หนุ่ย พงศ์สุข บุกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) จับเข่าคุยกับนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เข้ารับตำแหน่งมากว่า 250 วัน เกี่ยวกับนโยบายที่ได้ขับเคลื่อนเพื่อประโยชน์ของประชาชน และประเด็นร้อนแรงเกี่ยวกับสาเหตุที่ภัยไซเบอร์ยังมีอยู่เต็มไปหมด รวมถึงเหตุผลที่ Microsoft ประกาศลงทุน Data Center ในประเทศไทยช้ากว่าเพื่อนบ้าน สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความนี้เลยครับ
เราจะคุยกับ Facebook ยังไง? เมื่อคนธรรมดาจะซื้อโฆษณา Facebook ต้องผ่านหลายมาตรการมากและส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยผ่านกัน แต่พอเป็นมิจฉาชีพกลับยิงได้ตลอด
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม : คือเราคุยกับ Facebook มาโดยตลอดแล้วนะครับ เราขอความร่วมมือให้ Facebook ใช้ AI ในการตรวจสอบและกวาดล้างโฆษณาที่ไม่เหมาะสม ขณะนี้ได้มีการทำงานร่วมกันแล้ว และก็สามารถปิดโฆษณาเหล่านี้ไปเยอะแล้ว แต่ยังมีบางส่วนที่ยังค้างอยู่ ดังนั้นมาตรการต่อไปที่ผมคิดว่าเราต้องคุยกับ Facebook และสื่อออนไลน์ประเภทนี้ คือเรื่องความรับผิดชอบ
หากเกิดความเสียหายจากโฆษณาเหล่านี้ Facebook อาจจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ตอนนี้ความเสียหายรวมจากทุกช่องทางอยู่ที่ประมาณ 53,000 ล้านบาท เรามีคณะทำงานที่ตั้งเป้าไว้ว่าภายในเดือนพฤษภาคม เราจะเรียกทุกเจ้าเข้ามาคุย นี่เป็นหนึ่งใน 10 มาตรการที่เรากำลังดำเนินการอยู่ในตอนนี้ครับ
นี่เป็นเพียงแค่เรื่องแรกนะครับ คือการยกระดับการปราบปรามให้เข้มข้นขึ้น พี่หนุ่ยจำได้ไหมครับว่านายกได้สั่งให้ผมทำภายใน 30 วัน ต้องจัดการเรื่องนี้โดยเฉพาะการปราบปรามคอนเทนต์ที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะเว็บพนัน ซึ่งในเดือนเมษายนที่ผ่านมาเราได้ยกระดับการปราบปรามให้เข้มข้นขึ้นถึงแม้ยอดเงินที่เสียหายต่อวันจะลดลง แต่จำนวนผู้เสียหายยังไม่ลดลง ซึ่งเป็นสิ่งที่เรากังวล โดยเฉพาะเรื่องการหลอกลวงให้ลงทุนในคอมพิวเตอร์และ cryptocurrency ที่ใช้คำสวยหรูมาหลอกลวง ความจริงแล้ว cryptocurrency ที่ดี ๆ ก็มี แต่ส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ในการหลอกลวงทำให้เกิดความเสียหาย มาตรการนี้เป็นหนึ่งในหลายมาตรการที่เรากำลังดำเนินการอยู่
มาตรการที่ 2 คือการปราบปรามเรื่องซิมและบัญชีม้า เราปิดทุกช่องทางที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมถึงเรื่องเสาสัญญาณด้วย ขณะนี้เราได้ทำงานร่วมกับกระทรวงกลาโหม, DSI, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ กสทช. ตอนนี้เรากำลังทำงานร่วมกับทางทหารเพื่อให้ความรู้บุคลากรในการสังเกตและดำเนินการในเรื่องนี้
นอกจากนี้ การซื้อของไม่ตรงปกก็เป็นปัญหาหลักที่พบเจอทุกวัน แม้ว่าความเสียหายไม่เยอะ แต่จำนวนคนที่ถูกหลอกกลับเยอะมาก ดังนั้นเราได้คุยกับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อขอให้เขาออกมาตรการเกี่ยวกับ COD (การชำระเงินปลายทาง) โดยชะลอการส่งเงินไว้ 5 วัน ซึ่ง สคบ. ได้คุยกันแล้วและคาดว่าจะออกระเบียบนี้ภายในเดือนพฤษภาคม
สุทธิเกียรติ วีระกิจพานิช ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม : อีกมุมหนึ่งที่เป็นปัญหาคือการยิงโฆษณา กลุ่มที่ทำการหลอกลวงเหล่านี้ฉลาดมากในการยิงโฆษณาตรงกลุ่มเป้าหมาย เช่น ถ้ามีใครสักคนเสิร์ชคำว่า “ลงทุน” ใน Facebook หรือที่อื่น ๆ จะเกิดการเชื่อมข้อมูล เมื่อเชื่อมข้อมูลเสร็จ โฆษณาที่หลอกลงทุนก็จะโผล่ขึ้นมาและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ปัจจุบันโจรมีวิธีการที่มากยิ่งขึ้น ทำทุกอย่างเป็นกระบวนการมากกว่าเดิม จากเดิมที่แค่ยิงโฆษณาชวนลงทุนธรรมดา ตอนนี้พวกเขายิงโฆษณาให้มาเรียนคอร์สต่าง ๆ ซึ่งทำให้ดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
สมมุติว่าเรียนเทรดหุ้น ทุกอย่างเหมือนจริงหมดเลยครับ โดยเอาคนที่มีความรู้จริง ๆ มาสอนในช่วงต้น ปัญหานี้จริง ๆ แล้วแก้ได้ด้วยการให้ทุกคนขึ้นทะเบียนทำ KYC (Know Your Customer) ยืนยันตัวตนก่อน อย่างน้อยเราจะได้รู้ว่าใครเป็นผู้ลงทะเบียน และสามารถหาเจ้าภาพที่รับผิดชอบได้ถ้าเกิดการหลอกลวงจริง ๆ เพราะปัจจุบันเมื่อเราเช็กข้อมูล เรามักไม่เจอต้นขั้วว่าผู้ทำความผิดคือใคร บางคนอาจอยู่ต่างประเทศ ทำให้การตรวจสอบยากขึ้น เราอาจต้องคุยกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยให้ทาง EDDA (หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ออกกฎเพื่อกำกับดูแลแพลตฟอร์มเหล่านี้ กำหนดว่าต้องมีการ KYC และการขึ้นทะเบียนก่อนถึงจะสามารถยิงโฆษณาได้ เพื่อให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น
ผมเชื่อว่าถ้าเราสามารถดำเนินมาตรการนี้ได้จริง ๆ จะทำให้สถิติการหลอกลวงลดลงไปพอสมควร เรื่อง Call Center เราก็พยายามปราบปรามอย่างเข้มข้น เริ่มจากการสืบหาว่ากลุ่มพวกนี้คือใคร ส่วนใหญ่พวกเขาจะอยู่ต่างประเทศ แต่เราก็ยังสามารถตามจับได้หลายราย แก๊ง Call Center จะมีเรื่องซิม, สายสัญญาณ, และบัญชีม้า เราทำงานหลายทางเพื่อจัดการปัญหานี้ เราให้ทางตำรวจจับตัวการโดยทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการรีเช็กข้อมูลหรือถามกลับ บางครั้งก็เกี่ยวกับเพจลงทุนหรือเว็บไซต์ปลอม ทางกระทรวงยินดีช่วยตรวจสอบและจัดการเรื่อง IP อีกประเด็นคือซิมที่โทรมาหาเรา ปัจจุบันเราทำงานร่วมกับ กสทช. ตามที่นายกเคยมีคำสั่ง ถ้ามีใครโทรเกิน 100 สายจะถูกปิด เราคุยกับ Operator มากขึ้นและสร้างเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อให้การปิดซิมตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
ทำยังไงเราถึงจะตามทันสิงคโปร์ที่อยู่ใกล้ ๆ เราในเรื่องของการเป็น TechHub
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม : สิ่งที่เราคาดหวังคือการเป็น Tech Hub ข้อได้เปรียบของไทยคือเรามี Green Energy หรือพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามีเหนือกว่าหลาย ๆ ประเทศ พื้นที่ของเราเยอะกว่า แดดดีกว่า และระบบโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ที่เราวางเอาไว้ก็มีความเข้มแข็งไม่แพ้ประเทศอื่น ๆ เพราะฉะนั้น การที่เราจะก้าวเข้าสู่ความเป็น Tech Hub ผมคิดว่าไม่ได้ไกลเกินฝัน
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกังวลไหม? เกี่ยวกับคุณ Satya Nadella CEO Microsoft มีการคุยเรื่องการตั้งศูนย์ Data Center ในไทย แต่ไม่ได้บอกงบประมาณในการลงทุน
สิ่งที่คุณ Satya Nadella พูดออกไปเนี่ยในฐานะที่เป็น CEO เบอร์ 1 ของ Microsoft เป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้อย่างน้อย ๆ ที่ถือว่าเป็นคำมั่นสัญญาที่เขาจะมาลงทุนในประเทศไทยเรื่อง Data Center อย่างแน่ ๆ แต่เหตุที่เขายังไม่ประกาศเรื่องของวงเงินลงทุนเนื่องจากว่าอินโดนีเซียก็ดี มาเลเซียก็ดี เขาได้มีการทำงานล่วงหน้ามาประมาณร่วม 2 ปีแล้ว แต่ในส่วนของไทยเองเพิ่งจะมีการคุยกันแบบเป็นทางการเป็นเรื่องเป็นราวเมื่อช่วงประมาณครึ่งปีหลังของ 2566 รัฐบาลเพิ่งตั้งใหม่ ๆ หลังจากตั้งเนี่ยทางกระทรวง de ได้ทำงานกับ Microsoft ไม่น้อยกว่า 2 ครั้งในระดับนโยบาย มีการทำ MOU ร่วมกันที่เมืองไทยเราก็ไปที่สหรัฐไปที่ออฟฟิศใหญ่เพื่อที่จะทำข้อตกลงกันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแล้วก็จนมาถึงวันนี้ เรามีปีนิด ๆ แต่ฉะนั้นแล้วผมถือว่าถามว่าช้ามั้ย ไม่ช้าและมีเม็ดเงินมาลงทุนแน่นอน
ซึ่งเราก็อยากส่งเสริมในเรื่องการให้เทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาลงทุน สิ่งหนึ่งที่เขาพูดถึงนอกจากเรื่องการลงทุนแล้วคือเรื่องการทำงานร่วมได้ในอนาคตคือเรื่อง Skill เรื่อง Training ต้องยอมรับว่าวันนี้เรามีความจำเป็นต้องเพิ่มทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล แม้กระทั่งเรื่องการ Import เอามาจากต่างประเทศด้วย วันนี้ไม่พอถ้าเราจะก้าวเข้าสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัลหรือว่าเอาคนไทยเรียนรู้ด้านพวกนี้เยอะ ๆ จะเร่งทำให้มีบุคลากรด้านนี้เยอะ ๆ วันนี้เรามี MOU ร่วมกับหลายบริษัท ตัวอย่างเช่น Microsoft นี้เป็นตัวอย่างนึงที่ได้คุยกันแล้วว่าเรื่องพัฒนาบุคลากรด้าน AI ประมาณ 100,000 คน อย่างเงี้ย เรามีอีกหลายบริษัทที่จะต้องทำสกิลเรื่องการเขียนโค้ดดิ้ง เรื่อง AI แล้วก็เรื่ององค์ความรู้ต่าง ๆ ที่จะต้องมีการทำหลายระดับด้วยกัน แต่ผมเรียนว่าที่เราได้ทำ MOU ไปแล้วก็จะมีทาง Huawei มีทาง Google Microsoft Big Tech ทั้งนั้น สิ่งเหล่านี้ เนี่ยหลังจากที่เราเซ็น Mou ไปแล้วนะก็จะมีการพัฒนาคณะทำงานที่ทำงานร่วมกันอยู่ตอนนี้ครับ
สามารถรับชมสัมภาษณ์เต็ม ๆ ได้ที่ ลิ้งก์ด้านล่างนี้