Our score
9.0Mad Games Tycoon
จุดเด่น
- เกมเพลย์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ ออกแบบมาได้ดีมากๆ
- มีการปรับแต่งที่หลากหลาย
- ตัวเกมถูกแบบมาให้เล่นได้ง่าย ไม่ซับซ้อนแต่ก็ยังมีรายละเอียดเยอะมากเช่นกัน
- ราคาสมเหตุสมผล ไม่แพงจนเกินไป
จุดสังเกต
- ตัวเกมดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า
- หลังจากเล่นจนจบแล้ว มีกำไรเป็นพันๆล้าน ก็ไม่รู้แถบจะไม่มีอะไรให้ทำอีกต่อไป เกมก็จะวนลูบเดิมๆ
- เป็นเกมที่ต้องใช้เวลาเล่นเยอะมาก อาจจะโดนสูบเวลาก็เป็นได้
-
กราฟิก
6.0
-
เกมเพลย์
10.0
-
ความแปลกใหม่
9.0
-
ความคุ้มค่า
10.0
-
สรุปโดยรวม
10.0
“Merry Christmas ท่านผู้อ่านทุกๆ คนด้วยครับ ต้องบอกก่อนว่าบทความนี้เป็นบทความที่ผมดองเอาไว้ค่อนข้างนานมากๆ ตั้งแต่จบงาน TGSBIG 2016 และหลังจากผมได้เขียนบทความเกม Medal of Honor เสร็จไปหมาดๆ ทำให้ผมนึกขึ้นได้ว่ามีงานที่ค้างไว้ และต้องทำให้เสร็จ ประจวบเหมาะพอดีที่ช่วงนี้เป็นช่วงวันคริสต์มาสเทศกาลวันหยุด และเปรียบเสมือนเทศกาลลดราคาเกมสำหรับเกมเมอร์ทุกๆ คน เพื่อนๆ ผมได้ถามผมว่าช่วงนี้มีเกมอะไรที่น่าเล่น หรือน่าชื้อมาบ้างไหม กระนั้นจะบอกให้ไปเคลียร์เกมเก่าๆให้จบ ก็อาจจะเป็นเรื่องดี แต่ผมกลับนึกขึ้นได้ว่า Mad Game Tycoon เองก็เป็นอีกหนึ่งเกมที่ทำออกมาได้ดี เหมาะสำหรับการเล่นฆ่าเวลา และที่สำคัญเกมนี้ก็เป็นของขวัญวันคริสต์มาสที่ดีมากๆ ชิ้นนึงอีกด้วย“
Mad Game Tycoon เป็นเกมแนว Business Simulation หรือ Economic Simulation โดยที่เกมเหล่านี้มักจจะมีชื่อต่อท้ายหรือขึ้นต้นด้วยคำว่า “Tycoon” เสมอ จริงๆต้องบอกเลยครับว่าเกมแนว Tycoon นั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักในบ้านเรา แต่ในต่างประเทศนั้นเกมแนวนี้ได้รับความนิยมสูงมาก ยกตัวอย่างเช่น Railroad Tycoon , Roller Coaster Tycoon, Theme Hospital หลายๆคนที่ไม่เคยเล่นเกมแนวนี้เลย อาจจะกลัวว่าจะเบื่อ ไม่สนุก แต่หลายๆคนที่ได้ลองเล่นแล้วร้อยทั้งร้อยกลับรู้สึกสนุก และกลายเป็นแฟนเกมแนวนี้ไปเลยก็มีเช่นกันครับ
และเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ค่าย Kairosoft ได้เปิดตัวเกมมือถือที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้สร้างและบริหารบริษัทเกม ในชื่อ Game Dev Story ออกมา ตัวเกมได้รับความนิยมสูงมาก แต่น่าเสียดายที่เกมนั้นลงให้แค่มือถือ iOS, Andriod เท่านั้น ในปี 2013 ค่าย Greenheart Games ก็ได้เปิดตัวเกม Tycoon เกมใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเกม Game Dev Story ในชื่อ “Game Dev Tycoon” ตัวเกมนั้นมีรูปแบบการเล่นที่เหมือนกับ Game Dev Story ทุกอย่าง แต่ด้วยการที่เกมนี้ลงให้กับ PC จึงทำให้ตัวเกมมีการบริหารจัดการที่เชิงลึกมากกว่าเกมในมือถือ อีกทั้งยังรองรับการ Mod และตัวเกมยังมีระดับความยาก ที่พอดี ไม่ยากจนเกินไปอีกด้วย
Mad Games Tycoon เองก็เป็นอีกหนึ่งเกม Economic Simulation ที่จำลองการบริหารธุรกิจบริษัทพัฒนา Video Game โดยตัวเกมจะเปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้สร้างบริษัทเกมของตัวเองขึ้นมา โดยเริ่มต้นจากตัวผู้เล่นเองคนเดียวที่อาศัยอยู่ในโรงรถเก่าๆ ได้สร้างเกมออกวางขายในตลาดจนได้รับความนิยมในระดับหนึ่ง จากนั้นก็หาเช่าชื้อโกดังถูกๆ ปรับแต่งห้อง จัดหาชื้ออุปกรณ์ จ้างพนักงาน และก่อตั้งบริษัทของตัวเองขึ้นมา โดยในเกมนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้เล่นเป็นทั้งผู้บริหาร ผู้พัฒนาเกม และ ผู้จัดจำหน่ายเกม ในเวลาเดียวกัน จนถึงขั้นกลายเป็นผู้ให้บริการเกมออนไลน์ หรือ ผู้พัฒนาและจัดจำหน่ายเครื่องเกมคอนโซลของตัวเอง ดูๆ แล้วตัวเกมก็ไม่ต่างอะไรกับ Game Dev Story , Game Dev Tycoon มากนัก แต่ใน Mad Game Tycoon นั้นตัวเกมได้นำเอาระบบจุดเด่นของทั้งสองเกมออกมา และปรับใหม่ให้เข้ากับความต้องการของเกมเมอร์ยุคนี้ มาพร้อมกับระบบบ สร้างปรับแต่ง บริษัทของตัวเอง ทำให้มันเป็นเกม Tycoon บริหารจัดการบริษัทเกมที่ดีที่สุด ณ เวลานี้ไปแล้วครับ
ตัวเกมจะให้ผู้เล่นเริ่มต้นจากศูนย์ หลังจากสร้างตัวละคร เลือกค่าความถนัดเสร็จแล้ว ผู้เล่นจะต้องก่อตั้งบริษัทเกมของตัวเอง พร้อมกับตั้งชื่อบริษัท และตัวเกมจะส่งคุณไปอยู่ที่โรงรถเก่าๆ พร้อมกับคอมพิวเตอร์เก่าๆ 1 เครื่อง เรื่องราวจะเริ่มขึ้นในปี 1980 ผู้จะเล่นจะต้องสร้างเกมออกวางจำหน่ายสู่ตลาด สร้างกำไร จ้างพนักงาน และเช่าชื้อตึกใหม่ๆ เพื่อรองรับพื้นที่ในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดยในขณะดำเนินเรื่องตัวเกมอาจจะมี Event พิเศษเกิดขึ้นมาตามๆ กันในแต่ละปี เช่นเหตุการณ์ Video Game Crash ที่จะทำให้ยอดขายเกมของบริษัทร่วงจนไม่น่าเชื่อ หรือเหตุการณ์ Smash Hit ของเกมประเภทต่างๆ ที่จะทำให้เกมประเภทนั้นๆขายดีมากยิ่งขึ้นในช่วงนั้น ของปีนั้น ในทุกๆต้นปี จะมีงาน Mad Game Convention เพื่อเปิดโอกาสให้เราได้นำเกมใหม่ๆ หรือเกมที่กำลังพัฒนา รวมไปถึงเครื่องคอนโซล ไปออกบูธจัดงาน เพื่อหาแฟนๆใหม่ และเพิ่มยอดขายให้กับบริษัท และในช่วงท้ายปี ก็จะมีงาน Mad Game Awards โดยจะเป็นงานประกาศให้รางวัลเกมที่ยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ และแน่นอน Game of the Year ประจำปีนั้นๆ หากเราทำได้ ก็ได้จะแฟนๆมากยิ่งขึ้น และยอดขายของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นอีกด้วย
มีเครื่องเกมจริงๆ ปรากฎในเกมด้วย (แต่เป็นชื่ออื่น)
แน่นอนว่าด้วยการที่เรื่องราวในเกมเริ่มต้นขึ้นในปี 1980 ในขณะนั้นวงการเกมยังไม่มีเครื่องคอนโซลอะไรเลยนอกจาก Computer PC เราก็จะทำได้แค่พัฒนาเกมลงเครื่อง PC ในระบบ DOS เท่านั้น มาพร้อมกับกราฟฟิค สุดแสนจะคลาสสิค และเมื่อเวลาผ่านมาเรื่อยๆ เราก็จะได้เห็นการพัฒนาขึ้นในวงการเกม ไม่ว่าจะเป็นการมาของเครื่อง “Katari 2600” ไปอย่าง “Mintendu MES” หรือ “Siga Mega Drive” และแน่นอน “Pony Gamestation” ในระหว่างดำเนินเรื่อง ตัวเกมจะค่อยๆ ปลดล็อค Feature การใช้งานต่างๆ มาให้ผู้เล่น หลังจากนั้นผู้เล่นจะต้องสร้างทีม Research และค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาสร้าง Game Engine และนำเอาไปสร้างเกมอีกที ในขณะเดียวกัน ผู้เล่นสามารถขาย Game Engine ของตัวเองได้ อีกทั้งยังกำหนดเปอร์เซ็นต์ ที่ผู้พัฒนารายอื่นจะต้องจ่ายให้กับเราจากกำไรทั้งหมดที่เขาขายได้อีกด้วย แน่นอนครับว่าตัวเราเองก็สามารถไปชื้อ Game Engine ของผู้พัฒนารายอื่นมาได้เช่นกัน และเราก็ต้องจ่ายให้กับผู้พัฒนารายนั้นๆ ด้วยเปอร์เซ็นต์ที่เขากำหนดเอาไว้ เท่านั้นยังไม่พอ ตัวเกมยังมาพร้อมกับระบบ Copyright Protection ที่ถ้าหากผู้เล่นไม่เอาใจใส่ตรงจุดนี้ละก็ เกมขายไม่ออกมาแล้วอย่าหาว่าไม่เตือนล่ะครับ
ระบบลิขสิทธิ์ในตัวเกม
นอกจากนี้ตัวเกมก็มีระบบลิขสิทธิ์ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้ชื้อลิขสิทธิ์ภาพยนต์ดังในช่วงนั้น มาสร้างเป็นเกมเพื่อเพิ่มยอดขายได้ หรือจะไปรับจ้างทำงานเสริมจากบริษัทนอกต่างๆ เมื่อไม่มีงบพัฒนาเกม ก็ยังสามารถทำได้ รวมไปถึงการสร้างเครื่องเกม Console ของตัวเองก็ย่อมได้เช่นกัน อีกสิ่งหนึ่งที่ผมค่อนข้างชอบเกมนี้ และมองว่ามันแตกต่างจากเกมอื่นๆ ก็คือเราสามารถจัดจำหน่ายตัวเกมเอง แทนที่จะไปให้ผู้จัดจำหน่ายรายอื่นๆจัดจำหน่ายให้ได้ครับ
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อผมพัฒนาเกมๆ นึงเสร็จ แทนที่ผมจะส่งตัวเกมไปให้ผู้จัดจำหน่ายภายนอกจัดการ ผมกลับสร้างเครื่องผลิต พร้อมกับโกดังเก็บสิ้นค้า และออกแบบ Packet กล่องเกมแทน สั่งไลน์การผลิตเอง และส่งออกให้ลูกค้าทั่วโลกแทน ผลที่ได้คือถ้าหากผมจัดการดีๆ สั่งผลิตกล่องเกมออกมาในจำนวนที่ตลาดต้องการ ผมก็จะได้กำไรเยอะตามที่ควรจะเป็น แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เมื่อเกมที่ผมพัฒนาออกมาได้ไม่ดี แต่ผมดันไปผลิตกล่องเกมเป็นจำนวนมากๆแทน ผลที่ออกมาก็จะกลายเป็นว่าผมขาดทุน และมีเกมที่ค้างสต๊อกแทน จุดๆนี้ผมชอบมากที่ตัวเกมจะเปิดโอกาสให้เราลองบริหารจัดการดู มากกว่าแค่การพัฒนาเกมนั้นเองครับ
เลือกพัฒนาเกมได้หลากหลาย
พูดถึงเรื่องในส่วนของการพัฒนาเกมกันบ้าง ต้องบอกเลยครับว่าตัวเกมมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะมาก เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
อันดับแรก ผู้เล่นจะต้องเลือกว่าจะสร้างเกมมาในรูปแบบใด มีทั้งหมด 3 รูปแบบได้แก่
- Retail เป็นรูปแบบปกติที่เราคุ้นเคยกันดี รูปแบบนี้จะใช้งบการพัฒนาน้อยกว่ารูปแบบอื่นๆ
- MMO เป็นรูปแบบเกมออนไลน์ MMO ที่นอกจากการพัฒนาเกมเป็นหลักแล้ว ยังต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของ Server อีกด้วย รูปแบบนี้จะใช้งบเยอะมากที่สุด
- Free to Play คล้ายกับรูปแบบ MMO แต่ด้วยการที่ตัวเกมจะหารายได้จาก Microtransaction เป็นหลัก ยิ่งถ้าหากยอด Download ยิ่งสูง กำไรก็จะเยอะตามนั้น รูปแบบนี้จะใช้งบปานกลาง
เมื่อเลือกรูปแบบเสร็จแล้ว ก็ต้องเลือกขนาดตัวเกม มีตั้งแต่ขนาด B ไปจนถึง AAA กันเลยทีเดียว ยิ่งมีขนาดใหญ่มาก ก็จะสามารถใส่ Feature เข้าไปได้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงงบการพัฒนาก็จะเยอะมากยิ่งขึ้นอีกด้วย อีกทั้งยังมีระบบการเจาะจงกลุ่มเป้าหมายหลัก ว่าจะให้เจาะจงไปที่กลุ่มไหน ไล่ไปจนแต่ Children ไปถึง Teen ยัน Seniors กันเลยทีเดียว แต่ผู้เล่นก็สามารถเลือกแบบ All Ages ได้เช่นกัน ถึงแบบนั้น แนวเกมต่างๆ ย่อมมีผลกับการเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย เช่นถ้าหากเราจะสร้างเกมแนว FPS โดยมี Topic เกี่ยวกับ Mafia แต่ดันไปเจาะจงกลุ่ม Children เนี่ย ยอดขายที่ได้ และคำวิจารณ์ก็จะออกมาแย่มากๆเลยล่ะครับ
จากนั้นก็ทำการเลือกแนวเกม และ รูปแบบเกม เริ่มจากแนวเกมจะมีทั้งหมด 16 แนวเกม ได้แก่
- Adventure
- Arcade
- Building
- Economic Simulation
- Fighting
- First-person Shooter
- Interactive Movie
- Platformer
- Puzzle
- Real-time Strategy
- RPG
- Simulation
- Skill
- Sports
- Strategy
- Third-person Shooter
นับว่าเยอะมาก โดยแถบจะเป็นการรวมเอารูปแบบเกมทั้งหมดที่มีมาใส่ไว้ในเกมนี้หมดแล้วเลยทีเดียว ยังไม่นับหัวข้อเกม หรือที่เลือกว่า Topic กว่า 100 รูปแบบที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้เลือกใช้กัน
ตามติดแอดมิน ลองสร้างเกมแบไต๋!
