ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง หรือ Human-Elephant Conflict เป็นปัญหาระดับโลกในประเทศที่มีช้างป่า และช้างป่ายังถือว่าเป็นสัตว์อันตรายต่อชีวิตอันดับที่ 8 ของโลก 

ประเทศไทยมีช้างป่าราว 4,013-4,422 ตัว กระจายอยู่ใน 16 กลุ่มป่าทั่วประเทศ แม้จำนวนช้างเพิ่มขึ้นแต่พื้นที่ป่ายังเท่าเดิม ส่งผลให้ช้างออกหากินนอกเขต โดยสถิติปี 2564-2566 พบช้างออกนอกพื้นที่กว่า 37,000 ครั้ง สร้างความเสียหายมากกว่า 3,800 ครั้ง และในช่วง 12 ปี (2555-2567) มีผู้เสียชีวิต 227 ราย บาดเจ็บ 198 ราย สะท้อนความเร่งด่วนในการแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างอย่างยั่งยืน

หนึ่งในพื้นที่ขัดแย้งระหว่างคนกับช้างอันดับต้นของไทยคงหนีไม่พ้นพื้นที่กุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีปัญหาเรื่องช้างป่าและคนมายาวนานหลายสิบปี เพราะขอบเขตการอยู่อาศัยของคนและช้างที่ใกล้ชิดกัน

ฝูงช้างป่า ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

ทรู คอร์ปอเรชั่น สร้างนวัตกรรมเพื่อคนและช้างใต้แนวคิด Tech for Good

ทรู คอร์ปอเรชั่น บริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำอันดับ 1 ของไทยได้เห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาระหว่างคนกับช้างป่า และได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือปฏิบัติการผลักดันช้างป่าในพื้นที่กุยบุรีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 ด้วยโซลูชัน ‘True Smart Early Warning System (TSEWS)’ ภายใต้แนวคิด Tech for Good

True Smart Early Warning System ระบบเตือนภัยช้างป่าล่วงหน้าที่เป็นโซลูชันในการตรวจจับช้าง เพื่อชาวบ้านในพื้นที่กุยบุรี ซึ่งผลจากการร่วมมือกันระหว่างทรู คอร์ปอเรชั่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ WWF ในการสร้างสรรค์ทางออกสำหรับคนและช้างในพื้นที่กุยบุรีที่จับต้องได้และทำได้จริง

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้พูดถึงแนวคิดในการสร้างนวัตกรรมว่า นอกจากทรู คอร์ปอเรชั่นจะขับเคลื่อนด้านการโทรคมนาคม และการให้ประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้บริการแล้ว ทรูยังมีเป้าหมายในการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้โลกนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้นผ่านแนวคิด Tech for Good ในด้านความยั่งยืน สังคม และเศรษฐกิจ และโซลูชัน True Smart Early Warning System ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่ช่วยในด้านของความยั่งยืน ช่วยให้คน ช้าง และป่าอยู่ร่วมกันได้

ซึ่งทรูผสานหัวใจหลักในการคิดค้นนวัตกรรมของทรูเข้าไปในทุกรายละเอียดที่เรียกว่า EMPATHY: เข้าใจชีวิต ใส่ใจทุกมิติ หรือความเข้าใจถึงปัญหาที่ชาวบ้านเผชิญ ความเข้าใจในธรรมชาติของช้างป่า, INSIGHTS: พลังข้อมูล นำสู่การเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะของของพื้นที่ที่ทำงานกับข้อมูลการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในการผลักดันช้างป่าอย่างลึกซึ้ง และ TECHNOLOGY: นวัตกรรมเพื่อทุกชีวิตที่จะสร้างสรรค์และเข้าไปผสานกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ และช่วยแก้ปัญหานั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายวีระ ขุนไชยรักษ์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนายมนัสส์ มานะวุฒิเวช
ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าด้วย True Smart Early Warning
โซลูชัน True Smart Early Warning
โซลูชัน True Smart Early Warning

ด้วยเทคโนโลยีและเครือข่ายสัญญาณความเร็วสูงทั้ง 4G และ 5G ของทรูที่ผสานเข้ากับการดำเนินการของ WWF และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าทึ่งในการผลักดันช้างป่าที่มีประสิทธิภาพอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ในปี 2566 มีสถิติช้างป่าบุกรุกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีถึง 1,104 ครั้ง แต่เกิดความเสียหายต่อพืชผลเพียง 4 ครั้ง หรือคิดเป็น 0.36 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ปี 2560 ก่อนการติดตั้งโซลูชันที่มีความเสียหายสูงถึง 74.5 เปอร์เซ็นต์

