Apple ได้เกิดแนวคิดที่จะสร้างอุปกรณ์ iDevice เป็นบอดี้กระจกทั้งหมด มาสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าแนวคิดดังกล่าวนั้นจะสร้างความน่าสนใจให้กับ iPhone รุ่นถัดไปอย่างไม่ต้องสงสัย แต่มันก็อาจจะเป็นหายะครั้งใหญ่ของ Apple ด้วยเช่นกัน
เหตุผลที่สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, แล็บท็อป, โทรทัศน์, สมาร์ทว็อทช์ และอุปกรณ์อื่นๆอีกมากมาย ไม่ผลิดด้วยบอดีกระจกล้วน เพราะ
มันแตกหักง่าย
จากการศึกษาพบว่า
- นับตั้งแต่ iPhone เปิดตัวในปี 2007 ไปจนถึงปี 2014 ผู้ใช้ชาวอเมริกันต้องเสียเงินในการเปลี่ยนและซ่อมแซม iPhone ที่แตกหัก รวมเป็นเงินกว่า 23.5 พันล้านเหรียญ
- ใป 2013 ได้มีการพบว่า 23% ของหน้าจอ iPhone นั้นเปราะและแตกหักได้ง่าย
แต่สำหรับ iPhone รุ่นถัดไปอาจจะไม่เป็นเช่นนั้นก็ได้
จากรายละเอียดของสิทธิบัตรที่จดเมื่อปี 2013 ระบุว่าทาง Apple ได้ยอมรับว่าวัสดุที่นำมาผลิดสมาร์ทโฟนควรจะต้องมีความแข็งแรง มวลของวัตถุต้องหนาแน่น และสามารถรองรับน้ำหนักในแนวราบได้
ในรายละเอียดของสิทธิบัตรดังกล่าวนั้นมิได้ระบุว่ากระจกชนิดในที่ Apple นำมาใช้ในการผลิตสมาร์ทโฟน แต่ได้ให้ข้อมูลว่าทางบริษัทได้ใช้ “กระจกที่มีความแข็งแรงโดยกระบวนการทางเคมี” ซึ่งเป็นกระจกที่ Apple ได้นำมาใช้ในการผลิต Apple Watch และ iPhone 6s ในปัจจุบันนี้
อีกทั้งภายในสิทธิบัตรยังมิได้ระบุว่ากระจกที่มีความแข็งแรงโดยกระบวนการทางเคมีนั้นได้รับการเคลือบสาร Oleophobic Coating เพื่อป้องกันรอยนิ้วมือหรือไม่ โดยระบุเพียงแค่สามารถป้องกันรอยขีดข่วนได้
ดังนั้น
iPhone บอดี้กระจกล้วน เป็นไอเดียที่แย่หรือไม่ ?
ถ้าหากผู้ใช้มีความชื่นชอบในสุนทรียภาพแห่งความงดงามของสมาร์ทโฟนตามสไตล์ Apple แล้วล่ะก็ ผู้ใช้ย่อมต้องทะนุถนอมสมาร์ทโฟนประหนึ่งคริสตัลล้ำค่าโดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
แต่ถ้าผู้ใช้ท่านใดสนใจในเรื่องของความทนทานแล้วล่ะก็….
จริงอยูที่กระจกที่มีความแข็งแรงด้วยกระบวนการทางเคมีที่ Apple กล่าวอ้างนั้นจะมีความทนทานเป็นพิเศษ แต่ถ้าหากต้องถูกนำมาใช้เป็นบอดี้ของสมาร์ทโฟนโดยที่ไม่มีวัสดุที่เป็นโลหะรองรับแรงกระแทก ก็อาจจะทำให้บอดี้กระจกเกิดการแตกร้าวได้หากถูกกระทบโดยของแข็งอย่างไม่ตั้งใจ
แต่การซื้อเคสที่มีวัสดุเป็นโลหะมาใส่ให้กับสมาร์ทโฟนดังกล่าว ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่ดีที่ทำให้ผู้ใช้เลือกซื้อ iPhone บอดี้กระจกนี้ก็ได้
ที่มา : techinsider และ appft1.uspto.gov