และในบทความนี้ ตัวผมและบริษัทของผม Melody Studio จะเปิดตัวเกมใหม่ในชื่อว่า Beartai: The Game เป็นเกมแนว Adventure ที่มี Topic เป็น Time Travel ผสมกับ Horror เรามาเริ่มดูขั้นตอนการสร้างเกมกันเลยดีกว่าครับ
ขั้นตอนแรกหลักจากเราตั้งค่าเกมเบื้องต้นเสร็จแล้ว ก็จะทำการเลือก Platforms ที่จะพัฒนาให้ ในที่นี้ผมเลือกที่จะพัฒนาให้กับ PC และ MX One ที่เป็นเครื่องคอนโซลของบริษัทผมผลิตขึ้นมาเอง เพื่อที่จะหลีกเลื่ยงการเสียกำไร Market Shere ให้กับคอนโซลค่ายอื่นๆ อีกทั้งจะเป็นการเพิ่มยอดขายให้กับคอนโซลค่ายผมเองอีกด้วย
ขั้นตอนต่อมา คือการออกแบบตัวเกมว่าจะให้เกมๆนี้มุ่งเน้นไปที่จุดใด โดยจะมีให้เลือกตามค่าต่างๆ โดยในแต่ละค่านั้นมีผลต่อกับแนวเกมที่ผู้เล่นเลือกใช้ และถ้าหากผู้เล่นเคยทดลองสร้างเกมแนวเดิมๆมาแล้ว ผู้เล่นอาจจะได้รับจดหมายจากแฟนๆเกม ที่พวกเขาจะแนะนำให้เรามุ่งเน้นไปให้ความสำคัญที่จุดใดบ้าง หรือเราจะสั่งให้ทีมงาน Research ของเราค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเกมแนวนั้นๆก็ได้ เพื่อหาคำแนะนำในการสร้างความสำคัญต่างๆ ในกรณีนี้ เกม Beartai: The Game นั้นเป็นเกมแนว Adventure ผมจึงให้ความสำคัญกับ Gameplay เป็นหลัก แต่ก็ให้ความสนใจที่ Graphics บ้างเล็กน้อย และมุ่งเน้นไปที่ Story ของเกมมากกว่าแทนที่จะทำให้เกมนั้นมีความยาว รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศในเกมให้น่าเล่น และดูดีมากกว่าการอีดฟังก์ชันในเกมให้เยอะๆ และสร้างให้เกมมีมิติ มีความลึก แทนที่จะเป็นมิตรกับผู้เล่นหน้าใหม่ๆสำหรับเกมแนวนี้ เป็นเพราะว่าเกมแนว Adventure มันไม่ได้เล่นยากอยู่แล้ว และกำหนดสมดุลย์ระหว่างผู้เล่น Hardcore และ ผู้เล่น Casual และสุดท้าย ผมได้ใส่ระบบ Copy Protection เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดเข้าไป ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนนี้ครับ โดยทุกๆการออกแบบตัวเกม มันจะมีการเก็บการตั้งค่าไว้เสมอ เราสามารถนำการตั้งค่าแบบเดิมมาใช้กับเกมอื่นๆได้อีกเช่นกันครับ
ขั้นตอนต่อมา เป็นการจัดลำดับความสำคัญให้กับเกมและภาษาในเกม โดยในที่นี้ผมให้ความสำคัญของ Graphics มากถึง 40% ในขณะที่ Sounds นั้นมี 20% และ Technology มีเพียงแค่ 20% ในขณะที่ Gameplay มี 30% และตั้งให้ตัวเกมนั้นรองรับครบทุกภาษา เพื่อที่จะได้เป็นการเพิ่มยอดขาย โดยการเพิ่มภาษาในเกมนั้น จะมาพร้อมกับจำนวนงบการพัฒนาที่เพิ่มขึ้น ถ้าหากเรามั่นใจว่าเกมของเรานั้นจะออกมาดี การเพิ่มภาษาก็จะทำให้ยอดขายนั้นเพิ่มขึ่นอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้าหากเกมของเราออกมาแย่แล้วละก็ ได้มีขาดทุนกันแน่ๆ ในกรณีนี้ตัวผมมั่นใจว่าเกมของผมจะออกมาดี จึงได้เพิ่มภาษาในเกมครบให้ทุกภาษาเลยนั้นเองครับ