เทคโนโลยีสู่การอยู่ร่วมกันของคนและช้างอย่างยั่งยืน

สัญญาณเครือข่ายที่ดีไม่ได้นำพามาซึ่งการสื่อสารที่รวดเร็วและราบรื่นเท่านั้น แต่ยังสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมได้เช่นเดียวกัน หากกล่าวถึงประเด็นคนและช้างที่กุยบุรี จะเห็นได้ว่าชาวบ้านได้รับผลกระทบจากช้างป่าน้อยลง ความคับข้องใจลดลง ความกังวลลดลง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการได้ง่ายขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรือแม้แต่ช้างเองก็ได้รับความปลอดภัยมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีจากทรู และความทุ่มเทจากเจ้าหน้าที่กรมอุทยาน

เพราะเดิมทีชาวบ้านเองต้องคอยเฝ้าทรัพย์สินและผลผลิตของตนเองตลอดคืนเพื่อระวังช้างป่า เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่อุทยานที่ต้องพร้อมเสมอเมื่อมีการแจ้งข่าวการพบเห็นช้างเพื่อนำไปสู่การผลักดันช้าง ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าจากการทำงานตลอดคืน อีกทั้งต้องอาศัยการลาดตระเวน ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมพื้นที่ และเสี่ยงต่อการถูกทำร้ายโดยสัตว์ป่า

ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างทรูคอร์ปอเรชั่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ WWF ได้ค้นพบทางออกร่วมกัน โดยใช้ความเชี่ยวชาญของแต่ละองค์กรมาผสานจนเกิดเป็นโซลูชัน True Smart Early Warning System ได้แก่

  • Camera Trap หรือกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติเมื่อพบการเคลื่อนไหวภายในป่า ซึ่งจะถ่ายภาพพร้อมกับส่งไปศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่าแบบเรียลไทม์ ด้วยสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมจากทรู เพื่อการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • แอปพลิเคชัน Smart Adventure ที่คนในพื้นที่สามารถรายงานการพบเห็นช้างป่าเพื่อส่งไปยังศูนย์ปฏิบัติการ 
  • ปฏิบัติการเฝ้าระวังและผลักด้านช้างป่าจากเจ้าหน้าที่และชาวบ้านในพื้นที่ หลังจากได้รับการพบเห็นช้างป่า เจ้าหน้าที่จะใช้โดรนค้นหาตำแหน่งของช้างป่า พร้อมเริ่มปฏิบัติการผลักดันหรือต้อนช้างกลับเข้าป่าได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา
  • True Walkie Talkie ที่ผสานการสื่อสารในรูปแบบการโทร และ Walkie Talkie เข้าด้วยกันเพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถสื่อสารกันได้อย่างไม่มีสะดุด
การติดตั้ง Camera Trap
ทีมผู้บริหารทรู และทีมเจ้าหน้าที่อุทยานที่กำลังเตรียมพร้อมผลักดันช้างป่าในพื้นที่ตอนกลางคืน
การบินโดรนติตตามช้างป่า
ทีมปฏิบัติการผลักดันช้างสู่ป่า
ภาพการตรวจจับช้างจาก Camera Trap

โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชยังมีแผนที่จะนำ True Smart Early Warning System โดยทรู คอร์ปอเรชั่น ไปใช้กับพื้นที่ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างแห่งอื่น ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อลดการบาดเจ็บ การเสียชีวิต และความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร

นอกจากระบบเฝ้าระวังช้างป่าแล้ว ภายใต้แนวคิด Tech for Good โดยทรู คอร์ปอเรชั่น ยังมีโครงการอื่น ๆ ที่ได้นำเทคโนโลยีที่สร้างสรรค์โดยนวัตกรของทรูมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คน อย่างโครงการ ‘หาย (ไม่) ห่วง’ ที่ใช้เทคโนโลยี QRcode เพื่อติดตามผู้ป่วยอัลไซเมอร์เมื่อสูญหายจากบ้าน หรือการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ช่วยเสริมพัฒนาการ และสร้างอาชีพให้กับเด็กและผู้ที่เป็นออทิสติก ซึ่งได้รางวัลระดับโลก

สุดท้ายนี้ นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช และทีมนวัตกรจากทรู คอร์ปอเรชั่น ได้สื่อสารว่า การจะนำเทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุด หรือล้ำสมัยที่สุด แต่เป็นการปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับปัญหา ผสานกับความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมภายใต้แนวคิด Tech for Good เพื่อย้ำเตือนว่า บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่ได้เป็นเพียงผู้นำด้านโทรคมนาคมอันดับ 1 ของไทย แต่ยังเป็นองค์กรเทคโนโลยีที่มีส่วนช่วยในการสร้างความยั่งยืนในหลากหลายมิติด้วย