ในขณะที่รัฐบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหลายประเทศกำลังเร่งมือปกป้องประชาชนจากการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid-19 เจ้าหน้าที่วิจัยก็ให้ความสำคัญไปที่การศึกษาพันธุกรรม และทำความเข้าใจกับกลไกต่าง ๆ ของเชื้อเพื่อเร่งหาวิธีการรับมือกับการแพร่ระบาดใหญ่ในครั้งนี้

เนื่องจากโคโรนาไวรัส หรือ Covid-19 เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคใหม่ นักวิจัยจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับมันน้อยมาก ในปัจจุบันยังคงไม่มียารักษาโรค SARS-CoV-2 ที่เกิดจาก Covid-19 ได้ ฺดังนั้นกลยุทธ์ระยะยาวในการรับมือกับ Covid-19 คือวัคซีน

วัคซีน คือ เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่ถูกฆ่า หรือทำให้มีฤทธิ์อ่อนแรงจนไม่สามารถก่อโรคได้ ใช้ฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งในขณะนี้ทั่วโลกกำลังเร่งวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้วัคซีนดังกล่าวให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้สำนักข่าวต่างประเทศ Associated Press รายงานว่า ผู้ป่วย 4 ราย ณ ศูนย์วิจัย Kaiser Permanente ในอเมริกากำลังเข้ารับการทดสอบวัคซีนต้าน Covid-19 เป็นกลุ่มแรก ซึ่งวัคซีนดังกล่าวไม่ได้ผลิตมาจากเชื้อไวรัสโดยตรงแต่เกิดจากการสังเคราะห์พันธุกรรมในห้องแลบ นักวิทยาศาสตร์คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามันจะสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ได้

การจะพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ต้องใช้เวลานาน และพวกเขาจะต้องนำวัคซีนเข้าทดลองอีกหลายขั้นตอนกว่าจะนำออกมาใช้งานจริงได้ Anthony Fauci ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติในสหรัฐอเมริการะบุว่า ความเป็นไปได้ที่จะผลิตวัคซีนต้าน Covid-19 ได้เร็วที่สุดน่าจะใช้เวลาอีกหลายเดือนแต่ถึงอย่างนั้นวัคซีนก็เป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดที่เราจะสามารถใช้ต่อกรกับเชื้อร้ายในครั้งนี้

แล้วตอนนี้ทั่วโลกรักษาผู้ติดเชื้อ Covid-19 อย่างไร?

เนื่องจากว่ายังไม่มียาที่สามารถรักษาได้อย่างเฉพาะเจาะจงดังนั้นสิ่งที่ตอนนี้แพทย์ทำได้คือ การรักษาตามอาการ หมายความว่าผู้ป่วยมีอาการอย่างไรก็ให้การรักษาอย่างนั้น อย่างเช่นหากผู้ป่วยติดเชื้อเข้ารับการรักษามีอาการรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อปอด แพทย์ก็จะใช้เครื่องช่วยหายใจกับผู้ป่วยเป็นต้น ทั้งนี้มีหลายคนเข้าใจผิดว่าการกินยาแก้อักเสบสามารถช่วยรักษาการติดเชื้อได้ แต่ไม่จริงเลย! ยาแก้อักเสบออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย (แต่ Covid-19 คือไวรัส) ดังนั้นมันจึงไม่ช่วยอะไร เพราะฉะนั้นหากคุณติดเชื้อ คุณควรแยกตัวเองเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค 14 วัน หากอาการไม่ดีขึ้น มีอาการหายใจไม่สะดวก ไข้สูง และอ่อนเพลียคุณควรไปพบแพทย์ และถึงแม้จะมีการใช้ยาต้านไวรัสรักษาผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง แต่อย่าลืมว่ายาที่ใช้นั้นคือยาต้านเชื้อ HIV ซึ่งก็ยังไม่ใช่ยาที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต้านเชื้อ Covid-19 อยู่ดี

นอกจากยาต้านเชื้อ HIV แล้วยังมียา Remdesivir ยาต้านไวรัสฉบับบทดลองที่เคยถูกใช้ใน สหรัฐอเมริกา จีน และอิตาลี ยาดังกล่าวยังไม่ได้รับการนุมัติ แต่สามารถใช้นอกการทดลองทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยหนักได้

จากการเปิดเผยของบริษัทเวชภัณฑ์ AbbVie ในช่วงแรกที่จีนต้องรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อ จีนได้ทดลองใช้ยาต้าน HIV ที่ชื่อว่า Kaletra / Aluvia กับผู้ป่วย และยังมีการทดลองใช้ยา Chloroquine (ที่ใช้รักษามาลาเรียมานานกว่า 70 ปี) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการช่วยให้ผู้ติดเชื้อฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

อย่างไรก็ตามยาที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นเพียงยาที่ช่วยต้านเชื้อไวรัสเท่านั้น การจะนำออกมาใช้เป็นยารักษา Covid-19 อย่างเป็นทางการ นักวิจัยยังคงต้องทดสอบ และค้นคว้ากันต่อไป ในระหว่างนี้ก็ดูแลตัวเองกันก่อนนะคะ

อ้างอิง 1, 2

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส