ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีฝนตกที่กรีนแลนด์ดินแดนแห่งหิมะที่ตั้งอยู่ในแถบอาร์กติกของโลก แต่สิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์กังวลเป็นเพราะฝนที่ว่ามันดันมาตกในฤดูหนาวแทนที่จะเป็นหิมะ และที่สำคัญมันก็ตกบ่อยมากอีกด้วย

นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับปริมาณน้ำแข็งกรีนแลนด์ลงในวารสาร The Cryosphere พบว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกในกรีนแลนด์มีมากขึ้นและตกบ่อยกว่า 300 ครั้ง ระหว่างปี 1979 – 2012 ที่ส่วนใหญ่เหตุการณ์ฝนตกจะเกิดในช่วงฤดูร้อนของกรีนแลนด์ แต่ปัจจุบันฝนกลับตกมากขึ้นในฤดูหนาว และด้วยน้ำฝนเพียงแค่ 14 มิลลิลิตร ก็เพียงพอที่จะละลายน้ำแข็งหนา 15 เซนติเมตรที่ปกคลุมผืนดินได้อย่างง่ายดายจึงสร้างความกังวลในกับนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก

ดร. Marilena Oltmann หนึ่งในทีมการศึกษาศูนย์วิจัยมหาสมุทรของ GEOMAR ในเยอรมนีกล่าวว่า การที่มีฝนตกในฤดูหนาวของกรีนแลนด์เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจอย่างมาก และที่น่าสนใจกว่านั้นคือหิมะที่ตกมาใหม่มีสีเข้มและผิวเรียบมากกว่าปกตินั่นยิ่งทำให้พวกมันสามารถดูดกลืนความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ได้นานขึ้น และหมายถึงการละลายที่เร็วขึ้นอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบภาพถ่ายฝืนน้ำแข็งปัจจุบันกบรูปถ่ายเมื่อปีที่แล้วจะเห็นได้ว่าผืนน้ำแข็งนั้นมีสีเข้มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ถึงแม้ว่ากรีนแลนด์จะเป็นประเทศเกาะเล็กๆแต่ปริมาณน้ำแข็งที่อยู่บนเกาะ บวกกับอุณหภูมิน้ำในมหาสมุทรที่สูงขึ้นจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน อาจส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 7 เมตร ส่งผลกระทบต่อเมืองชายฝั่งทั่วโลก และอาจรบกวนรูปแบบสภาพอากาศในยุโรป และ ภูมิภาคอื่นๆได้เช่นกัน

อ้างอิง