อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ นับเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายแรกของไทย ที่นำเทคโนโลยีเสมือนจริง (VR) มาประยุกต์เข้ากับระบบสร้างแบบจำลองเสมือนของอาคาร (Building Information modelling หรือ BIM) ที่ถือเป็นโมเดลจำลองดิจิทัลที่ช่วยวางแผนพัฒนาโครงการต่าง ๆ โดย VR BIM models จะช่วยปรับปรุงกระบวนการพัฒนาทั้งหมดของโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการดำเนินการ
หลังจากการเปิดตัวของ อนันดา เออร์เบินเทค ภายใต้แผนกลยุทธ์ของอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ก็มุ่งมั่นใช้เวลากว่า 12 เดือน ออกแบบและปรับปรุงแบบจำลอง VR BIM models ให้มีความแม่นยำและใช้งานง่ายขึ้นกว่า BIM models รูปแบบเดิม ที่ก่อนหน้านี้ถือเป็นมาตรฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดสำหรับแผนพัฒนาโครงการ
- เทคโนโลยีการปฏิวัตินี้ ช่วยให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการ ตั้งแต่ผู้รับเหมาไปจนถึงนักออกแบบ ทีมการขาย และทีมการตลาด
- ได้สัมผัสความรู้สึกจริงของโครงสร้างอาคาร โดย “ก้าวเข้าสู่” แบบจำลองกระบวนการพัฒนา
- ซึ่งวิธีการจัดการแบบ Interactive Approach นี้ เอื้อให้ทุกหน่วยงานสามารถระบุข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นได้และแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็ว
อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ทุ่มเม็ดเงินการลงทุนทั้งหมดกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งได้รับผลตอบแทนตามความคาดหวังอย่างรวดเร็ว โดย 13 โครงการ ที่มีการนำเทคโนโลยี VR BIM มาประยุกต์ใช้ระหว่างการก่อสร้าง อาทิ
- Ashton Rama 9
- Q Sukhumvit 36
- และ Ideo Sathon
พบว่าสามารถช่วยลดต้นทุนและร่นระยะเวลาในการก่อสร้างได้เร็วยิ่งขึ้น ภายในระยะเวลา 12 เดือนของการใช้งาน บริษัทอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ เผยว่าจากการตรวจสอบรายงาน Requests for Information (สอบถามทางวิศกรรมที่ทำงานในโครงการ) พบว่าเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการสร้างโครงการได้อย่างดียิ่งขึ้น
การออกแบบอปุกรณ์ VR BIM model ในแต่ละชิ้นใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เนื่องจากการคิดค้นร่วมกันของหลากหลายทีม ไม่ว่าจะเป็นทีมพัฒนา BIM ของอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ทั้งหมด 6 ทีม และทีมพารท์เนอร์อีก 30 ทีม เพื่อให้แน่ใจว่าวัสดุทุกชิ้นภายในอุปกรณ์ VR model ตรงกับวัสดุจริงของโครงการที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา
“VR BIM models คือเทคโนโลยีการพิมพ์เขียวด้วยระบบดิจิทัล (Digital Blueprint) ที่ช่วยให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในโครงการ โดยจำลองเข้าสู่โครงสร้างเสมือนจริงตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน ซึ่งหากเราสามารถเพิ่มความแม่นยำให้ในการตรวจหาข้อผิดพลาดในระยะเริ่มต้น จะช่วยให้เราสามารถดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงทีก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณในการแก้ไขสูง ยกตัวอย่าง เมื่อเร็วๆ นี้ ที่เราค้นพบผ่านเทคโนโลยี BIM ว่าที่จอดรถอัตโนมัติไม่สามารถสร้างให้พอดีกับพื้นที่โดยกำหนด ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยให้เราตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ตั้งแต่ต้นโดยสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึง 3 ล้านบาท”
นอกเหนือจากการพัฒนา BIM models ล่าสุดอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ยังเปิดตัวห้อง VR ภายในสำนักงานใหญ่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมยิ่งขึ้น