลกจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต จะถูกทำลายเมื่อมนุษย์ใช้สารที่เรียกว่า CFCs (Chlorofluorocarbons) เช่น ในการผลิตโฟมหรือที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยของเสียออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งจะไปส่งผลต่อชั้นโอโซนนี่เอง เมื่อปัญหาโอโซนหนักหน่วงขึ้นในอดีต ประเทศชั้นนำได้ร่วมลงนามงดการใช้และปลดปล่อยก๊าซ CFCs ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศใน “พิธีสารมอนทรีออล” (Montreal Protocal) เมื่อปี 1987

ชั้นบรรยากาศของโลกชั้นต่าง ๆ

ชั้นบรรยากาศของโลกชั้นต่าง ๆ

การลดลงของโอโซน (Ozone Depletion) คือภาวะการสูญเสียหรือการลดลงของปริมาณก๊าซโอโซน (Ozone) ในชั้นบรรยากาศของโลกที่ระดับความสูงราว 20 ถึง 40 กิโลเมตรเหนือพื้นดินขึ้นไป หรือในชั้นบรรยากาศชื่อ “สตราโตสเฟียร์” (Stratosphere) จากปฏิกิริยาเคมีระหว่างก๊าซโอโซนกับสารเคมีที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ “หลุมโอโซน” (Ozone Hole) ส่งผลให้รังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตจากดวงอาทิตย์สามารถส่องลงมายังพื้นผิวโลกได้โดยตรง

ภาพถ่ายดาวเทียมขององค์กรนาซา เผยให้เห็นว่ารูโหว่โอโซนของโลกหดขนาดเล็กลงที่สุดในรอบ 32 ปี

ภาพถ่ายดาวเทียมขององค์กรนาซา เผยให้เห็นว่ารูโหว่โอโซนของโลกหดขนาดเล็กลงที่สุดในรอบ 32 ปี

จากการลงนามในพิธีสารเมื่อปี 1987 นั้น ผลลัพธ์เริ่มเห็นผลอย่างชัดเจนมากขึ้นเมื่อปีที่แล้วนี่เอง ที่รูรั่วชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกาหดเล็กลงที่สุดในรอบ 30 ปี โดยชั้นโอโซนถูกทำลายจนเกิดเป็นหลุมขนาดลดลงมาอยู่ที่ 16.4 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นการหดขนาดลงมากที่สุดตั้งแต่ที่เริ่มมีการบันทึกครั้งแรกในปี 1982

Dr.Antara Banerjee จากมหาวิทยาลัย Colorado Boulder ผู้นำทีมวิจัยจากองค์การบริหารงานด้านมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือโนอา (NOAA) เผยว่า หลุมในชั้นโอโซนปกคลุมกำลังฟื้นฟูตัวเอง และจะหยุดการเปลี่ยนแปลงของกระแสลมกรดซีกโลกใต้ (Southern Jet Stream) ที่เคยส่งผลไม่ดีในบริเวณซีกโลกใต้ได้ เพราะปกติเมื่อชั้นโอโซนถูกทำลาย ลมเร็วจะเคลื่อนลงมาทางซีกโลกใต้ และทำให้การตกของฝนทั้งปริมาณและทิศทางของฝน รวมถึงน้ำทะเลเปลี่ยนไป ส่งผลให้ประเทศอย่างออสเตรเลียต้องเผชิญกับความแห้งแล้งอย่างหนัก จนกระทั่งตอนนี้การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงข้างต้นนั้นเริ่มกลับสู่ทางที่ดี

อย่างไรก็ตามนักวิจัยนิยามการหยุดเคลื่อนตัวของกระแสลมเร็วว่าเป็นเพียงการ “หยุดเพียงชั่วคราว” เท่านั้น เพราะยังมีแนวโน้มที่ปัญหาเดิมจะกลับมา เนื่องจากยังมีโอกาสจะมีจำนวนก๊าซคาร์บอนที่ส่งผลต่อโอโซนจะเพิ่มขึ้น และสารที่ทำลายชั้นโอโซนจะถูกปล่อยมาอีกจากประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยก๊าซออกมาทำลายชั้นโอโซนของโลกมากที่สุดในปัจจบุัน หากมีการกลับมาเปิดโรงงานผลิตกันเต็มกำลังเช่นเดิม หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสคลี่คลายลงแล้ว

ปัญหาความแห้งแล้งในประเทศออสเตรเลีย ที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดปัญหาไฟป่าครั้งประวัติศาสตร์ของโลกเมื่อปีที่ผ่านมา

ปัญหาความแห้งแล้งในประเทศออสเตรเลีย ที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดปัญหาไฟป่าครั้งประวัติศาสตร์ของโลกเมื่อปีที่ผ่านมา

หลังจากเริ่มต้นสหัสวรรษใหม่เป็นต้นมา ทีมผู้วิจัยพบว่ากระแสลมกรดซีกโลกใต้หยุดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะดังกล่าว ทำให้ออสเตรเลียอาจจะไม่ต้องเผชิญกับภัยแล้งที่รุนแรงมากเท่ากับที่ผ่านมา เนื่องจากกระแสลมกรดซีกโลกใต้จะไม่ผลักเอาพายุฝนออกไปห่างชายฝั่ง ส่วนประเทศในแถบอเมริกาใต้ตอนกลาง เช่นในประเทศปารากวัย อุรุกวัย บราซิลตอนใต้ และอาร์เจนตินาตอนเหนือ อาจมีปริมาณฝนลดลง แต่ภูมิภาคแถบพาตาโกเนียอย่างประเทศชิลีและอาร์เจนตินาตอนใต้จะมีฝนตกมากขึ้น และจะมีระดับความเข้มของรังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นอันตรายลดลง

“แต่ข่าวดีนี้อาจยังไม่ดีพอสำหรับโลกของเราค่ะ หากพวกเรายังไม่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะไปทำลายผลดีที่เกิดจากการฟื้นฟูชั้นโอโซนที่ทำกันมาอย่างยาวนานนี้ นอกจากนี้ เรายังคงไม่ทราบว่าชั้นโอโซนที่หนาตัวขึ้น จะช่วยชะลอการละลายของธารน้ำแข็งในทวีปแอนตาร์กติกาได้หรือไม่” Dr.Antara Banerjee กล่าวปิดท้าย

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส