ในสหรัฐอเมริกา ส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการของสมาร์ตโฟน Android และ iOS ถูกแบ่งออกเป็น 50/50 หรืออย่างละครึ่งพอดี ทั้งนี้มีข้อมูลใหม่ที่่น่าสนใจที่ไม่เกี่ยวกับส่วนแบ่งจาก CIRP พบว่าผู้ใช้งาน Android เลือกที่จะเปลี่ยนสมาร์ตโฟนบ่อยกว่า iOS
ตามข้อมูลของ CIRP ที่แสดงด้านล่างนี้ระบุว่า
- ผู้ใช้งาน iOS ที่เปลี่ยน iPhone ในระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปี มี 10% ในขณะที่ผู้ใช้งาน Android มี 23%
- ผู้ใช้งาน iOS ที่เปลี่ยน iPhone ในระยะเวลาน้อยกว่ามากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี มี 29% ในขณะที่ผู้ใช้งาน Android มี 34%
- ผู้ใช้งาน iOS ที่เปลี่ยน iPhone ในระยะเวลาน้อยกว่ามากกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี มี 32% ในขณะที่ผู้ใช้งาน Android มี 22%
- ผู้ใช้งาน iOS ที่เปลี่ยน iPhone ในระยะเวลามากกว่า 3 ปี มี 29% ในขณะที่ผู้ใช้งาน Android มี 21%
นั่นหมายความว่ามีผู้ใช้งาน iPhone เพียง 10% เท่านั้นที่จะเปลี่ยน iPhone ภายในระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปี ส่วนผู้ใช้งาน Android มีมากถึง 23% หรือ 2 เท่า จึงเป็นโอกาสของฝั่ง Android ที่จะมีผู้ใช้งานเลือกเปลี่ยนสมาร์ตโฟนบ่อยกว่า iOS ในขณะที่ผู้ใช้งาน iOS เลือกที่จะเปลี่ยนมือถือของตัวเองหลังจาก 2 ปีไปแล้วมากที่สุด
คำถามคือทำไมผู้ใช้งาน Android ถึงเลือกที่จะเปลี่ยนสมาร์ตโฟนของตัวเองบ่อยกว่าฝั่งของ iOS กันล่ะ? หากในอดีต ปกติแล้ว iPhone จะมีการอัปเดต iOS ที่ยาวนานกว่าฝั่งผู้ผลิตสมาร์ตโฟนฝั่ง Android ที่มีการแจกแพบ่อยกว่า แต่นี่ก็ถือว่าเป็นอดีต อย่างช่วงหลังมานี้ Samsung เองก็มีการพัฒนาเรื่องการอัปเดตซอฟต์แวร์ให้ยาวนานขึ้นด้วยเหมือนกัน
CIRP ระบุว่า เนื่องจากตลาดสมาร์ตโฟน Android มีความหลากหลาย ผู้ผลิตหลายแบรนด์ และต่อปีก็มีการเปิดตัวหลายรุ่นหลายแบรนด์ ทำให้ผู้ใช้งานมีโอกาสที่จะเปลี่ยนเครื่องมากกว่า iPhone ที่เปิดตัวปีละครั้ง และครั้งเดียวหลาย ๆ โมเดล ซึ่งถือว่าเป็นข้อแตกต่างที่ชัดเจนมากทีเดียว
ที่มา Android Authority
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส