งาน Huawei Southeast Asia Enterprise Service Ecosystem Summit ภายใต้แนวคิด “Leading Service Ecosystem, Accelerate Digital Transformation” เพื่อมุ่งสร้างระบบนิเวศด้านบริการ ขับเคลื่อนสู่ Digital Transformation สำหรับลูกค้า Enterprise ทั่วโลก
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้วางกลยุทธ์เชิงซ้อน ที่เรียกว่า “Platform + Ecosystem” ขึ้นมา เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลและนําไปสู่ความสําเร็จทาง ธุรกิจ โดยหัวเว่ยจะทํางานร่วมกับพันธมิตรตามกลยุทธ์นี้ เพื่อสร้างแพลตฟอร์มที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น และมี ความปลอดภัย หัวเว่ยมีเจตจํานงค์อันแน่วแน่ที่ต้องการบ่มเพาะและสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน ด้วยการผนึก ความร่วมมือในอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างชุมชนโอเพ่นซอร์สและแพลตฟอร์มสําหรับนักพัฒนา โดยมีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้เติบโตออกไปในวงกว้างและสร้างชุมชนที่มีความสนใจ ร่วมกัน ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน เพื่อเติบโตไปด้วยกันและต่อยอดสู่สิ่งใหม่ๆ
เพื่อบรรลุตามเป้าหมายดังกล่าว หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ เน้นให้ความสําคัญกับห้าอุตสาหกรรมหลัก นั่นคือ ความปลอดภัยสาธารณะ การขนส่ง พลังงาน การเงิน และภาคการผลิต รวมถึงดําเนินงานใน 3 จุดควบคุม หลัก คือ เทคโนโลยีขั้นสูง แพลตฟอร์มและเครือข่ายระบบนิเวศชั้นนํา เพื่อฝึกฝนผู้มีความสามารถในแวดวง และเพิ่มพูนศักยภาพการให้บริการแก่ลูกค้ารายหลัก
มุมมองของการจัดงานในครั้งนี้
โลกของเทคโนโลยีและ Intelligent จะเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทาง Huawei เองมีความยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน Digital Transformation ซึ่งในฐานะของ Huawei ก็ตั้งใจนำเสนอ Platform และ Ecosystem ซึ่งเป็น 2 ปัจจัยหลักในการจัดการ และเผยคีเวิร์ดหลัก ๆ ของเทคโทโลยีในปัจจุบัน 3 คำคือ
- ความปลอดภัย หรือ Safety มีความสำคัญที่สุด
- การเปิดกว้าง หรือ Open
- ความยึดหยุ่น หรือ Flexible
โดย Huawei ให้คำมั่นว่า เขาจะมุ่งไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องและมั่นคงโดยยึดหลัก 3 Keyword นี้เอาไว้ และเปิดกว้างให้กับ Partner โดยมี Open Platform สำหรับให้ลูกค้าเข้ามาใช้งานได้ โดยผ่าน HCIE หรือ Huawei Certified Internetwork Expert ซึ่งเป็นการรับรองคุณวุฒิด้านอาชีพของหัวเว่ยและส่วนเสริมให้วิศวกรจากองค์กรคู่ค้าและลูกค้าของหัวเว่ย
ทำไมต้องมี HCIE ?
