รีวิวเครื่องฟอกอากาศ Xiaomi Air Purifier 3H “ของมันต้องมีที่สุดในเวลานี้”
Our score
8.8

Xiaomi Air Purifier 3H

จุดเด่น

  1. ประสิทธิภาพโดยรวมถือว่าดี
  2. มีไส้กรองให้เลือกหลายแบบตามสถานการณ์
  3. ไร้เสียงรบกวนหากไม่เปิดเครื่องแรง
  4. ราคาเป็นมิตรต่อกระเป๋าตัง

จุดสังเกต

  1. วัสดุดูบอบบางไปหน่อย
  2. การสั่งการผ่านแอปยังมีหน่วง
  • ประสิทธิภาพในการกรอง

    9.0

  • ความเร็วในการกรอง

    9.0

  • ความเงียบในการกรอง

    9.0

  • คุณภาพวัสดุ

    7.5

  • ความคุ้มค่า

    9.5

หลาย ๆ คนคงทราบสถานการณ์ฝุ่นในตอนนี้ดีว่าอยู่ในระดับที่ส่งผลต่อสุขภาพปอดและร่างกายของเราได้อย่างไม่ต้องสงสัยแล้ว นอกจากจะทำร้ายสุขภาพกายแล้ว ยังส่งผลให้จิตตกได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น สิ่งที่จำเป็นที่สุดในเวลานี้คงหนีไม่พ้น “เครื่องฟอกอากาศ” ซึ่งวันนี้เราจะมารีวิวเครื่องฟอกอากาศที่ชื่อคุ้นหูมากในเวลานี้คือ Xiaomi Air Purifier 3H ที่ตอนนี้ของขาดตลาด หาซื้อยากมากมายเลยทีเดียวครับ

สเปกและคุณสมบัติ

มาดูที่สเปกของ Xiaomi Air Purifier 3H กันก่อน

  • หน้าจอสัมผัส OLED เฉพาะบริเวณด้านล่างของหน้าจอ
  • สามารถอ่านค่า PM 2.5 ได้แบบ Real-time
  • ใช้ฟิลเตอร์กรองอากาศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจาก EPA Class 12 เป็น HEPA Class 13 (True HEPA) กรองอนุภาคขนาดเล็ก 0.3 ไมครอนได้ถึง 99.97%
  • อัตราการผลิตอากาศบริสุทธิ์ถึง 380 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง (CADR)
  • ครอบคลุมพื้นที่ได้ถึง 45 ตารางเมตร
  • เสียงการทำงานสูงสุด 33-64 เดซิเบล
  • ควบคุมการทำงานผ่านแอป Mi Home ใช้งานได้ทั้งบน iOS และ Android รองรับการทำงานร่วมกับ Google Assistant และ Amazon Alexa
  • รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi 802.11 b/g/n 2.4GHz
  • ขนาดตัวเครื่อง 240 x 240 x 520 มิลลิเมตร น้ำหนัก 4.8 กิโลกรัม (รวมไส้กรอง)

สำหรับรีวิวนี้เป็นการใช้งานร่วมกับ Mi Home บน iOS นะครับ สำหรับใครที่สั่งออนไลน์มาแล้วไม่เจอปลั๊ก (เจอคนบ่นเยอะอยู่) ตัวปลั๊กจะอยู่ด้านหลังที่กรองนะครับ เปิดออกมาแล้วจะเจอเลย

เมื่อเสียบปลั๊กแล้วเครื่องจะทำงานทันทีโดยจะมีการแจ้งประสิทธิภาพของ Filter หรือไส้กรองที่เหลืออยู่ ซึ่งในการใช้งานแจ้งให้ทราบว่า เราสามารถใช้งานโดยไม่ต้องต่อมือถือก็ได้ แต่ในการต่อมือถือเราจะสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

หน้าจอ

หน้าจอของ Mi Air Purifier 3H จะแสดงค่า PM 2.5 (ไม่ใช่ค่า AQI นะครับ ต้องซื้อที่วัดแยกมาอีกที) อุณหภูมิ ความชื้นในห้อง สัญญาณ Wi-Fi และโหมดที่กำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้น (ยังไม่ได้ดึงสติกเกอร์ที่แปะหน้าจอออกครับ)

air purifier 3h

ส่วนด้านหลังของเครื่องจะมีปุ่มสำหรับปรับความสว่างของหน้าจอ และเซนเซอร์สำหรับวัดฝุ่นในอากาศ ส่วนด้านล่างของเครื่องเป็นที่เปลี่ยนไส้กรอง (ปลั๊กอยู่ในนี้แหละ)

air purifier 3h

เครื่องนี้เปิดใช้มาสักระยะแล้ว เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับรีวิว ไส้กรองจะมีฝุ่นบ้างตามปกติ

ใช้งานแบบไม่ต่อมือถือ

ในการใช้งานแบบไม่ต่อมือถือ จะสามารถควบคุมการทำงานได้ผ่านหน้าจอ OLED ของตัวเครื่อง บริเวณปุ่มด้านล่างจะมีให้สัมผัสเผื่อเปลี่ยนโหมดต่าง ๆ โดยมีทั้งหมด 4 โหมด ได้แก่

  1. โหมดอัตโนมัติ คือเครื่องวิเคราะห์เอง ทำงานเองตามใจฉัน
  2. โหมดกลางคืน
  3. โหมดพัดลมความแรงระดับ 1, 2 และ 3
  4. โหมดรายการโปรด ในโหมดนี้เราสามารถเลือกปรับค่าความแรงได้ (แต่ต้องทำผ่านแอป) ถ้าไม่ได้ตั้งค่ามา โหมดนี้จะเปิดความแรงของพัดลมสูงสุด เรียกว่าโหมดช่วยชีวิตละกัน

ใช้งานแบบต่อมือถือ

อย่างที่แจ้งว่า Xiaomi Air Purifier 3H สามารถทำงานโดยเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนได้ทั้ง iOS และ Android (กดดาวน์โหลดได้ตามรุ่นที่ใช้) โดยการเชื่อมต่อนั้นไม่ยุ่งยาก เพียงแค่เปิดเครื่องฟอกอากาศเอาไว้ เปิด Wi-Fi, เปิดแอป Mi Home ขึ้นมา (ต้องสมัครสมาชิก) จากนั้นแอปจะทำการค้นหาอุปกรณ์ เราก็เลือก Xiaomi Air Purifier 3H ครับ

ในขั้นตอนการเชื่อมต่อจำเป็นต้องใช้ Wi-Fi เป็นตัวกลางสั่งงาน Xiaomi Air Purifier 3H ซึ่งเราสามารถแชร์อินเทอร์เน็ตจากมือถือและแท็บเล็ตได้ (ที่ทดสอบคือใช้ iPhone X และ iPad Pro 2018) แต่เนื่องจาก Xiaomi Air Purifier 3H ไม่รองรับ Siri ก็ไม่สามารถใช้งานสั่งงานด้วยเสียงได้ครับ (จบข่าว)

เปิดแอป Mi Home เพื่อเริ่มการเชื่อมต่ออุปกรณ์ โดยกด Add device จากนั้นแอปจะค้นหาอุปกรณ์แบบอัตโนมัติ เราแค่เลือกรุ่นให้ตรง

จากนั้นแอปจะพาเข้าสู่หน้าการเชื่อมต่อ โดยเราจะต้องกดปุ่มเซนเซอร์ด้านหน้า และกดปุ่มด้านหลังเครื่อง (ปุ่มปรับแสง) พร้อมกันจนเครื่องมีสัญญาณเตือน แสดงว่าเครื่องกำลังเข้าสู่โหมดค้นหา Wi-Fi เราก็เชื่อมต่อตามปกติ

เมื่อเชื่อมต่อเสร็จแล้วจะเข้าสู่หน้าจอหลักของ Xiaomi Air Purifier 3H โดยตัวแอปจะแสดงค่า PM 2.5 และโหมดการใช้งานอื่น ๆ ตามภาพด้านล่างนี้

ภาพซ้าย: ตัวแอปจะมีการแจ้งค่าฝุ่นแบบ Real-time, อุณหภูมิห้อง และค่าความชื้น (อ่าน ค่า PM 2.5 เท่าไหร่ถึงดีที่สุด)

