ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 แบบนี้ แน่นอนว่าผู้คนทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกนอกจากจะต้องเผชิญกับโรคระบาดที่ส่งผลกระทบทางกาย และความหวาดวิตก ความเครียดจากการกลัวติดเชื้อซึ่งเป็นผลกระทบทางใจแล้ว พิษเศรษฐกิจจากการล็อกดาวน์ประเทศก็กำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงตามปัญหาการแพร่ระบาดตามมาติด ๆ อย่างที่หลายคนมีคำกล่าวว่า “ถ้าไม่ตายเพราะ Covid ก็จะอดตายเพราะไม่มีอะไรจะกิน”
ภายใต้สถานการณ์ที่ผู้คนล้วนต้องการกำลังใจที่มอบให้แก่กัน ก็ปรากฏดราม่าหนึ่งที่สวนกระแสภาพความร่วมมือร่วมใจจนเป็นที่ร้อนแรง นั่นคือ การแนะนำวิธีคิดของ “ผู้กองเบนซ์” ไลฟ์โค้ชหนุ่มที่ออกมาแนะนำผ่านสื่อของตัวเองว่า “คนที่ลำบากในช่วงนี้คือ พวกไม่ยอมทำมาหากินเอง” ซึ่งทำให้ #ผู้กองเบนซ์ ขึ้นอันดับ 1 เทรนด์ทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา ก่อให้เกิดคำถามกับสังคมว่า ไลฟ์โค้ชแต่ละคนนั้นมีสิทธิหรือความเหมาะสมในการสั่งสอนและแนะนำคนอื่นได้มากน้อยแค่ไหน ใคร ๆ ก็เป็นไลฟ์โค้ชได้ใช่หรือไม่ เพราะการแนะนำความคิดของคนด้วยวิธีการที่ผิดหรือไม่เหมาะสมกับผู้ฟังแต่ละคนก็อาจส่งผลลัพธ์ในทางที่แย่ได้เช่นกัน
https://twitter.com/m_umiiee/status/1249954421842182145
เมื่อเปิดประวัติ “ผู้กองเบนซ์” นั้นก็พบข้อมูลชื่อว่า ร.ต.อ.สี่ทิศ อ่ำถนอม เคยรับราชการตำรวจในตำแหน่งรองสารวัตร ต่อมาเป็นเจ้าของคอร์สสอนสร้างสติกเกอร์ไลน์อันดับของประเทศ ภายใต้ชื่อ Facebook Fanpage “iCreator: สติ๊กเกอร์ไลน์สร้างรายได้ไม่รู้จบ” และเป็นเจ้าของ Fanpage “ข้าราชการนอกกะลา” มีแนวทางในการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตจากการเป็นพนักงานประจำ หลังจากนั้นเขาได้ลาออกจากราชการ ผันตัวมาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำ Personal Branding และ Marketing ผ่านทาง Facebook และเป็นวิทยาการที่บรรยายตามหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมากมาย
หากไล่เรียงประเด็นดรามาที่เกิดขึ้นสำหรับกรณีผู้กองเบนซ์ เริ่มขึ้นตั้งแต่คลิปที่ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาพยายามจูงใจว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่กำลังเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของหลายชีวิตในขณะนี้ไม่ใช่วิกฤต แต่เกิดจากคนที่เดือดร้อนที่ไม่รู้จักปรับตัวจึงเกิดลำบาก โดยยกเหตุว่าคนเหล่านี้ชอบเสพเนื้อหาที่ไม่สนับสนุนการเปิดโอกาสให้ตัวเอง มัวแต่เรียกหาความรับผิดชอบจากคนอื่นโดยไม่ยอมแก้ที่ตัวเอง พร้อมกับบอกว่า ไม่ต้องกลัวจะไม่มีงานทำ พร้อมยกตัวอย่างงาน เช่น ขับรถรับส่งอาหาร ทำ Fanpage ทำช่อง YouTube ขายของออนไลน์ รับทำความสะอาด รับฆ่าเชื้อ รับจ้างนอกสถานที่ ซึ่งกระแสในโลกโซเชียลก็เกิดตีกลับว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสและ “ต้นทุน” ที่จะทำอาชีพเหล่านั้นได้และประสบความสำเร็จเหมือนกัน
ขณะเดียวกันก็เกิดมหกรรม “การขุด” วาทกรรมและคำแนะนำในการไลฟ์โค้ชของผู้กองเบนซ์ในอดีตขึ้นมาในบนโลกทวิตเตอร์ ซึ่งมักจะเป็นคำแนวดุด่า ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ผสมกับการเปรียบเทียบและตัดสินชีวิตของคนอื่น ๆ หรือในกรณีให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาที่ไม่ถูกต้องตามหลักความรู้ทางศาสนาที่ถูกต้อง ก็ถูกขุดมาโจมตีการให้ข้อมูลแบบ “มั่ว ๆ” ด้วยเหมือนกัน นอกจากนี้ ยังมีการตั้งสมญานามให้กับเขาด้วยว่า “เทพเจ้าแห่งการบล็อก” เนื่องจากผู้กองเบนซ์จะทำการลบคอมเมนต์เชิงลบ หรือด่าทอตนเอง รวมถึงไล่บล็อก Fanpage หรือใครก็ตามที่แสดงความคิดเห็นโต้แย้งแตกต่างจากเขา ท้ายที่สุดเมื่อวันที่ 14 เมษายน ผู้กองเบนซ์ก็ได้ออกมากล่าวคำขอโทษผ่าน Fanpage