Huawei Certified Internetwork Expert (HCIE) เป็นการ รับรองคุณวุฒิด้านอาชีพของหัวเว่ย และส่งเสริมให้วิศวกรจากองค์กรคู่ค้าและลูกค้าของหัวเว่ยได้เข้าร่วม โครงการกันมากยิ่งขึ้น โดยภายในงาน มีผู้นําและผู้เชี่ยวชาญในวงการมาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับ แนวโน้มใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในแวดวงไอซีทีอันจะนําไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ทั้งในส่วนของระบบและ รูปแบบธุรกิจ นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เผยกลยุทธ์ความร่วมมือด้านบริการและแพลตฟอร์มสนับสนุนระดับโลกให้บริษัทคู่ค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับทราบ ตลอดจนแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทํางานอย่างใกล้ชิดร่วมกับคู่ค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอลและสร้างความสําเร็จทางธุรกิจได้ ในปัจจุบันมีผู้ผ่าน HCIE ทั่วโลกแล้วกว่า 5,000 รายและ หัวเว่ยได้สนับสนุนคู่ค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กว่า 1,000 ราย โดยในจํานวนนี้มี 400 รายอยู่ในประเทศไทย
และภายในสิ้นปีนี้จะมีผู้ผ่าน HCIE มากกว่า 120 ราย และตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2564 จะมีผู้ผ่านการอบรมในโครงการ HCIE กว่า 500 รายภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนี้ในด้านระบบนิเวศด้านบริการของ Huawei ก็ยังประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
Huawei Certified Service Partners (CSPs)
หัวเว่ยมีพันธมิตรผู้ให้บริการที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติกว่า 2,900 รายทั่วโลก ในจํานวนนี้กว่า 160 รายอยู่ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในขณะนี้มีพันธมิตรผู้ให้บริการที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติ (Certified Service Partners) ระดับ 4 ดาว และ 5 ดาว กว่า 70 ราย และในประเทศไทยก็มีมากกว่า 20 รายที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติระดับ 4 ดาวขึ้นไปเช่นกัน
Huawei Service Platform
สมาคมผู้สนับสนุนการบริการทางเทคโนโลยี (Technology Services Industry Association) ได้เปิดตัวโครงการรับรองคุณสมบัติความเป็นเลิศสําหรับ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุน (Support Staf Excellence Certification) ซึ่งโครงการนี้มีศูนย์บริการ ระดับโลก (Global Services Centers: GSCs) ที่ได้รับการรับรองแล้วทั้งสิ้น 3 แห่ง และศูนย์ ช่วยเหลือด้านเทคนิค (Technical Assistance Centers: TAC) 1 2 แห่ง ซึ่งสมาคมวิชาชีพด้านบริการสนับสนุน (Association of Support Professional) ได้จัดอันดับให้พอร์ทัลหการสนับสนุนทางเทคนิคของหัวเว่ยติดอันดับ 1 ใน 10 ของเว็บไซต์ด้านการสนับสนุนทางเทคนิคระดับโลก นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมร่วม 36 แห่ง และ OpenLab อีก 9 แห่งทั่วโลก และประเทศไทยก็เป็น 1 ในประเทศที่เติบโตเป็นอันดับ 4 ของภูมิภาคนี้ในด้าน Enterprise Services ซึ่งรวมไปถึง IoT, Cloud และ Software-Defined Networking ที่ทาง Huawei เน้นย้ำและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Huawei Authorized Learning Partners (HALP)
เป็นผู้ดําเนินการฝึกอบรมให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีที่ที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติและวิศวกรในองค์กรคู่ค้าของหัวเว่ย ปัจจุบัน หัวเว่ยมีพันธมิตรที่ทําหน้าที่ฝึกอบรมกว่า 100 รายและมีผู้ดําเนินการฝึกอบรมกว่า 200 รายทั่วโลก สําหรับ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพันธมิตรที่ผ่านการอบรมในโครงการนี้ทั้งสิ้น 4 ราย ซึ่งได้ ดําเนินการฝึกอบรมให้กับวิศวกรในองค์กรคู่ค้าของหัวเว่ยไปแล้วกว่า 1,800 ราย
Huawei ICT Academy
หัวเว่ยได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านไอซีที่กว่า 300 แห่งทั่วโลก และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวเว่ยได้พัฒนาโครงการ ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหลายแห่ง โดยได้เปิดตัวโครงการ Huawei Authorized Information and Network Academy” (HAINA) ขึ้นมา และมีจํานวนนิสิตนักศึกษากว่า 100 คนที่ผ่านการ อบรมและผ่านการรับรองจากโครงการดังกล่าว ซึ่งในประเทศไทยได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนกันยายน 2559 ที่ผ่านมา