LINE Developer Day 2016 งานประจำปีสำหรับนักพัฒนาจากไลน์ที่มีผู้ร่วมงานกว่าพันคน โดยปี 2016 ที่จัดขึ้นเป็นครั้ง 4 นี้พระเอกของงานคือ LINE Bot ที่จะกลายเป็นสมองส่วนกลางในการสื่อสารกับผู้คน และถือเป็นก้าวสำคัญในการเปิดกว้างแพลตฟอร์มไลน์ให้นักพัฒนาภายนอกเข้าถึงได้ แถมยังมีการประกาศการแข่งขัน LINE bot award ชิงเงินรางวัล 10 ล้านเยน

dsc08080

Park Euivin CTO จาก LINE ขึ้นเปิดงาน LINE Developer Day 2016 โดยสรุปภาพรวมของ LINE ให้ฟังกันอีกครั้งว่าแพลตฟอร์มที่มีอายุ 5 ปีนี้กำลังขยายออกไปใน 2 แกนที่เริ่มทำมาตลอด

  • แกนแรก content platform เช่นเกม, line today, line tv เน้นพัฒนาเนื้อหาสำหรับผู้ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • แกนที่สองพระเอกของงานวันนี้ LINE Infra Platform เช่น LINE Pay, LINE@, LINE Taxi

dsc08088

ซึ่งสิ่งที่จะเน้นในงานวันนี้คือ Message API ที่จะเปิดกว้างให้นักพัฒนาภายนอกมากขึ้น จากเดิมที่เปิดเฉพาะพาร์ทเนอร์บางราย และยังเปิด Chat Extension เสริมความสามารถในการแซตด้วยการลงส่วนเสริมได้ด้วย (เหมือน iMessage ใน iOS10)

New World by LINE Bot

LINE bot เป็นเหมือนสมองกลที่อยู่ตรงกลางรับข้อมูลจากผู้ใช้งานมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ เช่น LINE bot สำหรับโรงภาพยนตร์ ผู้ใช้ก็สามารถแซตเพื่อจองตั๋วหนังได้เลย โดยเซสชั่นนี้ Tokuhiro Matsuno จาก LINE Service Dev 1 มาเป็นผู้บรรยาย ซึ่งแบไต๋ขอคัดเรื่องที่ผู้ใช้น่าจะสนใจออกมาดังนี้

API สำหรับการส่งข้อความแบบใหม่

dsc08104

LINE เปิดตัว Messaging API ตัวใหม่อย่างเป็นทางการ ซึ่งรองรับ Bot และความสามารถหลายอย่าง เช่น ชนิดของข้อความแบบใหม่ ที่ให้ผู้ใช้เลือกคำตอบ หรือเลือกเมนูต่างๆ ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังรองรับการทำงานใน Group Chat เพื่อสร้างเครื่องมือหรือ Bot ที่เข้าไปแจมในกรุ๊ปของผู้ใช้ได้

picture1

แน่นอนว่าการใช้ API แบบนี้ก็ต้องลงทะเบียนที่ LINE Business Center และศึกษาค่าบริการด้วยนะ โดย API ตัวทดลอง รองรับผู้ใช้ 20000 คน

LINE Notify เมื่อเรารับการแจ้งเตือนผ่าน LINE ได้!

dsc08101

เรื่องนี้น่าจะใกล้ผู้ใช้ทั่วไปที่สุดแล้ว เพราะตอนนี้เราสามารถเข้า IFTTT.com เพื่อไปสร้าง Recipes ให้ส่งข้อมูลเข้า LINE ส่วนตัวของเราได้เลย เช่น เมื่อมีคนแท็กรูปเราใน facebook ให้ไปแจ้งเตือนที่ LINE ด้วย หรือส่งพยากรณ์อากาศวันรุ่งขึ้นเข้าไลน์ให้ทุกวัน แน่นอนว่าเราสามารถสร้าง Recipes ของ IFTTT ได้เองให้เกี่ยวกับระบบ Home automate ที่ใช้อยู่ก็ได้