https://twitter.com/sunshinesafter/status/1249751537552785409
https://twitter.com/marcwskxx/status/1249793419704074240
สำหรับอิ #ผู้กองเบนซ์ คลิปพระพุทธเจ้าทิ้งลูกเมียก็คือพีคสุดในชีวิตมันแร้วค่ะ ไม่นับถือลอร์ดบุดด้าเหรอ มึงคือพวกสัตว์นรก อิพวกเดียรัจฉาน ปังไม่หยุด https://t.co/jFZr3pNqSb
— อย่ามาอยู่กับกุ้ง (@LAlchemistaken) April 13, 2020
https://twitter.com/Offchainon/status/1249976216926339073
ก่อนหน้านี้ Beartai และ What the Fact ได้เคยนำเสนอแนวคิดของ J.K. Rowling นักเขียนวรรณกรรมเด็กชื่อดังอย่าง Harry Potter ที่มีการโพสต์เนื้อหาที่ประจวบเหมาะกับกรณีไลฟ์โค้ชนี้โดยบังเอิญ โดย Rowling ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ไว้ว่า
“หากคุณเป็นไลฟ์โค้ชที่พยายามยัดเยียดความกดดันอย่างคำพูดว่า “คุณจะกลายเป็นพวกขี้แพ้ทันทีถ้าไม่รู้จักเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ” ละก็ บางทีหยุดทำไปเลยจะดีกว่านะ ผู้คน ณ เวลานี้อาจจะเผชิญอะไรที่มันยากลำบากมากกว่าที่พวกคุณรู้ บางทีการผ่านสิ่งเหล่านั้นมาสำหรับพวกเขามันก็มากเกินพอแล้ว”
Implying that people are lazy or unmotivated if they aren't knocking out masterpieces daily isn't inspiration, it's a form of shaming. If endless distraction cured depression, no rich person or workaholic would ever have killed themselves. Sadness and anxiety aren't weaknesses /1 pic.twitter.com/cYQUQElrXL
— J.K. Rowling (@jk_rowling) April 3, 2020
นอกจากนี้สำนักข่าวออนไลน์ The Standard ก็ยังนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการรู้จักอาชีพไลฟ์โค้ชที่แท้จริงว่า ต้องผ่านการฝึกและการทดสอบอะไรบ้างก่อนจะประกอบวิชาชีพนี้ได้ ผ่านการสัมภาษณ์คุณบอย-วิสูตร แสงอรุณเลิศ นักเขียน นักพูด เจ้าของเพจ Boy’s Thought และผลงานหนังสือ งานไม่ประจำ ทำเงินกว่า และ หนังยางล้างใจ ซึ่งให้แง่มุมที่น่าสนใจไว้ว่า (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่)
” การถูกโค้ชคือการที่คุณจะต้องนั่งคุยตัวต่อตัวกับโค้ช เขาจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาชีวิตของคุณ เพราะบางเรื่องที่คุณติดกับจนนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก มันจึงจำเป็นจะต้องมีคนมาคอยไกด์แนวทางให้ โดยใช้เทคนิคการสะท้อนตัวตน (reflective) เช่น สมมติว่าคุณมาคุยกับไลฟ์โค้ชว่าทุกข์ใจ อยากมีรายได้เพิ่ม โค้ชจะไม่บอกให้คุณไปลองขายของออนไลน์ แต่จะถามคุณกลับว่ามีความถนัดด้านใด ถ้าถนัดด้านการเขียนแล้วจะเอาความสามารถนี้ไปใช้ทำอะไรได้บ้าง มีความสามารถด้านการสัมภาษณ์ แล้วมีคอนเน็กชันกับใครหรือไม่ หลักการมันคือการถามคำถามเพื่อไกด์แนวทางไปเรื่อยๆ โดยที่ตัวคนถูกโค้ชจะเป็นคนตอบคำถามเหล่านั้นด้วยตัวเอง คนเป็นไลฟ์โค้ชจะไม่ได้ให้คำตอบ”
นายแพทย์อภิชาติ จริยาวิลาศ โฆษกกรมสุขภาพจิต ได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์กับประชาชนในกรณีที่มีความเครียดในภาวะนี้ไว้ว่า จิตแพทย์นั้น ต้องเรียนวิชาแพทยศาสตร์เป็นเวลา 6 ปี เพื่อต่อสาขาวิชาจิตเวช 3-4 ปี รวมแล้วเป็นเวลาถึง 10 ปี ส่วนนักจิตวิทยาที่สามารถให้คำปรึกษาได้ต้องใช้เวลาเรียนอย่างน้อย 4 ปี แตกต่างจากไลฟ์โค้ชที่บางคนเข้าอบรมไม่กี่ชั่วโมงก็ออกมาให้คำแนะนำคนอื่นได้แล้ว ดังนั้นหากประชาชนมีความเครียด และต้องการคำปรึกษาก็แนะนำว่าให้โทรสายด่วนกรมสุขภาพจิต เบอร์ 1323 ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงให้คำปรึกษาอยู่
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส