เมื่อวันเสาร์ 31 ที่ผ่านมาแบไต๋เปิด Sessions หัวข้อ สูตร(ไม่)ลับ การเป็นเจ้าของกิจการระดับโลก ร่วมพูดคุยกับ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) แบไต๋ขอสรุปสิ่งที่น่าสนใจมาให้ได้อ่านกัน ไปดูกันเลย
ต้องบอกว่าในประเทศเพื่อนบ้านแถวภูมิภาคนี้ทุกคนใช้สินค้าของไทย ใช้บริการไทยและดูทีวีไทย สิ่งเหล่านี้ไม่ต้องเริ่มต้นไปไกลแค่เมียนมา กัมพูชา เวียดนาม และสปป.ลาว พวกเราทุกคนที่เป็น SMEs หรือสตาร์ทอัปมีอยู่ประมาณ 3 ล้านคนที่ลงทะเบียน นอกทะเบียนอีกกว่า 2 ล้าน 7 แสน รวม ๆ กันทั้งหมด 6 ล้าน คนแย่งลูกค้า 67 ล้านราย พอเกิดโควิด-19 ลูกค้า 67 ล้านรายที่ล้มหายตายจากในเรื่องของการเงินมากถึง 30-40% เพราะฉะนั้นเราอยู่ในประเทศนี้ไม่ได้ เรือเล็กควรออกจากฝั่ง เพราะฉะนั้นมันถึงเวลาที่เราต้องเริ่มสร้างตัวตน สร้างแบรนด์ของตัวเอง เริ่มต้นจากเวที Regional ก่อนแล้วเราก็จะได้รู้ว่าเราสามารถทำการขายเพื่อสร้างอนาคดของตัวเองของครอบครัวและของธุรกิจได้มันอยู่ที่ว่าเราจะเริ่มต้นอย่างไร
EXIM BANK เป็นธนาคารที่มีสาขาอยู่ใน 4 ประเทศ (เมียนมา กัมพูชา เวียดนามและสปป.ลาว) หน้าที่ของ EXIM BANK คือการทำ Business Matching นอกเหนือจากการให้วงเงินใน SMEs ตัวเล็ก ๆ ยังหาคู่ค้าให้ในประเทศนั้น ๆ นอกจากให้สินเชื่อคนขายก็ยังตามไปให้สินเชื่อคนซื้ออีกด้วย เป็นเพราะหนึ่งในเรื่องเครื่องมือของรัฐบาลคือธนาคาร EXIM BANK ทุก ๆ ประเทศจะมีธนาคาร EXIM BANK ของตัวเอง อาวุธที่เขาใช้เมื่อก่อนนี้คือธนาคาร EXIM BANK ของประเทศญี่ปุ่นที่วิ่งมาให้สินเชื่อรัฐบาลไทยที่ชื่อว่า JBIC รัฐบาลไทยมีหน้าที่เอาสินเชื่อไปซื้อสินค้าของประเทศญี่ปุ่นเพื่อมา Utilize ในประเทศไทย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมา 50 ปีแล้ว เพราะฉะนั้น Buyer’s Credit เราวิ่งเข้าไปหา Peter ถ้า Peter อยากซื้อสินค้าคนไทย แล้วถ้า Peter เทล่ะ? ใครจะไปตามสินค้า คำตอบก็คือมาเอาเงินที่ EXIM BANK
สภาพเศรษฐกิจทั่วโลก (โดยภาพรวม) เป็นอย่างไร?
เมื่อปีที่แล้วถ้าเรายังจำกันได้ต่างประเทศทรุดประเทศเรายังทรง แต่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเขาฟื้นเรียบร้อยแล้ว อัตราการฟื้นทั่วโลกใกล้ ๆ จะ 6% แล้วในบางประเทศก็เลย 6% ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนไทยเราก็อยู่ในช่วง 1-2% ในมุมที่เศรษฐกิจโลกฟื้นเราจะฉวยโอกาสในการขายสินค้าซึ่งค่าเงินบาทกำลังอ่อนต้องบอกว่ามันคือจังหวะในการขายของ ประเด็นคือคุณพร้อมที่จะขายหรือเปล่า ถ้าไม่พร้อมขายในวันที่เขามีเงินด้วยแล้วสินค้าคุณถูกกว่าคู่แข่งด้วย ยิ่งทำให้ประตูบานนี้มันปิดในไม่ช้า เพราะฉะนั้นคนที่เป็นคู่แข่งประเทศไทยมีเยอะมาก
แต่ในขณะเดียวกันตลาดโลกก็ยังต้องการสินค้าไทยและบริการไทย เพราะเขามีความเชื่อในคุณภาพและอัตลักษณ์ของคนไทย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อยากจะเน้นว่าทำอย่างไรพวกเราถึงจะสามารถ Migrate ตัวตนออกไปอยู่ในเวทีโลกได้ มันอาจจะเริ่มต้นในเรื่องของการหาข้อมูล รู้ว่าการค้าขายในเวทีโลกติดกระดุมเม็ดแรกคืออะไร เงินสดทุกวันนี้คือพระราชาสามารถทำได้ทุกอย่าง ใช้เงินกู้จากสินค้าและอัตลักษณ์รวมถึงสัญญาการซื้อขาย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราเรียกว่าพรแสวง ต้องรู้ว่าประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของเราเขาต้องการอะไร ที่ถูกจารีตและถูกกฎหมาย
ประเทศที่ “พร้อมเปย์” ได้เปรียบ และรักษาบาดแผลได้เร็วกว่า เริ่มที่ประเทศใกล้ ๆ อินเดียเขายังมีกำลังซื้อมากถึง 9.5% อย่างประเทศจีิน 8.1% เขายังดีอยู่ อย่างสปป.ลาว 4% เวียดนาม 7% อินโดนีเซีย 4% ออสเตรเลียที่ล็อกดาวน์ 5.5% ทั้งหมดทั้งมวลเป็นตลาดที่ต้องการสินค้าไทยเป็นลำดับต้น ๆ อยู่แล้ว เราควรเริ่มต้นทำการค้าจากประเทศที่ไม่ได้ไกลมากนัก สิ่งที่เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จทุกประเทศที่ได้พูดถึงมีทีมไทยแลนด์มีสถานทูตไทยอยู่ ยกตัวอย่างเช่น เมียนมา กัมพูชา เวียดนาม และสปป.ลาว
ภาคการผลิตและภาคบริการ ทั้ง 2 ส่วนมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน อย่าง Media Agency ของไทยคืออันดับหนึ่งในเมียนมา สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนไทยบางครั้งเราอาจจะไม่ทราบว่าคนไทยเป็นทีมที่หลาย ๆ ประเทศโดยเฉพาะใน เมียนมา กัมพูชา เวียดนามและลาว เชื่อมือและมองว่าพวกเราเป็นของพรีเมียมเกรด เป็นของที่มีคุณภาพสูงเป็นของที่มีราคาโดดเด่นและในขณะเดียวกันมีความคุ้มค่าคุ้มราคา ถ้าเรามองมุมใหม่ประเทศไทยมีธุรกิจที่แย่งส่วนแบ่งการตลาดกันมากอยู่แล้ว หากเราลองข้ามฝั่งโขงไปนิดเดียวเราก็ไม่ต้องแย่งกันแล้วเพราะคุณภาพของคนไทยในต่างประเทศเป็นที่ต้องการ
สินค้าและบริการใดบ้างที่มีโอกาสเติบโตในตลาดโลก ณ ตอนนี้?
- สินค้า-บริการที่มีโอกาสเติบโตในตลาดโลก
- ตลาดที่ COVID-19 ยังระบาด
- ผลิตภัณฑ์รักษาความสะอาด-ดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในแถบยุโรปกำลังมาแรง
- อาหารสำเร็จรูป-ขนม อาหารที่ทำมาจากผักก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน อย่างตัว Veggie Burger คนไทยเป็นผู้ผลิตเราต้องหาอัตลักษณ์ของตัวเองให้ได้
- อุปกรณ์สำหรับ WFH และกิจกรรมภายในบ้าน
- ตลาดที่ COVID-19 คลี่คลายแล้ว
- สินค้า Lifestyle (เสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องประดับ)
- วัตถุดิบ อาหาร
- ชุดกีฬา สินค้าเกี่ยวกับการเดินทาง-ท่องเที่ยว
- ยานยนต์และชิ้นส่วน
- สินค้า-บริการที่สอดคล้องกับ New Normal/Megatrend ของโลก
- EV, Fulfillment
- ตลาดที่ COVID-19 ยังระบาด
ปัจจัยใดบ้างที่จะทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จในตลาดโลก?
- เรียนรู้ให้ไวแล้วต้องศึกษาให้เยอะ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายคืออะไร สิ่งไหนที่เขาน่าจะชอบ ศึกษาการทำตลาดให้มาก ๆ สินค้าดีแต่ไม่มีการตลาดก็ไม่ต่างจากการขายสินค้าบนภูเขา
- เรียนรู้จากคนที่เป็นแชมเปี้ยน เรียนรู้ที่จะฟังเขาถ่ายทอด มันเป็นสังคมที่ต้องพึ่งพาและพึ่งพิง Partner ท้องถิ่น
- ธุรกิจที่ขาดการยอมรับการเปลี่ยนแปลง ตามกระแสไม่ทันก็ต้องออกจากตลาดในที่สุด
หลายประเทศฟื้นตัวและอยู่ร่วมกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ดี กำลังซื้อจึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นี่คือโอกาสของผู้ประกอบการในการก้าวสู่ตลาดโลกหรือไม่ อย่างไร?
- “นาทีทอง” ในการก้าวสู่ตลาดโลก จากแรงผลักภายใน+แรงดึงดูดจากภายนอก
- “ฝนตกทั่วฟ้า” ตลาดส่งออกกว่า 90% ขยายตัวยกแผง
- “ลมใต้ปีก” เงินบาทที่อ่อนค่าเข้ามาช่วยผู้ส่งออกอีกแรงหนึ่ง
พูดคุยกับแขกรับเชิญพิเศษ
มีปัจจัยใดบ้างที่ควรพิจารณาก่อนพาสินค้าไปสู่ตลาดโลก?
ตลาดในไทยหดตัวเนื่องจากช่องทางออฟไลน์ค่อนข้างกระทบหนักมาก แต่ช่องทางออนไลน์เติบโต ในช่วงโควิดปีที่แล้วเดินหน้าเต็มที่เรื่องทำการตลาดออนไลน์ต่างประเทศ อย่างที่ทำก่อนโควิดคือปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา จดเป้าหมายประเทศที่เราจะไป ตัวออนไลน์เราทำไปพร้อมกับวิธีทำการตลาดแบบใหม่ ซึ่งสมัยก่อนจะไปขยายดีลเลอร์ท้องถิ่นว่ามีตัวตนมีเงิน ความพร้อมด้านสินค้า ความพร้อมด้านตลาด และความพร้อมด้านการเงิน
ความเสี่ยงในการทำธุรกิจในตลาดโลกเป็นอย่างไร เจอปัญหาอะไร และแก้ไขอย่างไร?
เราเริ่มส่งออกตั้งแต่ 5-6 ปีที่แล้วสำหรับตลาดต่างประเทศแล้วที่จะไปก็ได้ทำค้นคว้าหาข้อมูลตัวใหญ่ ๆ แบบเราในต่างประเทศเขาเป็นอย่างไร ดูญี่ปุ่น เกาหลี และอเมริกา แบรนด์ของเรามีสินค้ามาก ยกตัวอย่างญี่ปุ่นเขาเกิดมาก่อนเรา 20-30 ปี สินค้าเขามีประมาณ 1 แสน SKU พอกลับมามองเรามีแค่ 100-200 SKU ที่ active มีประมาณ 1 ใน 4-5 เท่านั้น ถ้าเกิดว่าเราจะโตแบบเขาที่ว่าซึ่งตอนนี้เขาอยู่ในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวมีมูลค่าทางการตลาด 150,000 ล้านเยน คิดเป็นเงินไทยประมาณ 5 หมื่นล้านบาทเราก็มองโมเดลแบบเขา เพราะเขาใช้การส่งออกมาเป็นกลไกเพิ่มยอดขาย ทีนี้พอเราพยายามดันสินค้าเข้าไปมาก ๆ มันเริ่มจะยากแล้ว สุดท้ายเราก็มาเคาะใกล้บ้านก่อนคือ เมียนมา กัมพูชา เวียดนามและสปป.ลาว เพราะเขาต้อนรับเราที่สุดแล้ว
เราทำธุรกิจร่วมกับเมียนมา 50 ปี ร่วมกับองค์การอุตสาหกรรมเมียนมา เราดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ ต้นน้ำแน่นอนว่ารัฐบาลเมียนมาเป็นคนบริหารจัดการแต่เราทำการแปรรูป ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เรามีตลาดที่เป็น 3 ขาคือมีตลาดที่ส่งออกไป ยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย ขาที่ 2 คืองานโปรเจกต์ที่เราทำให้กับ Property Developer ในเมืองไทยของทั้งตึกสูงและแนวราบ ขาที่ 3 เป็นตลาดที่เราทำแบรนด์ Wooden ซึ่งเรามองว่าการมี 3 ขานี้ก็น่าจะแข็งแรงแล้วสำหรับภาวะโควิดรอบนี้กับสถานการณ์การเมืองในเมียนมาในตอนนี้ทำให้บริษัทมีปัญหาระดับนึง เพราะตลาดส่งออกปีที่แล้ว ยุโรป อเมริกา ตลาดหลักได้รับผลกระทบหนักมาก พอเข้าไตรมาส 4 ตลาดเขาเริ่มกลับมากำลังซื้อกลับมาเห็นได้ชัดเจน
ได้ประโยชน์อะไรจาก EXIM BANK ในการมองตลาดต่างประเทศ?
ในอีกบทบาทหนึ่งผมเป็น รองนายกสมาคมธุรกิจไทยในเมียนมา ช่วงที่เมียนมาเปิดประเทศเมื่อ 11 ปีที่แล้วเราก็เห็นโอกาสในเมียนมาสูงมากเพราะประชากรเขามีมากถึง 55 ล้านคนแล้วเป็นประเทศมีเสรีภาพในการเติบโตสูง ที่สำคัญที่สุดคนเมียนมาชอบสินค้าไทย จากที่ผมได้ไปเมื่อ 6 ปีที่แล้วคนเมียนมาชอบแบรนด์ไทยให้ความเชื่อถือก็เลยเป็นโอกาสของเราในการทำงานร่วมกับ Partner เมืองไทยในการไปบุกตลาดในเมียนมา ซึ่งมี EXIM BANK เข้าไปก่อตั้งในเมียนมาด้วย
ทีมไทยแลนด์เป็นทีมที่มีความแข็งแกร่งมากรวมกับสมาคมนักธุรกิจไทยซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2540 มีเครือข่ายธุรกิจที่อยู่ในเมียนมาเป็นฐานที่เติบโตมานานทำให้เรามีโอกาสดึงนักลงทุนเข้าไปแล้วเปิดตลาดในเมียนมาค่อนข้างเยอะ การที่เรามี EXIM BANK อยู่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการมาก เพราะผู้ประกอบการสามารถที่จะใช้ช่องทางนี้ในการที่จะหาข้อมูลหาคู่ค้าที่ดีหาโอกาสเพราะว่าทั้ง EXIM BANK เองหรือว่าทางสำนักงานพาณิชย์ของกระทรวงพาณิชย์เป็นเหมือนกับ Salesman ของประเทศไทยที่อยู่ตรงนั้นอยู่แล้วที่รู้จักบริษัทคู่ค้าเป็นอย่างดี พอเข้าไปทำงานร่วมกับหอการค้าของไทยของเมียนมาด้วยกันยิ่งทำให้เครือข่ายเน็ตเวิร์กกว้างขึ้นด้วย
ทำให้เรารู้ว่ามันโอกาสนะแต่ต้องรู้จักระวังความเสี่ยง
- ความเสี่ยงจากผู้ซื้อในต่างประเทศ
- อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน
- ความเสี่ยงทางการเมือง
- การขนส่งสินค้าล่าช้า
ความเสี่ยงเหล่านี้ สามารถป้องกันได้อย่างไร?
อันดับแรกเลยคือเราต้องรู้จักกระจายความเสี่ยง ที่คนถามเยอะว่าเราควรจะมีธนาคารกี่ธนาคาร คุณจะต้องมีธนาคารหลัก 1 ธนาคาร แล้วก็มีธนาคารที่ทำหน้าที่เติมออกซิเจนอีก 1 และธนาคารทางเลือกอีก 1 เพราะเราต้องการกระจายความเสี่ยง
อันดับสองสินเชื่อ และ Transformation Loan เอาวงเงินตรงนี้ไปเปลี่ยนธุรกิจ เพราะทุกคนชอบทำธุรกิจลักษณะคล้าย ๆ กันไม่มีอัตลักษณ์ตรงนี้ ปัญหาคือธุรกิจไหนดี คนก็แห่ไปทำกันหมด เพราะกลุ่มเป้าหมายเท่าเดิม แต่ผู้ประกอบการนายทุนเพิ่มขึ้น
ข้อควรรู้ ควรระวังอะไรบ้าง เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
- รู้กฎหมาย ค้าขายไม่สะดุด การปฏิบัติตาม กฎหมายช่วยให้การค้าราบรื่น
- รู้จักใช้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบ
- รู้เท่าทันกลโกงทางการค้า ลดความเสี่ยงการไม่ได้รับชำระเงิน
ช่วงคำถามจากผู้ฟัง
ในภาคของอุตสาหกรรม Logistic จะมีการฟื้นตัวได้อย่างไร?
อุตสาหกรรมพาณิชย์นาวีเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยเกิดกันมาเกือบ 30 ปีแล้ว Logistic Industry ของไทยไม่เคยแพ้ใคร แต่วันนี้มันมีการระบาดของโควิดเป็นวิกฤติที่ส่งผลกันทั้งโลก สิ่งเหล่านี้มันใกล้จะกลับมาเป็นปกติ แต่มันก็มี Soft Loan ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คืนชีพกลับมาได้ อาจจะต้องรออีกสักระยะ
Software Development ถือเป็นสิ่งที่จะใช้เงินกู้ Transformation Loan ได้ไหม?
ในกลุ่มของสตาร์ทอัปมีวงเงินอยู่ที่ 5,000,000 บาทมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 5% เพราะในตัวดิจิทัลคอนเทนต์มีความเสี่ยงกับการให้บริการอยู่ค่อนข้างเยอะ อยากให้เริ่มต้นที่จุดเล็ก ๆ แล้วค่อยไปต่อกับความสิ่งที่หวังไว้ วงเงินตั้งต้น 5,000,000 บาทน่าจะตอบโจทย์ได้
EXIM BANK ผนึกกำลัง Team Thailand พาธุรกิจไทยรุกตลาดโลก โดยมี Team Thailand ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการขยายธุรกิจไปต่างประเทศได้อย่างครบทุกมิติ เหมือนที่ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จมาแล้ว
ช่วงเช้า ของวันที่ 5 สิงหาคม นี้ ดร.รักษ์ มีคิวบรรยายในงานสัมมนาออนไลน์ เรื่อง Leading Well Virtual Conference ? ใครสนใจเรื่องนี้ ก็ตามไปฟังกันได้เลยนะครับ วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม นี้ เริ่ม 9 โมงเช้า ผ่าน Zoom Platform ฟรีด้วยนะครับ ไปดูรายละเอียดการจัดงานและวิธีการลงทะเบียน ที่ Facebook Page : EXIM BANK OF Thailand นะครับ
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส