กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ได้จัดงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2558 โดยแถลงถึงผลการดำเนินงานการปราบปรามซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์พ.ศ. 2558/2559 ซึ่งจากหลังการดำเนินการจับกุมมาอย่างต่อเนื่อง อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ในไทยลดลงกว่า 10%
สำหรับข้อเสียของการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ทางบก.ปอศ. ให้ข้อมูลว่า
- การใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนจะทำให้มีโอกาสติดมัลแวร์มากขึ้น (พวกตัว Crack ต่างๆ ไง) ซึ่งอาจทำให้เกิดการจารกรรมข้อมูล การเรียกค่าไถ่ข้อมูล ทำให้เกิดความเสียหายกับธุรกิจ
- บริษัทและผู้บริหารเสื่อมเสียชื่อเสียง โดยเฉพาะบริษัทที่ทำธุรกิจในระดับโลก
- เสียค่าปรับ เสียเวลาเมื่อถูกจับกุม
จำนวนคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ที่มีการดำเนินคดีโดย บก.ปอศ.
ซึ่งการจากใช้ Social Network ทำให้ บก.ปอศ. สามารถเข้าถึงหน่วยงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้มากขึ้น โดยสามารถเข้าถึง SME ขนาดกลางและขนาดเล็กได้ จากเดิมที่เน้นหน่วยงานขนาดใหญ่
การตรวจค้นต้องมีหมายศาล ถ้าไม่มีแปลว่าเป็นการแอบอ้าง สามารถแจ้ง 191 เพื่อระงับได้
กระบวนการตรวจจับของบก.ปอศ. มีดังนี้
- บริษัทซอฟต์แวร์ที่เป็นเจ้าทุกข์ร้องเรียนเข้ามาก่อน
- บริษัทซอฟต์แวร์และตำรวจรวบรวมหลักฐาน (กระบวนการในส่วนนี้ไม่สามารถเปิดเผยได้ ว่าเจ้าของซอฟต์แวร์และตำรวจรวบรวมหลักฐานจนเชื่อได้ว่าจะละเมิดลิขสิทธิได้อย่างไร) เพื่อขอหมายศาล
- ตรวจค้นโดยมีหมายศาลเจ้าของบริษัทนำตรวจค้น ซึ่งในวันที่ตรวจจะมีเจ้าหน้าที่ไอทีจากบริษัทซอฟต์แวร์มาตรวจวัตถุพยานด้วย
- บันทึกข้อมูลทั้งหมดลง dvd เพื่อเป็นหลักฐานในการคำนวนค่าเสียหาย ซึ่งจะมีการตกลง จ่ายค่าเสียหาย หรือไกล่เกลี่ยกันในศาล
ที่ผ่านมาการตรวจค้น 95% พบว่าเจอซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มากที่สุดคือซอฟต์แวร์จาก Microsoft, Autodesk, Thai Software, Tekla ซึ่งจากการตรวจจับซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการละเมิดลิขสิทธิลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 80% จนในปี 2556 เหลือ 71%
โดยตอนนี้ประชาชนสามารถติดต่อก้บ บก.ปอศ. ได้ทั้ง www.stop.in.th , www.ecdpolice.com , facebook.com/ecdpoliceth นอกจากเรื่องลิขสิทธิแล้ว ถ้ามีปัญหาเรื่องการเงิน การธนาคาร ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตก็สามารถแจ้ง บก.ปอศ. ได้เช่นกัน