คุณพิเชฏฐ เกตุรวม ผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนแห่งเวอร์ทีฟกล่าวว่าหลายประเทศมุ่งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์หรือ Net Zero มากขึ้นเรื่อย ๆ และประเทศไทยก็ได้ดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายไปบ้างแล้วดังนี้

ประเทศไทยมุ่งบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ให้ได้ภายใน 2608 โดยวางแผนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ลดลงเหลือร้อยละ 30 ก่อนปี 2573 ด้วยปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนในประเทศไทยร้อยละ 69 นั้นมาจากภาคส่วนพลังงาน ดังนั้นจึงกำลังมีการดำเนินการเพื่อเปลี่ยนจากการใช้แหล่งพลังงานที่ “ไม่สะอาด” มาเป็นการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนแทน เช่น แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ โดยมีกำหนดจะเลิกใช้โรงไฟฟ้าน้ำมันภายในสองปี ถัดมาจะยกเลิกใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินภายในปี 2583

นอกจากนี้ ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระยะยาวของประเทศยังเรียกร้องให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ รวมถึงวงการเทคโนโลยีด้วย อันครอบคลุมถึงการนำเทคโนโลยีประหยัดพลังงานมาใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ เช่น การขนส่ง แสงส่องสว่าง การทำความเย็น และการทำความร้อน เป็นต้น 

เมื่อถูกถามถึงเวอร์ทีฟและวิธีการที่บริษัทขับเคลื่อนการเติบโตของดาต้า เซ็นเตอร์ในปี 2566 รวมไปถึงแผนงานที่บริษัทกำลังจะทำต่อไปและแผนงานใหม่ในอุตสาหกรรม คุณพิเชฎฐได้ให้ความเห็นว่า “ดาต้า เซ็นเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัล เมื่อความต้องการใช้บริการดาต้า เซ็นเตอร์เพิ่มขึ้น ความต้องการโซลูชันที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน เวอร์ทีฟได้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เอื้อให้ผู้ประกอบการดาต้า เซ็นเตอร์สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน”

“เวอร์ทีฟให้บริการโซลูชันที่ครอบคลุมสำหรับการขับเคลื่อนการเติบโตของดาต้า เซ็นเตอร์โดยใช้การผสานรวมโมดูลและการออกแบบสำเร็จรูป ความสามารถในการติดตั้งซ้ำของโซลูชันจะช่วยลดเวลาการติดตั้งให้เหลือน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็เพิ่มความน่าเชื่อถือมากกว่าการผลิตแบบเดิม ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการหยุดชะงักและการสูญเสียประสิทธิภาพการทำงาน

“เมื่อพูดถึงความจุของดาต้า เซ็นเตอร์ การออกแบบจะเอื้อให้องค์กรปรับเปลี่ยนขนาดได้มากขึ้น อีกทั้งบรรดาธุรกิจสามารถขยายตัวได้เพราะสามารถปรับเปลี่ยนการออกแบบได้โดยสะดวก ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่เดิมหรือสถานที่ใหม่ เพราะใช้ระยะเวลาในการปรับใช้งานเท่าเดิมโดยไม่ลดความน่าเชื่อถือของทั้งดาต้า เซ็นเตอร์ที่ใช้อยู่ปัจจุบันและดาต้า เซ็นเตอร์ใหม่” 

“เทคโนโลยีของเวอร์ทีฟยังช่วยลดต้นทุนด้านการใช้พลังงาน ในขณะเดียวกันก็ปกป้องเทคโนโลยีที่สำคัญของดาต้า เซ็นเตอร์เพื่อให้ทำงานได้ตามที่วางแผนไว้เสมอ ผลลัพธ์ที่ได้คือความจุที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลง”

คำถามสืบเนื่องกับเวอร์ทีฟข้อถัดไปคือ “บริการและโซลูชันของเวอร์ทีฟช่วยให้บรรดาธุรกิจมีประสิทธิภาพและความยั่งยืนหรือไม่” คุณพิเชฎฐได้อธิบายเพิ่มเติมว่า “เวอร์ทีฟมีแนวคิดของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จากดาต้า เซ็นเตอร์ โดยใช้โซลูชันอันเปี่ยมด้วยนวัตกรรมที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีที่ช่วยเรื่องการประหยัดที่ลดปริมาณพลังงานและน้ำที่ใช้ทำความเย็นให้กับดาต้า เซ็นเตอร์ ดังนั้น จึงไม่ใช่แค่การสนับสนุนการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทั่วทั้งระบบเศรษฐกิจ แต่ยังส่งเสริมเรื่องการอนุรักษ์น้ำอีกด้วย นอกจากนี้ เวอร์ทีฟยังใช้แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนซึ่งมีอายุการใช้งานที่ดีกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรดที่ควบคุมด้วยวาลว์ จึงช่วยลดปริมาณขยะ

“นอกจากนี้ เวอร์ทีฟสนับสนุนหลายบริษัทที่อยู่นอกเหนือจากโครงสร้างพื้นฐานของเวอร์ทีฟ ผ่านการรวบรวม แบ่งปัน และส่งเสริมแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืนที่ดีที่สุด โดยเวอร์ทีฟได้เผยแพร่คู่มือการพัฒนาดาต้า เซ็นเตอร์อย่างยั่งยืน แหล่งข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับแนวปฏิบัติและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมก้าวหน้าไปสู่การดำเนินงานการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

คุณพิเชฎฐได้กล่าวเสริมว่า “นอกจากการช่วยให้บรรดาธุรกิจบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนแล้ว เวอร์ทีฟยังรับประกันว่ากระบวนการทางธุรกิจจะนำไปสู่เป้าหมายของความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ อันรวมถึงการจัดซื้อพลังงานหมุนเวียนสำหรับการดำเนินงานและการใช้ระบบที่นำน้ำทั้งหมดที่ใช้ในกระบวนการผลิตกลับมารีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่” 

ท้ายนี้ คุณพิเชฎฐได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับความท้าทายที่บรรดาธุรกิจไทยอาจจะต้องเจอไว้เป็นประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

“ตลาดโคโลเคชันของดาต้า เซ็นเตอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 16.5 ในอีก 5-7 ปีข้างหน้า เนื่องด้วยปริมาณการใช้ข้อมูลที่เพิ่มขึ้น บรรดาธุรกิจใช้จ่ายผ่านคลาวด์เพิ่มขึ้น ตลอดจนการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ด้วยมีการโลคัลไลซ์ดาต้า เซ็นเตอร์จำนวนมากในหลายประเทศ เช่น ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งประเทศทั้งหมดที่กล่าวมากำลังเผชิญกับแรงกดดันมหาศาลเมื่อต้องจัดการกับข้อมูลขาเข้าจำนวนมากและข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้นและการใช้พลังงานที่มากขึ้น หากไม่มีการรับมือกับประเด็นดังกล่าวที่ดีเพียงพอ ก็อาจเกิดปัญหาขึ้นได้ เพราะรัฐบาลก็พยายามขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน 

“ความท้าทายอีกประการคือสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทำความเย็นเพิ่มขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้พลังงานและน้ำในปริมาณมหาศาลอยู่แล้ว หากบรรดาธุรกิจตระหนักถึงความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน การลงทุนจำนวนมากอาจกลายเป็นเรื่องน่าหวั่นวิตกเช่นกัน” 

“ประการสุดท้าย การดำเนินงานดาต้า เซ็นเตอร์ที่มีความยั่งยืนและทันสมัยนั้นต้องการบุคลากรที่มีความชำนาญในระดับหนึ่ง น่าเสียดายที่ช่องว่างทางทักษะนั้นมีอยู่ทั่วโลก” 

“แต่กระนั้น ก็ยังพอมีมาตรการที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหาต่างๆ ได้ นั่นก็คือ การออกแบบที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดาต้า เซ็นเตอร์โมดูลาร์สำเร็จรูป สามารถลดการพึ่งพาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญได้ จากนั้นจึงมีการโยกย้ายเวิร์คโหลดที่เพิ่มขึ้นจากดาต้า เซ็นเตอร์ที่ออกแบบตามความต้องการใช้งานในองค์กรขนาดเล็กไปยังผู้ให้บริการระบบคลาวด์หรือโคโลเคชันขนาดใหญ่แทน นอกจากนี้ ซอฟต์แวร์การบริหารจัดการดาต้า เซ็นเตอร์ที่ชาญฉลาดมากขึ้น รวมถึงเครื่องมือการจัดการโครงสร้างพื้นฐานของดาต้า เซ็นเตอร์ที่ประมวลผลด้วย AI ยังสามารถบรรเทาปัญหานี้ได้ด้วยการทำระบบให้เป็นอัตโนมัติและการให้บุคลากรผู้มีทักษะสามารถบริหารจัดการความจุต่อหัวได้มากขึ้น

คุณพิเชฏฐได้กล่าวทิ้งท้ายในการสัมภาษณ์ไว้ว่า “อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าที่กล่าวมานี้ยังไม่ใช่เครื่องมือวิเศษ องค์กรต้องปิดช่องว่างด้านความสามารถของบุคลากรโดยส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายในที่ทำงานมากขึ้น และลงทุนในโครงการริเริ่มในระยะยาวเพื่อบ่มเพาะบุคลากรผู้เปี่ยมด้วยความสามารถให้เกิดขึ้นในอนาคต”