ภาพขวา: จะเป็นระบบการใช้งาน โดยเราสามารถตั้งค่าเองได้จากอุปกรณ์โดยไม่ต้องไปสัมผัสที่จอ OLED ทำได้ตั้งแต่การตั้งค่าความแรงพัดลม ตรวจสอบสภาพไส้กรอง (มีประสิทธิภาพเหลือเท่าไหร่ ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่) ตั้งเวลาเปิดปิดเครื่อง ปรับการแจ้งเตือน ปรับแสงที่หน้าจอได้ด้วย

การใช้งานในชีวิตประจำวัน

ส่วนตัวผู้เขียนเป็นพนักงานเงินเดือน อาศัยอยู่ในโซนเมือง ค่าฝุ่นไม่ต้องสงสัย เยอะเลยจ้า โดยเฉลี่ยแล้วเวลาเข้าห้องมาจะอยู่ที่ราว 45-55 (ออกจากห้อง ปิดทุกอย่างมิดชิด) โดยตัวห้องมีขนาด 30 ตารางเมตร เมื่อเข้าห้องมาแล้วจะเปิดโหมดหัวใจหรือโหมดช่วยชีวิตเอาไว้ พบว่าค่า PM 2.5 จากประมาณ 4x ลดลงมาเหลือ 9-10 ภายในระยะเวลา 10 นาทีเท่านั้น (อ่าน ค่า PM 2.5 เท่าไหร่ถึงดีที่สุด) อาการที่เกิดจากฝุ่นเช่น คัดจมูก หรือแสบคอค่อย ๆ หายไป รวมถึงอากาศภายในห้องเบา โล่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้ปกติเวลากวาดพื้น ประมาณ ครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมงไปแล้วฝุ่นจะเริ่มมาใหม่ พอมี Xiaomi ฝุ่นที่กลับมาใหม่รู้สึกน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

ที่ดีงามคือตัวเครื่องทำงานเงียบมาก โดยไม่ต้องเปิดโหมดนอน แค่โหมดอัตโนมัติก็เงียบสุด ๆ แล้ว นอกจากนี้ Xiaomi ยังมีไส้กรองหลายแบบให้เลือก ได้แก่

  • ไส้กรองสีดำ หรือ True HEPA ที่ติดมากับตัวเครื่อง
  • ไส้กรองสีม่วงหรือ Anti-Bacteria เป็นไส้กรองที่เพิ่มความสามารถในการฆ่าแบกทีเรียที่ลอยอยู่ในอากาศได้
  • ไส้กรองสีเขียว Anti-Formaldehyde เพิ่มการป้องกันกลิ่นฉุนที่ทำให้เกิดการแสบในโพรงจมูก ป้องกันการเกิดมะเร็งปอด โดยสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) เป็นสารอันตรายที่มักแอบแฝงในสีงานพิมพ์และการสกรีนพลาสติก

ถามว่า คุ้มไหม?

โดยส่วนตัวผู้เขียนไม่ได้มีปัญหาด้านสุขภาพอะไร เพียงแต่ช่วงนี้เจอวิกฤต PM 2.5 เลยอยากจะหาทางป้องกันเสียหน่อย เพราะฉะนั้น สเปกที่ต้องการหลัก ๆ คือสามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ สามารถหาซื้อไส้กรองมาเปลี่ยนได้ง่าย ไม่ได้ต้องการกรองแบกทีเรีย ไวรัส หรือสารแปลก ๆ มากมาย จึงรู้สึกว่า Xiaomi Air Purifier 3H ตอบโจทย์ความต้องการได้ในราคาที่ไม่แพงมาก

ในส่วนของราคานั้นมีหลายช่วงราคามาก ถ้าราคากลางของ Xiaomi วางจำหน่ายอยู่ที่ 5,990 บาท แต่บน Lazada, Shopee หรือ JD อาจจะถูกกว่า อย่างผู้เขียนได้จาก Official Xiaomi ใน JD มาเพียง 4,690 บาทเท่านั้น (ก็ถือว่าคุ้มกระเป๋า ได้เครื่องศูนย์ไทยด้วย) ความคุ้มจึงอยู่ที่ของที่เราต้องการซื้อนั้นตอบโจทย์เราหรือไม่เท่านั้นเองครับ

เปรียบเทียบ 3H vs 2S

 

 

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส