องค์การอนามัยโลก (World Health Organisation-WHO) ได้ประกาศว่าการติดเกมจัดเป็นอาการผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า International Classification of Diseases (ICD) โดยระบุว่าผู้ที่ถูกจัดเกณฑ์ในกลุ่ม ‘ผู้ป่วย’ ดังกล่าวหมายถึงการติดเกมนั้นได้ส่งผลกระทบและสร้างปัญหาต่อบุคคลรอบข้าง
ทั้งนี้ ทาง WHO ได้ทำผลวิจัยจากการติดตามวิเคราะห์ถึงสัญญาณและอาการของโรคดังกล่าว และได้ข้อสรุปเบื้องต้นอาการของผู้ป่วยที่อยู่ในเกณฑ์ ‘ติดเกม’ ไว้ดังนี้ (โดยอาการดังกล่าวจะต้องปรากฏต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี จึงจะถูกนับว่าอยู่ในข่ายผู้ป่วย)
- ศูนย์เสียการควบคุมตัวเองในการจัดเวลาเล่นเกม (พิจารณาจาก ความถี่ในการเล่น, ความเข้มข้นและระยะเวลาที่เล่น)
- จัดลำดับและเพิ่มความสำคัญให้กับการเล่นเกมเป็นสิ่งแรก ๆ ก่อนสิ่งที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน
- ยังเล่นเกมอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะแพ้หรือไม่ประสบความสำเร็จติดต่อกันนานหลายครั้ง
ทางด้าน ดร.ริชาร์ด เกรแฮม ติดแพทย์ที่ปรึกษาจากโรงพยาบาล Nightingale ในกรุงลอนดอน ได้ออกมาสนับสนุนการประกาศของ WHO ในครั้งนี้ ด้วยเหตุผลว่าจะทำให้แนวทางการรักษาของแพทย์นั้นเจาะจงได้ชัดเจนและสามารถพัฒนาแนวทางการรักษาอย่างจริงจังในอนาคตได้
ซึ่ง ดร.เกรแฮม ระบุว่ามีผู้ป่วยเคสใหม่ ๆ ที่เทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลต่อการใช้ชีวิตพื้นฐาน อาทิเช่น คุณภาพการนอนแย่, การรับประทานอาหาร, การเข้าสังคม รวมทั้งส่งผลกับการศึกษา ประมาณ 50 รายต่อปี ซึ่ง ดร.เกรแฮม กังวลว่า อาการเสพติดการเล่นเกมนั้นจะส่งผลต่อการทำงานในระบบประสาท และมีอิทธิพลมากพอที่จะสามารถควบคุมกระบวนการคิดของมนุษย์ได้ ไม่ต่างจากการติดยาเสพติด