เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ดราม่าไม่คาดฝันขึ้น เมื่อปรากฎลิงค์ที่ถูกลืม กลับขึ้นมาให้ค้นหาอีกครั้ง!
“สิทธิในการถูกลืม” คืออะไร ?
คุณเคยสงสัยมั้ยว่าจริงๆแล้วใครเป็นคนตัดสินเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการพูดของคุณในโลกโซเชี่ยล? เมื่อคุณโพสข้อมูลต่างๆบนอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นโพสต์ต่างๆตามเว็บบอร์ด หรือแม้กระทั่งดราม่า จนเมื่อเรื่องจบไปแล้ว ลบมันทิ้งไปแล้ว แต่ยังคงค้นหามันจนเจอได้อีกในผลการค้นหาของ Google
ดูเหมือนกับว่าข้อมูลต่างๆที่ทับถมกันอยู่เหล่านั้นไม่ได้ถูกลบไปตามเจตจำนงของเจ้าของโพส แล้วใครกันล่ะ? ที่เป็นคนกำหนดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเหล่านั้น ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาศาลสูง EU ได้สั่งการให้ Google จำเป็นต้องลบข้อมูลและลิ้งการเชื่อมต่อต่างๆ หากมีการถูกร้องขอจากผู้ใช้บริการ ทำให้ทาง Google จำเป็นต้องออกมาให้คำตอบดังกล่าว ผ่านทางสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิในการถูกลืม”
“สิทธิในการถูกลืม” คือกฏหมายที่ทางผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตสามารถร้องขอให้ Google ลบ Link การเชื่อมต่อและข้อมูลส่วนตัวต่างๆที่เก่าเก็บ ล้าสมัย ไม่อัพเดท รวมทั้งข้อมูลที่ถูกลบออกไปแล้วจากลิ้งต้นฉบับ ออกจากผลการค้นหา เพื่อไม่ให้กลับมาหลอกหลอนเจ้าของยูสเซอร์นั้นๆได้อีก
ล่าสุดในวันที่ 6 กรกฎาคม ได้มีข่าวแพร่กระจายเกี่ยวกับการที่ Google ได้นำ Link ที่ถูกนำออกไปแล้ว กลับมาขึ้นผ่านการค้นหาของทาง Google อีกครั้ง ทำให้เกิดกระแสวิพากย์วิจารณ์กันมากมาย แต่ทว่าทาง Google ได้ออกมาโต้แย้งถึงข้อกล่าวหาดังกล่าวว่า “กระบวนการดังกล่าวมีความยากลำบากในการจัดการ และทาง Google เองก็กำลังเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้น”
เพราะว่าจากเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้น เกิดจากการที่มีผู้ร้องเรียนให้นำ “ข้อความแสดงความคิดเห็น” ออก แต่ทาง Google กลับลบ Link ออกไปทั้งบทความ ซึ่งบทความดังกล่าวเป็นของบรรณาธิการเศรษฐกิจของทาง BBC
ปีเตอร์ บาร์รอน หัวหน้าฝ่ายการสื่อสารของกูเกิลในยุโรปได้ออกมาเปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง Google กำลัง “พยายามจัดการเรื่องนี้ด้วยความรับผิดชอบมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
ในขณะที่ ไรอัน ฮีทธ์ โฆษกของรองประธานคณะกรรมการยุโรปแสดงความคิดเห็นว่าการนำ Link ออกในกรณีที่ยกมาข้างต้นไม่ใช่การตัดสินใจที่ดี โดยชี้ว่าการตัดสินใจปฏิบัติตามคำร้องพวกนี้ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนมากและไม่ควรทำให้กลายเป็นการอนุญาตให้ผู้คนใช้มันเพื่อ “ตัดต่อข้อมูลชีวิตของตัวเองได้แบบโฟโต้ช็อป”
ที่มา: BBC