Nomophobia (No Mobile phone Phobia) หรือ โรคขาดมือถือไมได้ ที่กำลังขยายตัวในสังคมปัจจุบันนี้ โดยเราอาจป่วยเป็นโรคนี้โดยไม่ตั้งใจ จะรู้ตัวอีกทีก็อาจสายเกินไป
ทุกวันนี้ เรามักจะใช้เวลาบนหน้าจอสมาร์ทโฟนเกือบตลอดทั้งวัน ตั้งแต่เช้าถึงดึก ซึ่งเราอาจจะไม่รู้สึกอะไรกับจ้องมองหน้าจอเล็กๆนี้กว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน
นักวิจัยจาก City University of Hong Kong (CityU) ได้ทำการทดสอบเพื่อขุดลึกลงไปในปัญหาการเสพติดสมาร์ทโฟน (Smartphone Addiction) หรือ อาการวิตกกังวลเมื่อไม่มีโทรศัพท์มือถืออยู่ข้างตัว (Phone Separation Anxiety) ซึ่งพวกเขาได้ทราบเหตุผลสำคัญถึงความเครียดที่ไม่มีสมาร์ทโฟนอยู่ใกล้ตัวว่า “เป็นเพราะเรากลัวว่าจะรับสายสำคัญไม่ทัน”
แต่อย่างไรก็ดี นักวิจัยยังโต้เถียงถึงปัจจัยอื่นๆอีก
อีกเหตุผลหนึ่งที่มีความเป็นไปได้สูงก็คือ สมาร์ทโฟนถูกพัฒนาให้กลายเป็นศูนย์กลางการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม เช่น พฤติกรรมการถ่ายภาพหรือเซลฟี่ด้วยกล้องสมาร์ทโฟนเพื่อแชร์ใน Facebook หรือ Instagram เพื่อรอดูคนกดไลค์ หรือคอมเมนต์ เป็นต้น ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่า สมาร์ทโฟนเป็นเหมือนกับ “สมุดภาพชีวิตของเรา” ไปแล้ว
จากการศึกษาหลายครั้งได้แสดงให้เห็นว่า การโพสต์สิ่งที่เราทำลงในสื่อโซเชียลนั้น กำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา และอาจเปลี่ยนวิธีการที่เราจะจดจำเรื่องราวต่างๆ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลทำให้กลายเป็นนิสัยในการหยิบจับสมาร์ทโฟนทันทีที่มีสิ่งน่าสนใจเกิดขึ้น
ด็อกเตอร์ Ki Joon Kim จาก City University of Hong Kong (CityU) กล่าวถึงความกลัวที่ผู้ใช้จะยึดติดกับสมาร์ทโฟนมากขึ้นในอนาคต และหวังว่าผู้คนจะมีสติในการใช้สมาร์ทโฟนได้มากกว่านี้
ข้อมูลอ้างอิง : phonearena