นอกจากนี้ LINE Notify ยังเปิดให้นักพัฒนาส่งข้อความจากบริการต่างๆ ให้ไปแจ้งเตือนใน LINE ได้ด้วย เช่นเว็บแบไต๋อาจจะส่งข่าวเด่นที่ปล่อยลงไปในเว็บ ให้ไปเด้งในไลน์ก็ทำได้ ซึ่งตอนนี้ก็มีเครื่องมือใน GitHub ให้ด้วย

LINE Beacon

dsc08115

คอนเซปต์เดียวกับ iBeacon ที่แอปเปิ้ลประกาศเมื่อนานมาแล้ว คือเจ้าของสถานที่สามารถเซ็ตอุปกรณ์ Bluetooth ในสถานที่ เมื่อผู้ใช้ LINE เดินเข้าไปในบริเวณนั้น ก็จะได้รับแจ้งเตือน หรือโปรโมชั่นต่างๆ ภายในแอปไลน์ เช่น ลูกค้าร้าน LINE Friend เมื่อเดินไปมุมเครื่องเขียน ก็จะได้ข้อความโปรโมทสินค้าใหม่ในแอป (พูดให้กีกนิดหนึ่งคือ Beacon ไปทริกเกอร์คำสั่งเพื่อส่งไปให้ LINE Bot ประมวลผลแล้วตอบกลับมา)

การใช้งาน LINE beacon ที่จะขึ้นเป็นแถบเขียวๆ ด้านบนหน้าแซต และถ้าเปิดให้ค้นหา Location ตลอด จะสามารถแจ้งเตือนได้นอกแอป

การใช้งาน LINE beacon ที่จะขึ้นเป็นแถบเขียวๆ ด้านบนหน้าแซต และถ้าเปิดให้ค้นหา Location ตลอด จะสามารถแจ้งเตือนได้นอกแอป

แน่นอนว่าการใช้ Beacon สมาร์ทโฟนก็ต้องเปิด bluetooth ทิ้งไว้ตลอด และในส่วนของ iPhone ต้องเปิดให้ LINE ดึงข้อมูลสถานที่ตลอดเวลาแม้จะไม่ได้ใช้แอปด้วย

LINE Web login

screen-shot-2016-09-29-at-4-14-37-pm

ต่อไปบริการต่างๆ สามารถใช้บัญชี LINE เพื่อยืนยันตัวตนได้ เหมือนกับที่เราสามารถสมัครหลายบริการผ่าน facebook ได้ในตอนนี้ ก็เหมือนพวก facebook ที่ใช้อยู่ตอนนี้ เมื่อกดล็อกอินแล้วจะเด้งไปให้ยืนยันผ่านไลน์ โดยสามารถใช้ได้ทั้ง Android, iOS และเว็บ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงให้ได้รับ Push Notification ในไลน์ได้ด้วย

LINE Bot Awards

dsc08119

แน่นอนว่าเมื่อ LINE เปิดกว้างให้นักพัฒนาเข้าถึงข้อมูลกันขนาดนี้แล้ว ก็ต้องจัดการแข่งขันเพื่อดึงดูดความสนใจจากนักพัฒนาให้เข้ามาใช้บริการของ LINE กันหน่อย โดยเงินรางวัลสูงสุดจากงานนี้สูงถึง 10 ล้านเยน สำหรับนักพัฒนาคนไหนที่สนใจก็สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บของ Bot Awards ซึ่งจะเริ่มเผยรายละเอียดในช่วงปลายเดือนตุลาคม เริ่มสมัครช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน และปิดรับผลงานช่วงต้นเดือนมกราคมจ้า

ส่วนนักพัฒนาคนไหนอยากรู้รายละเอียดทางเทคนิคที่ LINE เปิดตัวในงานนี้ก็เข้าไปอ่านได้ในหน้า Dev Docs ได้เลยครับ