ขั้นตอนต่อมาก็จะเป็นการกำหนด Feature ในเกมว่าจะให้เราใส่ Feature อะไรเข้าไปในเกมบ้าง โดยระบบนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดตัวเกมที่ผู้เล่นได้เลือกไว้ในตอนแรก และขึ้นอยู่กับ Game Engine ที่เลือกใช้ว่ามี Feature มากน้อยแค่ไหน ในกรณีนี้ผมเลือกขนาดเกมไว้แค่ระบบ A และใช้ Engine ที่มี Feature ไม่เยอะมาก โดยยิ่งถ้าหากมี Feature เยอะมาก การใช้งบพัฒนาก็จะสูงขึ้นตามอีกด้วยนะครับ เมื่อเราจัดการเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการสั่งให้พนักงาน ทำงานกันแล้ว
ในขณะที่ทีมงานกำลังสร้างเกม เราสามารถสั่งให้ทีมงานพิเศษเจาะจง และ Improve ในส่วนนั้นๆได้เช่นกันครับ โดยจะมีตั้งแต่ทีมงาน Gameplay, Graphics, Sound, Technology ก่อนที่เราจะสั่งให้ทีมงานเหล่านี้ Improve ตัวเกมที่สร้างอยู่ได้นั้น เราจะต้องจ้างพนักงานที่ทำงานในด้านนั้นๆมาก่อน และสร้างห้องทำงานพิเศษ โดยที่ในห้องนั้นก็จะมีอุปกรณ์การทำงานให้ส่วนนั้นๆอยู่ในห้องครับ โดยในที่นี้ผมได้ทำการสั่งให้ทุกทีม Improve ตัวเกมทั้งหมด ทุกรูปแบบเท่าที่จะทำได้ รวมไปถึงสั่งให้ทีมงานฝ่ายการตลาดโปรโมทตัวเกมอีกด้วย
เมื่อพัฒนาตัวเกมเสร็จสิ้นแล้ว ผู้เล่นจะสามารถเลือกได้ว่าจะจัดจำหน่ายตัวเกมเอง หรือนำให้ผู้จัดจำหน่ายรายอื่นนั้นจัดการ หรือถ้าหากผู้เล่นไม่พอใจกับผลงานของเกมตัวเอง ผู้เล่นก็สามารถ Delete เกมนั้นๆทิ้งไปได้เลยครับ และหลังจากเมื่อเกมวางจำหน่ายแล้วเราก็ได้จะคำวิจารณ์พร้อมกับคะแนน Review รวมไปถึงคำแนะนำ และภาพเกมของเราอีกด้วย ทีนี้ก็มาลุ้นกันล่ะครับว่าจะได้กำไร หรือจะขาดทุนกันแน่
และนี่คือขั้นตอนการสร้างเกมของ Mad Game Tycoon ทั้งหมดครับ นอกจากนี้เรายังสามารถ Update ตัวเกมที่วางจำหน่ายไปแล้วได้อีกด้วย เพื่อเพิ่มยอดขาย หรือแก้บัคต่างๆที่เราพลาดไม่ได้แก้ก่อนนำเกมวางจำหน่าย รวมไปถึงการ Update เพิ่มภาษาเข้าไปในเกม ที่สำคัญเรายังสามารถสร้างภาคต่อของเกมได้อีกด้วย หากเรามั่นใจว่าเกมของเรานั้นดี มียอดขายที่ดี เราสามารถสร้างภาคต่อ และกลายเป็นแฟรนไชส์เพิ่มยอดขายได้มากกว่าปกติกันเลยทีเดียว นอกจากนั้นตัวเกมยังมีระบบ Remaketing หรือการนำเอาเกมเก่ามาขายใหม่ ในราคาที่ถูกกว่า หรือการ Remaster Game และยังสามารถนำเอาเกมเหล่านั้นมามัดขายกันเป็น Bundle ยังได้อีกด้วย
