หลายคนคงได้ยินข่าวว่า Airbus A380 ตำนานของการบินไทยถูกจอดทิ้งไว้นานหลายปี แล้วสภาพยังดีอยู่ไหม? กลับมาบินได้หรือเปล่า? คลิปวันนี้ หนุ่ย-พงศ์สุข อาสาบุกไปตรวจสภาพเครื่องจริงถึงโรงจอด พร้อมซักทุกประเด็นที่หลายคนสงสัยกับคุณชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการบินไทย (DD การบินไทย) รวมถึงแนวทางแก้ปัญหาการแลกไมล์ที่แลกยากเหลือเกิน! ติดตามได้ในบทความนี้
ทำไมถึงได้ไปตรวจสภาพ A380 ?
เริ่มจากผมได้ฟังสัมภาษณ์คุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งช่วงนั้นเป็นเหตุการณ์สงครามระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่จะต้องไปรับคนไทยกลับมาเลยเกิดประเด็นที่ว่าทำไมไม่เอา A380 ไปรับเพราะสามารถจุคนได้มากถึง 500 ที่นั่งจะได้กลับง่ายหน่อย จากนั้นคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจเผยว่า A380 นั้นกู้คืนได้ยากมากเพราะต้องใช้เวลา ต้องหากัปตัน ผมฟังแล้วเลยได้ไปไถดูว่า A380 นั้นอยู่ไหนแล้วไปเจอว่าตอนนี้อยู่ที่สนามบินอู่ตะเภาซึ่งเป็นการจอดรอขาย
ปกติแล้วเขาจอดรอขายที่ทะเลทรายออสเตรเลีย เพราะอากาศที่แห้งจะทำให้สภาพของเก้าอี้เบาะอะไรต่าง ๆ ไม่กรอบ เราเดาว่าความร้อนชื้นของบ้านเรายิ่งไปจอดที่อู่ตะเภา เก้าอี้ เบาะต่าง ๆ ห้องโดยสารคงจะเละ นี่คือสิ่งเรากลัวกัน จึงเกิดความเป็นห่วงขึ้นมาในฐานะแฟนของ A380 ผมจึงได้โพสต์ลงบน Facebook ทำให้หลาย ๆ คนสนใจละเกิดข้อถกเถียงกันอย่างมากมาย จากนั้นการบินไทยได้โทรมาในระหว่างคุยสารกันผมได้ตั้งสติว่าจะทำยังไง จะตั้งรับเรื่องนี้ยังไง ผมจึงคิดไอเดียว่าอยากทำคอนเทนต์ตรวจสภาพ A380 จึงเกิดเป็นคอนเทนต์นี้ขึ้นมา
ทุกวันนี้ A380 ยังบินได้ไหม?
ยังบินไม่ได้ เพราะช่วงโควิด-19 A380 ต้องเข้า C Check เป็นการเช็กใหญ่พอซ่อมบำรุงเราไม่ได้มีการซ่อมบำรุง เป็นการนำไปจอดไว้แบบ Long term Presservation หรือการเก็บเครื่องบินระยะยาว ในการนำกลับมาบินอีกครั้งหรือที่เขาเรียกว่า Return To Service เราได้มีการประเมินแล้วในหนึ่งลำใช้เงินประมาณ 700-800 ล้านบาท นี่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ อีกนะ เพราะฉะนั้นต้องมีความมั่นใจว่าค่าใช้จ่ายจะไม่บานเหนือการคาดการณ์ไว้ตั้งแต่แรก
A380 ลำละเท่าไหร่?
ลำนี้ (ในคลิป) ซื้อมาประมาณ 200 ล้านเหรียญ สภาพแบบนี้ไม่เกิน 10 ล้านเหรียญ ถือว่ามูลค่าลดลงอย่างมหาศาล เพราะรุ่นนี้ตกรุ่นไปแล้ว
ทำไมถึงจอดที่อู่ตะเภา ไม่จอดที่ออสเตรเลีย?
เราต้องดูหลาย ๆ ปัจจัย การที่เครื่องบินไปจอดแต่ละที่นั้นไม่ได้จอดอยู่เฉย ๆ เพราะต้องไป Maintenance เลยต้องมีช่างไปกำกับดูแล ไม่อย่างนั้นคุณค่าคุณภาพก็จะลดทอนลงไปเรื่อย ๆ
มี Aircraft ที่ประกอบการไปแล้วบินเท่าไหร่ก็เจ๊ง ทำไม่ถึงไปซื้อมาบินเพื่อที่จะบินขาดทุนทุกวัน
เริ่มจากช่วงนั้นมีนโบายเรื่อง Diplomatic Routes (เส้นทางการทูต) กรุงเทพ-นิวยอร์ก-เจนิวา ซึ่ง นิวยอร์กและเจนิวา คือ Diplomatic ของทั่วโลกอยู่แล้ว ประกอบกับตอนนั้นออก Airbus A340 ออกมาซึ่งบินได้ไกลที่สุด ณ วันนั้นทุกคนแข่งด้วยความไกลของวิสัยบินของเครื่องบิน ทำให้ลำนี้ตอบโจทย์มากที่สุดเพราะไม่ต้องจอดแวะ ซึ่งการบินไกลต้องใช้น้ำมันมาก ถ้ามีความผันผวนของค่าน้ำมันเมื่อไหร่ A340 นั้นเจ๊งก่อนใคร อีกอย่างคือผู้โดยสารที่เดินทางจากประเทศไทยถ้าเทียบกับเพื่อนบ้านฐานของลูกค้าต่างกันเราไม่ใช่ศูนย์กลางทางการเงิน
ซึ่งต่างกับประเทศสิงคโปร์ เพราะฉะนั้นการเดินทางของเขาจะมีลักษณะ Business เยอะ แม้กระทั่ง Singpore Airline ก็ยังไปไม่รอดเพราะเขาก็มี A340 เหมือนกัน แต่เขาขายเร็ว ในวันนั้นเราก็อยากขายเช่นเดียวกันแต่ด้วยสถานภาพซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาของการบินไทยที่ในวันนั้นเป็นรัฐวิสาหกิจ ปัญหาคือมันจะมีมูลค่าของเครื่องบินอยู่ ตัวอย่างเช่นมีมูลค่า 100 บาท ขายวันนี้ 10 บาท ถ้าคนอนุมัติวันนั้นก็จะขาดทุน 90 บาท ก็จะมีปัญหาทันทีว่าทำไมคุณขายขาดทุนทำให้ไม่มีใครกล้าขาย
คุณผู้ชมสามารถรับชมได้เต็ม ๆ ตามด้านล่างนี้
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส