Our score
8.7Dyson V8 Fluffy
จุดเด่น
- กำลังดูดสูง
- มีอุปกรณ์เสริมให้ครบ ทำความสะอาดได้หลากหลาย ยืดหยุ่นเพราะไม่ต้องเสียบสาย
- มี HEPA Filter ทำให้ฝุ่นไม่ฟุ้งในอากาศ
- เสียงเบากว่ารุ่นเดิมมาก
- ทำงานได้นาน 40 นาทีต่อการชาร์จ 1 ครั้ง
จุดสังเกต
- ราคาสูง
- มีน้ำหนักมากกว่ารุ่นเดิมราว 400 กรัม
- หัวต่อทั้งหมดเป็นแบบใหม่ ใช้กับหัวต่อรุ่นเดิมไม่ได้ และฝุ่นเกาะใกล้รอยต่อมากขึ้น
- การทิ้งฝุ่นแบบใหม่มีส่วนเคลื่อนไหวเยอะ บางทีถ้าทำไม่ถูกขั้นตอนทำให้ฝาถังเก็บฝุ่นไม่เปิด
- ใช้เวลาชาร์จนานหลายชั่วโมง
-
รูปร่างลักษณะ
10.0
-
ความสะดวกในการใช้
9.0
-
ความสามารถในการทำความสะอาด
8.5
-
ความยืดหยุ่นในการใช้งาน
9.0
-
ความคุ้มค่า
7.0
ถ้านึกถึงเครื่องดูดฝุ่นไร้สาย เชื่อว่าชื่อของ Dyson น่าจะเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงกันนะครับ ซึ่งวันนี้เว็บแบไต๋ขอรีวิวเครื่องดูดฝุ่นไร้สายรุ่นล่าสุดอย่าง Dyson V8 Fluffy ให้ดูกันว่ามันพัฒนาขึ้นอย่างไรจาก Dyson V6 เครื่องดูดฝุ่นไร้สายรุ่นก่อนหน้านี้ครับ
Dyson V8 ใช้รากฐานเดียวกับ V6 แต่ปรับปรุงให้ดีขึ้น
ทั้ง dyson V6 และ V8 นั้นใช้รากฐานของเทคโนโลยีเดียวกันครับ คือเครื่องดูดฝุ่นทั้งคู่ใช้ระบบไซโคลนเรเดียล 2 ชั้นเพื่อสร้างแรงเหวี่ยงฝุ่นออกจากอากาศเหมือนกัน ใช้ดิจิทัลมอเตอร์เหมือนกัน รวมถึงการออกแบบตัวเครื่องและสมดุลน้ำหนักในลักษณะเดียวกัน ทำให้สามารถยกเครื่องขึ้นทำความสะอาดเพดานได้ไม่ยากเย็น แต่ในฐานะที่เป็นพ่อบ้านที่ใช้ Dyson V6 มายาวนานก็พบว่ามันยังมีจุดอ่อนอยู่หลายเรื่อง
- ลมที่ออกจากเครื่อง dyson V6 จะยังมีฝุ่นละเอียดอยู่ เมื่อใช้ไปสักพักจะรู้สึกเจ็บคอ โดยเฉพาะเวลาที่โดนลมจากเครื่องอัดใส่หน้า
- ถังเก็บฝุ่นต้องออกแรงในการทำความสะอาดสักหน่อย ต้องเคาะกันหลายทีกว่าฝุ่นจะตกลงไปหมด
- แบตเตอรี่ใช้ได้นานประมาณ 20 นาทีสำหรับการใช้ในโหมดธรรมดาที่ไม่ใส่หัวดูดที่มีมอเตอร์ ซึ่งไม่พอสำหรับการทำความสะอาดห้องแบบครั้งใหญ่ ต้องอาศัยเวลาชาร์จอีกหลายชั่วโมงถึงจะกลับมาใช้ได้อีกครั้ง
ซึ่งจุดอ่อนเหล่านี้ได้แก้ไขเรียบร้อยแล้วใน Dyson V8 ครับ
Dyson V8 ทำงานได้เงียบลง ลมที่ออกมาสะอาดขึ้น
ต้นเหตุของเสียงดังในเครื่องดูดฝุ่นนั้นไม่ได้มาจากเสียงการทำงานของมอเตอร์อย่างเดียวนะครับ แต่อีกสาเหตุหนึ่งเลยคือเสียงอากาศที่วิ่งอยู่ภายในเครื่อง Dyson V8 จึงปรับปรุงทางเดินอากาศภายในเครื่องใหม่ให้เสียงเบาลง แถมยังใส่วัสดุซับเสียงหลายอย่างลงไปในเครื่อง รวมถึงเพิ่ม HEPA filter เข้าไปที่ท้ายเครื่องด้วย ทำให้เสียงในการทำงานนั้นเบาลงอย่างเห็นได้ชัด
ซึ่ง HEPA filter หรือ High Efficiency Particulate Air Filter ตัวนี้แหละครับที่เป็นกุญแจสำคัญในการกรองเอาฝุ่นที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 0.3 ไมครอนออกไปจากลมที่ออกจากเครื่องดูดฝุ่นได้ ลดอากาศเจ็บคอหลังการใช้งานเครื่องดูดฝุ่นได้ แล้วเมื่อใช้ไปสักพักก็สามารถถอดฟิลเตอร์ตัวนี้ออกมาทำความสะอาดด้วยการล้างน้ำได้ด้วย
กำลังดูดสูงขึ้น แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าเดิม
Dyson นั้นเริ่มต้นผลิตเครื่องดูดฝุ่นไร้สายมาตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งหัวใจที่ทำให้ผลิตเครื่องดูดฝุ่นที่มีขนาดเล็กจนสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียบปลั้กคือมอเตอร์นี่แหละครับ ซึ่งมอเตอร์ดิจิทัลรุ่น V8 ที่ใช้ในเครื่องรุ่นนี้สามารถหมุนได้ถึง 110,000 รอบต่อนาที หรือเร็วกว่าเครื่องยนต์รถ F1 อยู่ 5 เท่า มีพลัง 425 W เทียบกับมอเตอร์ V6 เดิมที่ให้กำลัง 350 W และเมื่อใช้โหมดเร่งพลัง (Max Mode) ก็ให้กำลังดูดได้สูงสุด 115 AW (Air Watts) เมื่อเทียบกับรุ่น V6 ที่ให้กำลังดูดสูงสุด 100 AW
วิธีทิ้งฝุ่นแบบใหม่ หมดจดกว่าเดิม
จริงๆ เครื่องดูดฝุ่นไร้สายของ Dyson นั้นออกแบบการทิ้งฝุ่นค่อนข้างดีตั้งแต่รุ่นก่อนๆ แล้วครับ คือสามารถดันตัวเลือนเพื่อเปิดถังเก็บฝุ่นจากด้านล่างแล้วทิ้งฝุ่นได้ทันที แต่ปัญหาของการทิ้งฝุ่นในรูปแบบเดิมคือบางทีจะมีฝุ่นละเอียดติดแน่นกับตัวแกนเครื่องครับ ติดแบบเป็นแผ่นๆ เลย จนต้องเคาะเครื่องหลายรอบ หรือต้องแกะเอาถังเก็บฝุ่นออกมาเช็ดแกนเป็นระยะๆ แต่สำหรับ Dyson V8 นั้นมีการออกแบบวิธีทิ้งฝุ่นใหม่ คือสามารถดึงตัวแกนไซโคลนเรเดียลขึ้นมาเหนือช่องเก็บฝุ่น และผลักฝุ่นลงด้านล่างพร้อมกับเปิดฝาเพื่อทิ้งฝุ่นได้ทันที ซึ่งทำให้การทิ้งฝุ่นหมดจดและรวดเร็วขึ้นมาก ฝุ่นเหลือในถังเก็บฝุ่นน้อยกว่าเดิมเยอะ
แต่การทิ้งฝุ่นแบบใหม่ถ้าทำไม่ถูกวิธีก็อาจจะมีปัญหานะครับ วิธีการใช้งานที่ถูกต้องคือหลังจากดึงแกนไซโคลนเรเดียลขึ้นและฝาถังเก็บฝุ่นเปิดออกเพื่อทิ้งฝุ่นเรียบร้อยแล้ว เราต้องดันแกนไซโคลนเรเดียลกลับลงไปก่อน ถึงจะปิดฝาถังเก็บฝุ่นครับ ถ้าดึงดันจะทำผิดวิธี อาจจะเกิดปัญหาการใช้งานครั้งต่อๆ ไป ดึงตัวแกนไซโคลนเรเดียลขึ้นแล้วฝาถังไม่เปิดก็ได้ ซึ่งถ้ามีปัญหานี้ก็ต้องแยกส่วนเครื่องดูดฝุ่นตามวิธีในคู่มือ แล้วลองค่อยๆ ประกอบใหม่ให้สลักล็อกต่างๆ กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ควรจะอยู่ครับ (ซึ่ง Dyson V8 สามารถแยกชิ้นตัวด้วยตัวเองได้อย่างน่าทึ่งเลยนะครับ ดึงเอาแกนไซโคลนเรเดียลออกจากตัวมอเตอร์ แล้วแยกเอาถังเก็บฝุ่นออกมาก็ได้ เพื่อทำความสะอาดได้)
หัวต่อหลากหลาย ครอบคลุมทุกงาน
จุดเด่นของเครื่องดูดฝุ่นไร้สายจาก Dyson ทุกรุ่นคือมีหัวต่อสำหรับทำความสะอาดได้หลากหลายแบบมากครับ ซึ่งสำหรับ Dyson V8 Fluffy รุ่นท็อปที่เราเอามารีวิวครั้งนี้มีอุปกรณ์ที่อัดแน่นอยู่ในกล่องเล็กๆ ดังนี้
ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถนำมาประกอบกันได้ เช่นเอาหัวดูดต่างๆ มาต่อกับท่อยาวสำหรับการทำความสะอาดพื้นหรือเพดานได้สะดวกขึ้น หรือต่อกับท่อโค้งเพื่อทำความสะอาดพื้นที่สูงได้ครับ
แต่ใน Dyson V8 นั้นมีการเปลี่ยนข้อต่ออุปกรณ์ทั้งหมดเป็นรุ่นใหม่ ที่ใช้งานง่ายขึ้น ทำให้ถ้าเราเคยมี Dyson รุ่นอื่นๆ อยู่แล้ว ก็ไม่สามารถใช้หัวที่มีอยู่เดิมกับ V8 ได้ (เช่นผู้เขียนมี Dyson V6 อยู่ แล้วมีหัวทำความสะอาดพื้นแบบแปรงแข็งที่ไม่มีใน V8 Fluffy ก็ไม่สามารถเอามาใช้ได้) และปัญหาอีกอย่างของหัวต่อรุ่นใหม่คือการเปลี่ยนดีไซน์ทำให้บริเวณข้อต่อมีพื้นที่ให้ฝุ่นเกาะมากขึ้น (ดูรูปด้านล่าง) ทำให้เวลาเปลี่ยนหัวต่ออาจจะต้องระวังฝุ่นที่จะร่วงลงมานิดหนึ่ง
สรุป Dyson V8 อุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านยุคใหม่
ตอนนี้เราเข้าสู่ยุคทำความสะอาดบ้านด้วยหุ่นยนต์ทำความสะอาดกันเรียบร้อยแล้วนะครับ แต่ไปๆ มาๆ หุ่นยนต์ทำความสะอาดบ้านก็มีข้อจำกัดอยู่ไม่น้อย ทั้งต้องจัดพื้นที่ว่างในบ้านให้มันเดินทำความสะอาดได้ทุกวัน หรือสุดท้ายเราก็ต้องมาเก็บฝุ่นในพื้นที่อื่นๆ เช่นซอกมุม บนเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เองอยู่ดี
ราคา 32,900 บาท
ที่นี่ก็ลองชั่งใจดูครับว่า Dyson V8 Fluffy ที่ราคา 32,900 บาท โหดเอาเรื่องนั้นเหมาะสำหรับคุณรึเปล่า แต่ถ้ารู้สึกว่าแพงไป ก็ยังมีรุ่น V6 อีกหลายตัวที่ราคาเบากว่านี้ (เครื่องก็เบากว่านะ) ให้ได้เลือกใช้ครับ ซึ่งก็ใช้งานได้ดีครับ