เบ็นคิว ประเทศไทย ชูจุดเด่น 2 โซลูชั่น ClassroomCare™ และ Blended Learning เพื่อการเรียนรู้แบบ Smart Education ที่ให้นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนไปพร้อมกัน ผ่านจอกระดานอัจฉริยะ หรือ Interactive Flat Panel (IFP) เป็นอุปกรณ์หลักในการเรียนและการสอน เหมาะสำหรับการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ เบ็นคิว ได้พัฒนาเทคโนโลยี EZWrite Cloud Whiteboard ที่มีประสิทธิภาพและเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนระหว่างคุณครูกับนักเรียน ที่ให้เขียนโต้ตอบกันได้ หรือสามารถแบ่งปันเนื้อหาต่อได้อย่างง่ายดายในรูปแบบของ QR-Code ตลอดจนเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ฝุ่น PM2.5, ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ และ Eye-care เทคโนโลยีปรับค่าความสว่างอัจฉริยะของหน้าจอ อีกทั้งมาพร้อมกับปากกาไวท์บอร์ด ที่ป้องกันเชื้อโรคและแบคทีเรียเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ใช้งาน
กลุ่มผลิตภัณฑ์ Interactive Flat Panel (IFP) หรือจอแสดงภาพแบบทัชสกรีน ของเบ็นคิว ในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ด้วยกลยุทธ์ที่เน้นตอบโจทย์เพื่อการเรียนแบบผสมผสาน โดยเจาะกลุ่มสถาบันการศึกษาทั้งรัฐบาลและเอกชน นายวัชรพงษ์ วงษ์มา รองผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ เปิดเผยว่า “ภาพรวมตลาดธุรกิจจอกระดานอัจฉริยะของเบ็นคิว เติบโตแบบก้าวกระโดด หากมองย้อนไปในช่วงเปิดตัวเมื่อปี 2017 เบ็นคิว มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 2.7% ในขณะที่ตลาดมียอดจำหน่าย 1,259 เครื่อง และในไตรมาตรที่ 3 ของปี 2021 เบ็นคิว ได้ทุบสถิติด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดสูงสุดที่ 26.76% และในตลาดมียอดจำหน่ายมากกว่า 3,200 เครื่อง ”
“ หลังใช้กลยุทธ์การสร้างความน่าสนใจให้กับแบรนด์ด้วยการเจาะกลุ่มโรงเรียนนานาชาติมากกว่า 35 โรงจากทั้งหมด 175 โรงทั่วประเทศ ในปี 2022 นี้ได้ตั้งเป้าไปที่โรงเรียนนานาชาติ 70 โรงจากทั้งหมด 175 โรงทั่วประเทศ คิดเป็นสัดส่วนที่ 40% โดยชูจุดแข็งของหน้าจอป้องกันแบคทีเรีย พร้อมใบรับรองจาก SIAA ซึ่งเป็น Global Safety Standard ที่โรงเรียนเอกชนและโรงเรียนนานาชาติส่วนใหญ่ให้การยอมรับและมั่นใจเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานดังกล่าว ในขณะเดียวกันได้วางแผนเจาะกลุ่มโรงเรียนภายใต้กระทรวงศึกษาธิการทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด, โรงเรียนที่อยู่ภายใต้การบริหารของ อบจ.หรือเทศบาล, โรงเรียนอาชีวะ, โรงเรียนสารพัดช่าง และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ควบคู่กันไป
