Our score
8.8ASUS TUF Gaming FX505DT
จุดเด่น
- สเปกคุ้มค่ากับราคา!
- ระบบระบายความร้อนดีและเข้าใจการถนอมหูของเกมเมอร์
- ์พอร์ตให้มาครบถ้วนกับการเล่นเกมดี
- ดีไซน์ถูกใจวัยรุ่น!
จุดสังเกต
- คีย์บอร์ดต้องกดแรงสักนิด
- ลำโพงไม่ได้มีลูกเล่นของเสียงสักเท่าไหร่
- แบตเตอรี่อยู่ได้ไม่นาน (เหตุผลก็เพราะฮาร์ดแวร์นั่นแหล่ะ)
-
สเปกเครื่อง
8.0
-
การออกแบบ
8.0
-
การระบายความร้อน
9.5
-
ความคุ้มค่าต่อราคา
9.5
ไม่เพียงแต่ที่ทาง ASUS จะมีแบรนด์เกมมิ่งโน้ตบุ๊กที่แยกออกมาและประสบความสำเร็จในชื่อของ ROG (Republic of Gamers) หากแต่พวกเขายังมีอีกหนึ่งไลน์ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจไม่แพ้กันอย่าง ASUS TUF Gaming อันเด่นชัดด้านความทนทานของตัวเครื่องและสเปกที่เหมาะสมแก่การเล่นเกมซึ่งในรุ่นล่าสุดอย่าง “FX505DT” นี้ ก็ยังคงอัดแน่นไปด้วยจุดยืนของไลน์ผลิตภัณฑ์เช่นเดิมเพิ่มเติมคือนำเข้ามาของฮาร์ดแวร์ที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น เราลองมาดูกันคร่าว ๆ ในสไตล์ Hands-On กันดีกว่าครับ ว่าเกมมิ่งโน้ตบุ๊กราคาปฎิวัติวงการเพียง 26,990 บาทนี้ มีอะไรน่าสนใจให้พูดถึงกันบ้าง
สเปกของเครื่องพอดีและดีพอแก่การเล่นเกม
ROG TUF Gaming FX505DT (สเปกอีกเวอร์ชั่นหนึ่ง จะมีรุ่นใช้ Ryzen 5 ที่ถูกกว่านี้) – 26,990 บาท
- CPU: AMD Ryzen 7 3750H
- การ์ดจอ: Nvidia GeForce GTX 1650
- 512GB SSD
- หน้าจอ: 15.6 นิ้ว FHD แบบ IPS รีเฟรชเรต 120Hz
- RAM: 8GB
- Windows 10
เป็นอะไรที่แน่นอนเลยว่าปัจจัยหลักที่หลายคนมองในเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก คือ สเปกหรือความแรงของฮาร์ดแวร์ ซึ่ง ASUS TUF Gaming FX505DT ก็ตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ในระดับที่น่าพึงพอใจและน่าประหลาดใจใช้ได้ เพราะตัวเครื่องได้ประสานพลังฮาร์ดแวร์หลักจากทั้งสองแบรนด์ระดับโลกเข้าด้วยกัน โดย CPU นั้น เป็นของ “AMD Ryzen 7 3750H” ซีรีส์ชิปประมวลผลบนเฉพาะเครื่องโน้ตบุ๊กของค่ายแดงที่แรงกระโดดมาจากรุ่นก่อนหน้าอย่าง AMD Ryzen 7 3700U ถึง 30% โดยประมาณ และการ์ดจอจากทางค่ายเขียวอย่าง “Nvidia GeForce GTX 1650” ซีรีส์ของการ์ดประมวลผลด้านกราฟิกที่ใช้สถาปัตใหม่เป็น Turing ที่จะเด่นชัดด้านการทำงานแบบ CUDA (การ์ดจอช่วยประมวลผล CPU)
ในขณะเดียวกันฮาร์ดแวร์ตัวอื่นในเครื่องก็เยี่ยมใช้ได้ ไล่ตั้งแต่ Ram ที่ให้มา 8GB DDR4 2666MHz (แต่สามารถหามาติดตั้งแทนได้สูงสุดถึง 32GB), SSD NVME PCle 512GB, หน้าจอมีค่ารีเฟรชเรตอยู่ที่ 120Hz (รองรับเฟรมเรตสูงสุดที่ 120 เฟรม/วินาที) ความละเอียดจอภาพเป็น FullHD ขนาด 15.6 นิ้ว, การเชื่อมต่อมาตรฐาน Wi-Fi AC (เร็วกว่า Wi-Fi N 3 เท่า) ฯลฯ
ทั้งหมดทั้งมวลพอประมวลผลออกมาในรูปแบบการทำงานจริงแล้ว บอกเลยครับว่า “สบายบรื๋อ” หากเล่นเกมแห่งยุค ที่มีกราฟิกอลังการรีดเข้นพลังฮาร์ดแวร์อย่างจัดหนัดจัดเต็มทั้งหลาย PUBG, Resident Evil 2, Cities: Skyline (โมเดลสิ่งปลูกสร้างเยอะมาก), Batman: Arkham Knight ฯลฯ แต่กระนั้นสำหรับบางเกมก็ไม่สามารถดันขึ้นในระดับอัลตร้าได้
ตัดสลับกลับมาที่ฟากของการทำงานในรูปแบบโปรดักชั่นกันบ้าง (ตัดต่อ เอฟเฟกต์ โมชั่นบนวิดีโอ, แต่งภาพ ดราฟต์ภาพ ฯลฯ) แน่นอนว่าสเปกดังกล่าวในแง่ของการทำงานประเภทนี้จะใช้ฮาร์ดแวร์หรือความต้องการที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งก็จะได้ผลลัพธ์ออกมาน่าไว้วางใจด้านความราบรื่นในขณะที่ทำงานอยู่ ซึ่งผนวกเข้ากับพื้นที่เก็บข้อมูลประเภท SSD มันก็จะยิ่งทำให้การเซฟ แปลง และเอ็กพอร์ตไฟล์รวดเร็วขึ้น
ผลการ Benchmark หลากหลายโปรแกรม
ดีไซน์เครื่องและการออกแบบเพื่อใช้งาน
ว่ากันด้วยดีไซน์ภายนอกของเครื่อง ASUS TUF Gaming FX505DT ผู้เขียนว่าก็มีความสวยงามและเหมาะสมกับการเป็นเกมมิ่งโน้ตบุ๊กประมาณหนึ่ง เริ่มกันที่มุมรอบด้านต่าง ๆ ของเครื่องที่มีความเป็นเหลี่ยมเป็นสัน หน้าจอฝาพับที่มีเส้นขีดทั้งสี่มุมที่หากมองพร้อมกันทุกมุมเราก็จะได้ออกมาเป็นเครื่องหมายกากบาทที่เท่ใช้ได้เลย ส่วนบริเวณท้ายเครื่อง (ฐานเครื่อง) ก็จัดช่องดูดลมเย็นที่เยอะและยิบย่อยเพื่อช่วยในการระบายอากาศที่เรียกว่า HyperCool “ซึ่งก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นของซีรีส์นี้” และน้ำหนักตัวเครื่องที่ 2.2 กิโลกรัมที่หากวัดจากความเป็นโน้ตบุ๊กเกมมิ่งที่ใช้ฮาร์ดแวร์ตัวบักเอ๊ก ก็ถือว่ามีน้ำหนักที่เบากว่าหลายรุ่นแล้วนะ
ทางด้านพอร์ตนั้นก็ถือว่าให้มาเฉพาะกับที่จำเป็นกับการเล่นเกมโดยถ่องแท้ ทั้งช่องเสียสายแลนที่ไว้กันเหนียวในกรณีที่สัญญาณรูปแบบ Wi-Fi ไม่เสถียร (แต่ผู้เขียนว่า Wi-Fi AC ที่เครื่องนี้ให้มาก็กันเหนียวได้มากพอแล้วนะ), HDMI ต่อจอใหญ่เล่นแบบมันส์ ๆ สะใจ, USB 2.01, USB 3.0 จำนวน 2 ช่องและรูเสียบหูฟังมาตรฐานอย่างแจ๊ค 3.5 มิลลิเมตรที่เจ๋งขึ้นมาหน่อยก็ตรงที่รองรับเทคโนโลยีเสียง DTS Headphone: X จำลองเสียงรอบทิศทางแบบ 7.1
“ระบบระบายความร้อน” พระเอกของ ASUS TUF Gaming FX505DT
เป็นเรื่องที่หลายแบรนด์พยายามต่อสู้เพื่อความร่มเย็น (ของเครื่อง) มาอย่างยาวนานจนสำเร็จกันไปหลายเจ้า ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มี ASUS TUF Gaming FX505DT ก็อย่างที่เกริ่นไปบนหัวข้อนี้นั่นแหล่ะครับว่าเจ้าเครื่องนี้มีหนึ่งในเรื่องชูโรงเป็นระบบระบายความร้อนที่ใช้เทคโนโลยี Hypercool ที่นอกเหนือจากระบายความร้อนของฮาร์ดแวร์ออก อีกหนึ่งสิ่งที่ทำผนวกกันไปคือการปัดเป่าฝุ่นอันเป็นสาเหตุให้ฮาร์แวร์ภายในเกิดความล่าช้าหากถูกสะสมอย่างต่อเนื่อง ที่ผู้ใช้งานก็ยังสามารถเลือกระดับความแรงในการไล่ความร้อนออกได้ 3 ระดับ (Silent ไล่แบบชิว ด้วยเสียงเงียบ ๆ สงัดหู, Balanced ไล่ในระดับสมดุลทั้งความแรงและเสียงของพัดลม ปดท้ายด้วย Turbo ที่จะปัดเป่าทุกความร้อนออกจากฮาร์ดแวร์ได้แบบโคตะระโหดแต่ก็แลกมาซึ่งเสียงการทำงานราวกับดูดฝุ่น)
และจากการทดสอบผ่านเกม PUBG ที่ปรับกราฟิกไว้สุดที่อัลตร้าและเล่นเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมง ASUS ก็ได้เคลมผลสรุปออกมาว่าอุณหภูมิของการ์ดจออยู่ที่ 70 องศาฯ และซีพียูประมวลผลอยู่ที่ 87 องศาฯ เท่านั้น
คีย์บอร์ด RGB
เอาเข้าจริง ๆ นี่อาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจสักเท่าไหร่กับเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก แต่หากวัดจากราคาที่ทางเอซุสบอกว่าจะว้าวจนรู้สึกเป็นการปฎิวัติวงการเกมมิ่งโน้ตบุ๊กแล้ว ASUS TUF Gaming FX505DT ก็ถือว่าเป็นไลน์อัปผลิตภัณฑ์ที่ยังใจปล้ำใส่ลูกเล่นเพื่อความเป็นเกมเมอร์นี้มาให้นะ ซึ่งโดยคร่าวคีย์บอร์ดที่มาพร้อมชุดไฟนี้จะสามารถปรับเปลี่ยนสีได้ ประมาณ 16.7 ล้านสี (ผู้เขียนไม่ได้ลองครบทุกสี แต่เท่าที่ทำดูสีแปลก ๆ ก็ปรับได้นะ)
นอกจากนี้ คีย์บอร์ดของตัวเครื่องยังมีสัมผัสการกดที่ใกล้เคียงคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป (DESKTOP-INSPIRED) ที่ทาง ASUS เคลมว่าสามารถกดใช้งานได้ 20 ล้านครั้ง (ชาตินี้จะหมดไหม…) เอาเป็นว่ามากันที่ความรู้สึกตอนใช้จริงกันบ้าง เอาตรง ๆ คือติดนิ้วพิมพ์มันส์ดี แต่ความแรงในการกดต้องลึกหน่อยเพราะถ้ากดแบบผ่าน ๆ มันจะติดยากไปนิด
ภาพรวมโดยคร่าว ๆ ผู้เขียนว่าก็เป็นเกมมิ่งโน้ตบุ๊กที่มีสเปกเหมาะสมตามยุคของการเล่นเกมใช้ได้ในระดับหนึ่ง, มีระบบระบายความร้อนที่ดีเยี่ยมและเข้าใจความไม่เสนาะหูของผู้ใช้, มีคีย์บอร์ด RGB ที่แสงสีและลูกเล่นการกระพริบไฟจัดเต็ม (แต่เรื่องสัมผัสการกดอันนี้อาจจะแล้วแต่คนชอบอีกที) ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลเมื่อเทียบกับราคา 26,990 บาทก็ถือว่าเป็นความคุ้มค่าที่น่าซื้ออยู่นะ