ยังคงความเป็นเกม “Tycoon” ที่ดี
นอกจาก Gameplay หลักๆที่จะเป็นการบริหาร จัดการดูแลพนักงาน ฝึกฝนพนักงาน หรือการพัฒนาเกมแล้ว ก็ยังมีระบบการจัดการ สร้าง และออกแบบบริษัทของเราอีกด้วย เมื่อผู้เล่นได้ชื้อตึกมา ผู้เล่นจะมีโอกาสในการสร้างห้องต่างๆไล่ไปตั้งแต่ Development Room , Reseach Room ,Training Room, Staff Room และอื่นๆอีกมากมาย โดยในแต่ละห้องนั้นก็จะมีอุปกรณ์ให้ผู้เล่นเลือกวางได้แตกต่างกันออกไปอีกด้วย แน่นอนว่าทุกๆห้องนั้นจะมีฟังก์ชั่นการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น Development Room มีไว้เพื่อการพัฒนาเกมเป็นหลัก รวมไปถึงการ Update ตัวเกม ออก Patch สร้าง Engine Game ในขณะที่ Reseach Room นั้นมีไว้สำหรับการค้นหาข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวเกมใหม่ๆ Topic ใหม่ๆ Feature ใหม่ๆ เรียกได้ว่ากว่าจะได้เริ่มพัฒนา ผู้เล่นได้เสียเวลาไปกับการตบแต่งบริษัทกันเป็นแน่แท้ นอกจากนั้นแล้ว ตัวเกมก็ยังมีระบบหุ้นส่วนอีกด้วย หากผู้เล่นมีเงินเยอะได้กำไรจากการขายเกมเยอะจนไม่รู้จะเอาไปทำอะไรแล้วล่ะก็ ผู้เล่นสามารถไปเข้าชื้อหุ้นบริษัทพัฒนาเกมคู่แข่งค่ายอื่นได้ และสามารถเปลี่ยนชื่อ Logo หรือแม้กระทั่งบังคับให้ค่ายพัฒนานั้นๆ ทำเกมลงเฉพาะเครื่องคอนโซลของบริษัทเราแบบ Exclusive ได้อีกด้วย
โดยรวมแล้ว Mad Game Tycoon เองนั้นก็เป็นอีกหนึ่งเกมที่ทำมาได้ยอดเยี่ยมในหลายๆด้าน หากเราไม่นับเรื่องโมเดลตัวละคร Graphics Interface ที่ออกจะดูตกยุคสักหน่อย เกมนี้ถือเป็นเกม Tycoon ที่ทำออกมาได้ดีในทุกด้านเทียบเท่ากับเกมขนาด AAA ยังได้เลยนะครับ ตัวเกมจะเปิดโอกาสให้ผู้เล่นเริ่มต้นเล่นเกมจากช่วงปีไหนก็ได้ตั้งแต่ 1980 1990 2000 2010 และยังมีระดับความยากไปตั้งแต่ Easy จนถึง Legendaly ที่ขอบอกว่ายากมากๆ และนอกจากนั้นแล้วผมก็ได้พบข้อเสียของตัวเกมว่า มันทำให้ผมไม่หลับไม่นอนมาได้ติดต่อกันหลายวันเลยล่ะ สำหรับ Mad Game Tycoon นั้นก่อนหน้านี้เคยเป็น Early Access มาก่อน และวางจำหน่ายไปตั้งแต่ปี 2015 แล้ว จนตอนนี้ตัวเกมได้ออกจากระบบ Early Access และวางจำหน่ายในรูปแบบตัวเต็มกันไปแล้วเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่ถึงแบบนั้นผู้พัฒนาก็ยังคงออก patch แก้ไขบัค และเพิ่มเต็มสิ่งใหม่ๆเข้าไปในเกมอยู่เสมอครับ