ตามนโยบายภาครัฐที่เน้นการศึกษาที่ทันสมัย วางแนวทางการเรียนการสอนแบบ Smart City (สมาร์ตซิตี้) หรือเมืองอัจฉริยะ ซึ่ง เบ็นคิว มองว่า นิยามของนโยบายสมาร์ตซิตี้ต้องไม่ได้เป็นเพียงแค่อาคารอัจฉริยะ หรือโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะหรือที่ชาร์ตไฟรถยนต์ EV เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมถึง Smart Education, Smart Life, Smart People และ Smart Device ด้วย ซึ่งการเรียนการสอนผ่านจอ IFP ในห้องเรียนแห่งอนาคตนี้ หากสถานการณ์ช่วงหลังโควิด-19 ลดความรุนแรง การเรียนรู้ในชั้นเรียนลักษณะดังกล่าว ก็จะเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น เพราะคุณครูสามารถนำเสนอสื่อการเรียนได้อย่างไร้ขีดจำกัดไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาเองหรือซอฟต์แวร์ แบบสำเร็จรูปที่สามารถนำมาใช้สอนหนังสือเด็ก ๆ แทนการนำเสนอแบบ PowerPoint บนเครื่องฉายภาพโพรเจกเตอร์ ขณะเดียวกันหากนักเรียนจำเป็นต้องกลับเข้าไปเรียนที่บ้านอีกครั้งด้วยโรคระบาด
โรงเรียนสามารถให้คุณครูมาสอนที่ห้องเรียนตามปกติและให้นักเรียนเรียน Online ที่บ้านแบบ 100% เพราะบนตัวเครื่องมี Cloud Whiteboard ที่ให้ขีดเขียนโต้ตอบได้จากที่บ้านและโรงเรียนพร้อม ๆ กัน จอ IFP ยังสามารถบันทึกวิดีโอระหว่างการสอนแล้วเก็บไว้บนคลาวด์ เพื่อให้เด็กนักเรียนกลับมาทบทวนได้อีกครั้งในรูปแบบของภาพและเสียง หรือใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนสลับกันเข้ามาเรียนได้ หรือแบบ Blended Learning Solution 50:50 โดยนักเรียนที่นั่งเรียนในห้องสามารถเขียนตอบบนหน้าจอกระดาษอัจฉริยะและเพื่อน ๆ ที่นั่งเรียนที่บ้านสามารถเขียนโต้ตอบได้ด้วยเช่นเดียวกัน ”
“ อีกทั้งอาจารย์ผู้สอนสามารถเปิดโปรแกรมในการสอนแบบคู่หรือที่เรียกกันว่า Dual Windows ด้านหนึ่งของจอเปิด Cloud Whiteboard เพื่อวาดเขียน ส่วนอีกด้านหนึ่งของจอเป็น Web browser หรือ YouTube ได้เช่นกัน และด้วยซอฟต์แวร์ที่เป็นเอกลักษณ์สามารถรองรับการแชร์ Presentation, รูปภาพ หรือไฟล์ต่าง ๆ ได้ทั้ง iOS, Android, I-Pad, Chromebook, Notebook, Tablet, Smartphone, ระบบปฏิบัติการ Windows และทุก ๆ Platform ได้เช่นเดียวกัน หรือใช้ระบบ NFC Card โดยการอัปโหลดไฟล์งานไว้บน Cloud แล้วผูกบัญชีกับแผ่น NFC Card ก็สามารถดึงข้อมูลออกมานำเสนอได้ทันที เบ็นคิว มองว่าการใช้อุปกรณ์ IT ที่ไม่มีความสลับซับซ้อนมากมาย ใช้งานง่ายและมีความคงทน สามารถเชื่อมต่อได้กับทุกอุปกรณ์ เป็นสื่อในการสอนเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับนักเรียนในชั้นเรียนได้เช่นเดียวกัน และเชื่อว่าการใช้สื่อหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหล่านี้ จะกลายเป็นห้องเรียนแบบสมาร์ทซิตี้แห่งรอยยิ้มและห้องเรียนอารมณ์ดีอย่างแท้จริง ”
“ ในด้านของการบริการนั้น เบ็นคิว มีตัวแทนจำหน่ายครอบคลุมทั่วประเทศ โดยหากโรงเรียนใดมีความประสงค์จะขอทดลองใช้ผลิตภัณฑ์จอกระดานอัจฉริยะ หรือ Interactive Flat Panel สามารถติดต่อเข้ามาที่ เบ็นคิว ประเทศไทย (สำนักงานใหญ่) ได้ โดยทางเบ็นคิวจะนำจอ IFP ไปติดตั้งให้ทดลองใช้ 2 สัปดาห์ พร้อมมีเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการทางด้านผลิตภัณฑ์เข้าไปอบรมการใช้งาน และในส่วนของการบริการหลังการขาย มีตัวแทนประจำภูมิภาคที่มีเครื่องสำรองเพื่อนำไปเปลี่ยนให้ถึงโรงเรียนในกรณีที่เครื่องเกิดการขัดข้องหรือเสียหายในรูปแบบของการ Onsite Service ไม่เกิน 48 ชั่วโมง ” นายวัชรพงษ์ กล่าวเสริม
เปิดตัวจอ Interactive Flat Panel (IFP) รุ่นใหม่ RP02
จอกระดานอัจฉริยะ รุ่น RP02 ของเบ็นคิว พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของเทคโนโลยีและโซลูชั่นเซ็นเซอร์ที่ทรงคุณภาพ พร้อมห่วงใยในสุขภาพของผู้ใช้งานด้วยการนำโซลูชั่น ClassroomCare™ หน้าจอภาพจะถูกเคลือบด้วย Silver Nanoparticles (AgNP) ตามเอกสิทธิ์เฉพาะ เบ็นคิว เจ้าเดียวในท้องตลาด ผ่านกรรมวิธีการผลิตหน้าจอ โดยการนำสาร Silver Nanoparticles มาอบในความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 400 องศา หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับหน้าจอ ซึ่งจะได้หน้าจอที่ทนทานและช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่สะสมบนหน้าจอ ผนวกกับเทคโนโลยี Flicker-free screen ที่ช่วยลดการสั่นไหวของภาพ, เทคโนโลยี Blue Light Filter ลดแสงสีฟ้า, เทคโนโลยี Anti-reflection Glass Display ลดการสะท้อนของแสง ทำให้หน้าจอคงแสดงผลภาพและตัวหนังสือที่ชัดเจน
หน้าจอ IFP ของ เบ็นคิว สามารถสัมผัสได้พร้อมกันถึง 40 จุด ด้วยเทคโนโลยีสัมผัสแบบ infrared (IR+Touch) และมีการปรับปรุงการเขียนโต้ตอบแบบ 2 Ways ผ่านโปรแกรมซอฟต์แวร์ EZWrite Cloud Whiteboard ที่ให้ครูกับนักเรียนได้เรียนรู้แบบเรียลไทม์ ซอฟต์แวร์ EZWrite Version 6.0 ที่มาพร้อมกับปากกาคู่ ใช้วาด เขียน ลบ หรือ ไฮไลต์ได้ในเวลาเดียวกัน และรองรับการเขียนแบบพู่กัน (Brush Mode) สำหรับความพิเศษของปากกาไวท์บอร์ดในรุ่น RP02 เป็นแบบป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ลดอัตราเสี่ยงการแพร่เชื้อโรคเมื่อต้องจับหรือใช้งานร่วมกันหลายคน และหน้าจอ IFP ยังสามารถเปิดสื่อการเรียนการสอนไปพร้อมกันได้ทั้งไฟล์นามสกุล PDF, PPTX, Microsoft Word, .iwb และอื่น ๆ รวมถึงสามารถแบ่งปันข้อมูลระหว่างจอ IFP และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์, โน้ตบุ๊ก, สมาร์ตโฟน, และแท็บเล็ต
นายวัชรพงษ์ กล่าวปิดท้าย ว่า “ นอกจากนี้ เบ็นคิว ยังมีจุดแข็งในเรื่องของระบบการจัดการหลังบ้านเจ้าเดียว ที่สามารถจัดการได้ในระยะไกล ในส่วนของจอ IFP โดยทีมงานไอทีของแต่ละโรงเรียนสามารถควบคุมการสั่งปิดเครื่องออนไลน์ได้ผ่านระบบซอฟต์แวร์บนคลาวด์ หรือจะอัปเดตเฟิร์มแวร์ หรือลงแอปพลิเคชั่นออนไลน์ต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องเดินมาที่หน้าจอ หรือคุณครูสามารถดึงตารางการเรียนการสอนเชื่อมต่อกับ Smart Classroom, Google Classroom มาใช้งานได้โดยไม่ต้องผ่าน Google Workspace for Education ”