นานมาแล้ว NASA มีโครงการ Space Transportation System (STS) หรือ ระบบการขนส่งอวกาศเพื่อลำเลียงนักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศโดยใช้กระสวยอวกาศ (Space Shuttle) ซึ่งหลังจากจบภารกิจแล้วก็สามารถนำบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ได้ ช่วยให้ประหยัดงบประมาณ แต่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1981-2011 ก็ไม่สำเร็จจึงต้องประกาศยุติโครงการ หลังจากนั้นสหรัฐก็ไม่สามารถส่งนักบินอวกาศไปสู่อวกาศได้ นอกจากเรียกใช้บริการยานอวกาศ Soyuz ของรัสเซีย
ปี 2014 NASA ประกาศเลือก Boeing และ SpaceX เพื่อขนส่งลูกเรือของสหรัฐไปและกลับจากสถานีอวกาศโดยใช้ยานอวกาศ CST-100 Starliner ของ Boeing ด้วยงบมูลค่า 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ Crew Dragon ของ SpaceX ด้วยงบมูลค่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อยุติการพึ่งพารัสเซีย
SpaceX ได้ผ่านการทดสอบมาแล้วตั้งแต่ Pad abort test ทดสอบดีดตัวขึ้นจากฐานปล่อยสำเร็จ เมื่อ 6 พฤษภาคม 2015, Demo-1 Orbital flight test การทดสอบวงโคจรการบิน (Uncrewed flight demo) ทดสอบการบินครั้งแรกที่ไม่มีลูกเรือ (ใช้หุ่นจำลองนักบินอวกาศชื่อริปลีย์) ในเดือนมีนาคม 2562 และเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติแล้วกลับมาสู่โลกได้สำเร็จ ส่วนแคปซูลจะถูกนำมาปรับแต่งใช้ในการทดสอบครั้งต่อไป (In-flight abort test) แต่ในวันที่ 20 เมษายน 2019 ได้เกิดเหตุระเบิดระหว่างการทดสอบระบบ SuperDraco แล้วได้ทำอีกครั้งในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2019 จนสำเร็จ
ล่าสุด 8:00 AM 19 มกราคม จะเป็นการทดสอบ In-flight abort test (IFA) การทดสอบการยกเลิกการบิน โดยทดสอบยานสามารถเคลื่อนที่แยกจากจรวดที่กำลังขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศภายใต้สภาพบรรยากาศที่เลวร้ายหรืออันตรายให้กลับมาสู่โลกได้อย่างปลอดภัย
Tomorrow’s test will demonstrate Crew Dragon’s ability to separate from Falcon 9 and carry astronauts to safety in the unlikely event of an emergency on ascent pic.twitter.com/Cji4S5JDHl
— SpaceX (@SpaceX) January 17, 2020
ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ไปได้ Crew Dragon ก็จะสามารถเข้าสู่ Demo 2 ได้ทดสอบบินกับ 2 นักบินอวกาศตัวเป็น ๆ ซึ่งก่อนหน้าได้ทดสอบการบินแบบไร้นักบินอวกาศได้สำเร็จมาแล้ว ก็เชื่อว่าจะทำได้อย่างแน่นอน
Dragon Spacecraft supersonic abort test coming up either tomorrow or Sunday, depending on weather @NASA @SpaceX
— Elon Musk (@elonmusk) January 17, 2020
ที่มา : engadget
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส