Our score
7.4Moto Z Play
จุดเด่น
- หน้าจอใหญ่และชัด
- รองรับ WiFi 5G
- มีอุปกรณ์เสริมที่หลากหลาย
- แบตเตอรี่อึด ใช้ข้ามวันสบายๆ
จุดสังเกต
- น้ำหนักเยอะแบบรู้สึกได้
- ขนาดเครื่องที่ใหญ่
-
กราฟิก
7.0
-
รูปแบบการเล่น
7.5
-
ความแปลกใหม่
7.0
-
ความคุ้มค่า
7.5
-
ภาพรวม
8.0
ช่วงสองถึงสามวันที่ผ่านมานี้ ทีมงานแบไต๋ได้ลองสมาร์ทโฟนที่หลายต่อหลายคนต้องหันมาเหลียวมอง อย่าง Moto Z ที่มีจุดเด่นในหลายต่อหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องของการใช้อุปกรณ์เสริม Moto Mods เสริมความสามารถให้สมาร์ทโฟนเครื่องนี้ ทำอะไรได้มากกว่าเดิม
เครื่องที่ได้รับมารีวิวในครั้งนี้ คือเครื่อง Moto Z Play อ้าว! แล้วทำไมไม่เป็นตัว Z ที่เป็นรุ่นท็อปฟอร์มล่ะ… อย่าเพิ่งโวยวายก่อน ถึงจะเป็นตัว Z Play แต่ก็มีดีไม่แพ้กันนะ…
เริ่มต้นดูที่รูปลักษณ์ภายนอกกันก่อนเลย ขนาดถือว่าใหญ่พอสมควรกับจอ 5.5 นิ้ว เมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนขนาดสามัญที่มีหน้าจอเฉลี่ยอยู่ที่ 5 นิ้ว จับได้กระชับและพอดีมือ มีความหนาอยู่พอสมควร
ด้านบน เป็นช่องใส่ซิม ซึ่งมีความไม่เหมือนใครตรงที่ สามารถใส่ซิมขนาด Nano Sim ได้ถึงสองซิม และอีกด้าน ใส่ Micro SD ได้อีกด้วย! ต่างจากสมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นอื่นๆ ที่ถาดใส่จะเป็นแบบ Hybrid แต่ต้องเลือกว่าจะใช้ทีเดียวสองซิม หรือถ้าอยากใส่ตัวการ์ด ก็ต้องเลือกใช้งานแค่ซิมเดียว
ด้านหน้ามี Finger Scanner สามารถอ่านลายนิ้วมือของเจ้าของเครื่อง ในการปลดล็อคหน้าจอ หรือใช้งานในการยืนยันชำระค่าบริการ ถือว่ามีความไวพอสมควรเมื่อแตะลงไป
มีกล้องหน้า และกล้องหลัง ส่วนของกล้องหลังมีแฟลช 2 สี ทำให้ภาพที่ถ่ายด้วยแฟลชนั้นดูมีสีที่นวลขึ้น (ระบบแฟลชสองสีนี้ มีครั้งแรกใน iPhone 6) ส่วนกล้องหน้า ก็มีแฟลชให้มาอีกด้วย ใครที่ชอบเซลฟี่ก็เพลิดเพลินในการถ่ายภาพอย่างแน่นอน
มาถึงเรื่องของไส้ในกันบ้างดีกว่า สเปกของ Moto Z Play ถือว่ามีการปรับลด และเพิ่มในบางจุด แต่ไม่ได้ทำให้เลวร้ายหรือด้อยกว่าตัวพี่ใหญ่อย่าง Moto Z
เริ่มแรก ซีพียูที่ให้มาในเครื่องนี้ คือ Qualcomm Snapdragon 625 ความเร็ว 2 GHz แบบ 8 แกนสมอง พ่วงด้วยจีพียู Adreno 506 ความเร็ว 650 MHz รันด้วย Android 6.0.1 Marshmallow แสดงผลบนหน้าจอ Super AMOLED ขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด 1920 X 1080 พิกเซล 403 ppi รองรับการแสดงวิดีโอแบบ 4K 30 fps กระจกหน้าจอเป็น Corning Gorilla Glass 3 ตัดขอบให้มีความมนเล็กน้อย
ลำโพงอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับลำโพงโทรศัพท์ อยู่ในตำแหน่งด้านหน้าพอดี เสียงที่ออกมาถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าฟังแบบเปิดจนสุดเลยเนี่ย อาจจะดูเหมือนเสียงแตกนิดๆ (ก็ขอแนะนำว่าอย่าเปิดเพลงแบบอัดระดับเสียงจนสุดละกัน เดี๋ยวจะเสื่อมซะก่อน ไม่ว่าเครื่องไหนก็ตาม…)
สเปกในส่วนอื่นๆ
- กล้องหลัง ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล f/2.0 มีเลเซอร์โฟกัส และแฟลชสองสี
- กล้องหน้า 5 ล้านพิกเซล f/2.2 แฟลชสีเดียว รองรับการถ่ายวิดีโอแบบ 4K 30 fps พร้อม Beauty Mode
- การเชื่อมต่อของตัวเครื่อง มีทั้ง Bluetooth 4.0 WiFi รองรับ Dual Band (2.4 GHz + 5 GHz) a/b/g/n มี NFC
- ใช้การเชื่อมต่อแบบ USB-C
จุดที่ชื่นชอบ (เป็นการส่วนตัว)
คือตัวของที่ชาร์จแบตที่ให้มาในกล่อง นอกจากจะให้สาย USB-C เผื่อนำไปใช้กับหม้อแปลงที่มีอยู่แล้ว ยังให้ที่ชาร์จ TurboPower แบบมาพร้อมปลั๊ก ใช้งานได้ทุกที่ เหมื่อนได้หวลรำลึกไปถึงยุครุ่งเรืองของฟีเจอร์โฟน ที่ชอบแถมที่ชาร์จสไตล์นี้มาให้ใช้งาน
จุดสังเกต
อย่างแรก ขนาดตัวเครื่อง ถึงจะบอกว่าจับได้อย่างกระชับมือก็จริง แต่สำหรับบางท่าน ขนาดในการใช้งานอาจจะมีปัญหาก็ได้ บางท่านอาจจะชินกับสมาร์ทโฟนที่มีขนาดเล็กอยู่เป็นทุนเดิม รวมไปถึงเรื่องของน้ำหนักเครื่องที่มีถึง 165 กรัม แต่เมื่อลองใส่ในกระเป๋ากางเกงแล้ว ถือว่ามีน้ำหนักอยู่พอสมควร อาจจะทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายตัวเมื่อต้องใส่แล้วเดินไปในที่ต่างๆ
อีกหนึ่งอย่าง คือตัวที่ชาร์จ TurboPower ที่ให้มานี่แหละ มีการเขียนระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “TurboPower รองรับเฉพาะสมาร์ทโฟนที่มีโหมด Turbo เท่านั้น” นั่นเท่ากับว่า ต่อให้มีสมาร์ทโฟนที่มีพอร์ต USB-C แต่ถ้าไม่มี TurboPower หรือ FastCharge (หรือชื่ออื่นๆที่ยี่ห้อนั้นเรียกกัน) ก็ไม่ได้ชาร์จได้เร็ว
หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำไม ทีมงานแบไต๋ถึงนิยามว่า ‘Play More if You Can’ ก็ตรงที่แบตเตอรี่นี่แหละ บอกได้คำเดียวว่า “อึด” เมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนที่ขนาดหน้าจอใกล้เคียงกัน แบตเตอรี่ที่ให้มามากถึง 3510 mAh สแตนด์บายได้นานสุดถึง 50 ชั่วโมง! แถมรองรับการชาร์จแบบ TurboPower ชาร์จไวมากๆ โดยใช้เวลาช่วงสั้นๆ
สุดท้ายนี้ พูดถึงเรื่องของราคากันบ้าง Moto Z Play อยู่ที่ 15,900 บาท ส่วนพี่ใหญ่ สเปกจัดเต็ม Moto Z อยู่ที่ 23,900 บาท ทั้งนี้ ยังไม่รับรวมกับตัวอุปกรณ์เสริม Moto Mods ที่ขายแยกต่างหาก
ใครที่อยากลองสัมผัสประสบการณ์ใหม่อย่าง Moto Z หรือ Z Play ก็สามารถไปสัมผัสและเลือกซื้อได้ ที่ True Shop, Jaymart, และ TG Fone ทุกสาขา