เรื่องนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร JAMA เมื่อวันที่ 26 กุมพาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง ว่ามีการตรวจพบสารกัมมันตภาพรังสีแผ่กระจายอยู่ทั่วเตาเผาศพแห่งหนึ่งในรัฐ Arizona
เมื่อสืบทราบว่าก่อนหน้านี้ได้มีการเผาศพของชาววัย 69 ปี ที่เสียชีวิตด้วยเนื้องอก 2 วันก่อนการเสียชีวิต แพทย์ได้ทำการฉีดยาที่เป็นสารกัมมันตภาพรังสีเพื่อลดขนาดเนื้องอกให้เขา แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้ผล และ หลังจากนั้น 5 วันศพของเขาก็ถูกนำมาเผาที่เตาแห่งนี้
หลังจากการตรวจสอบอย่างละเอียดโดยเครื่อง Geiger-counter รอบลานเผาศพพบว่ายังคงมีสารกัมมันตภาพรังสีหลงเหลือสูงสุด 25,000 ครั้ง/นาที รอบลานเผา นั่นหมายความว่า ผู้ที่สัมผัสอุปกรณ์เหล่านี้โดยตรงจะได้รับสารกัมมันตภาพรังสี 7.5 มิลลิเล็ม/ชม. รวมถึงการตรวจปัสสาวะของคนงานเผาศพ พบว่ามีสารดังกล่าวปนออกมาด้วย นักวิจัยรายงานว่าถึงแม้คนงานจะได้รับสารกัมมันตภาพรังสีในปริมาณน้อย แต่หากมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยๆก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน
อีกหนึ่งข่าวดีคือ lutetium 177 (สารที่ถูกฉีด) มีค่าครึ่งชีวิตสั้นนั่นหมายความว่า มันจะไม่แพร่กระจายในบริเวณพื้นที่นั้นๆนานมาก แต่ในอนาคตนักวิจัยเสนอว่า ควรมีข้อกำหนดเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีที่ใช้รักษา หรือกฎข้อบังคับในการเผาศพที่ถูกฉีดสารดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสีที่อาจเกิดขึ้นได้