นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า มหาสมุทรสามารถฟื้นฟูกลับคืนสภาพสมบูรณ์ได้ภายใน 30 ปี หากมีการเร่งแก้ไข หรือ ททท. ทำ-ทัน-ที ตั้งแต่วันนี้ หลังจากตลอดอายุการปรากฏขึ้นของเผ่าพันธุ์มนุษย์ สิ่งมีชีวิตที่ได้ชื่อว่าเป็น “สัตว์ประเสริฐที่สุด” เหนือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนโลกได้สร้างหายนะให้แก่มหาสมุทรและสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลมายาวนานหลายศตวรรษ จากการทำประมงอย่างหนัก มลพิษต่าง ๆ ที่ปล่อยจากโรงงานอุตสหากรรมและจากครัวเรือนลงสู่ท้องทะเล รวมไปถึงการทิ้งขยะตามชายฝั่งทะลทั่วโลก และการออกล่าสิ่งมีชีวิตจากท้องทะเลเพื่อสำเร็จความใคร่ทางวัฒนธรรม

จำนวนปลาในท้องทะเลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ ลดลงจาก 18% ในปี 2000 เหลือ 11% ในปี 2019 

ไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและภาวะโลกร้อน ส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว และทำให้น้ำทะเลในมหาสมุทรมีค่าความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Hawaii Manoa ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโดยเฉลี่ย มลพิษทางทะเล และความเป็นกรดของน้ำ ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล แนวปะการังกว่า 70-90% ที่มีอยู่จะหายไปในอีก 20 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกัน การศึกษาจากแหล่งอื่น ๆ ยังแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศส่งผลให้จำนวนปลาในทะเลทั่วโลกลดลง

ชั้นน้ำแข็งในแอนตาร์กติกา ที่ละลายหายไปมากขึ้นทุกที

ชั้นน้ำแข็งในแอนตาร์กติกา ที่ละลายหายไปมากขึ้นทุกที

จากรายงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ผ่านนิตยสาร Nature เปิดเผยข้อมูลว่า สิ่งมีชีวิตในทะเลนั้นมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวเพื่อดำรงชีวิตอย่างน่าเหลือเชื่อ ถึงแม้ว่าตลอดมาจะได้รับความเสียหายจากมนุษย์มานับไม่ถ้วน นักวิจัยกล่าวว่า ประชากรสิ่งมีชีวิตในทะเลสามารถฟื้นฟูได้เร็วอย่างเร็วสุดในปี 2050 ถ้าหากประชากรโลกใส่ใจและให้ความร่วมมืออย่างจริงจังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้เกิดขึ้นกับทะเลทั่วโลก ความหลากหลายในทะเลได้หายไปในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ในช่วงศตวรรษที่ 21 พบการกลับมาฟื้นตัวในบางกรณี สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ภายใต้ IUCN ลดลงจาก 18% ในปี 2000 เหลือเพียง 11% ในปี 2019 ที่ผ่านมา

สิ่งมีชีวิตหลายล้านสายพันธุ์ อาจต้องถูกทำลายไปด้วยเผ่าพันธุ์เดียวที่ชื่อว่า "มนุษย์

สิ่งมีชีวิตหลายล้านสายพันธุ์ อาจต้องถูกทำลายไปด้วยเผ่าพันธุ์เดียวที่ชื่อว่า “มนุษย์

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า 9 เครื่องมือสำคัญที่จะเป็นส่วนฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลคือ หญ้าทะเลที่ลุ่มน้ำเค็ม ป่าโกงกาง แนวปะการัง สาหร่ายทะเล แนวหอยนางรม การประมง สัตว์ทะเลขนาดใหญ่ และทะเลน้ำลึก

ศาสตราจารย์ Callum Roberts จากมหาวิทยาลัย York กล่าวเสริมว่า เรายังมีความหวังในการกู้คืนทะเลโลกและสัตว์น้ำใต้ทะเล ขณะนี้มนุษย์มีทักษะความชำนาญที่จะสามารถฟื้นฟูแหล่งอาศัยทางทะเลได้ เช่นการสร้างและขยายแนวหอยนางรม ป่าโกงกาง และพื้นที่ลุ่มน้ำเค็ม ซึ่งมีความสำคัญในการช่วยทำให้ “ทะเลสะอาด” และปกป้องแนวชายฝั่ง รวมถึงเป็นแหล่งอาหาร แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำเพื่อสนับสนุนระบบนิเวศ โดยขณะนี้มีประเทศที่ร่วมการลงชื่อปกป้องพื้นที่ของมหาสมุทรโลกให้ได้แล้วประมาณ 30% ภายในปี 2030 ขณะนี้พื้นที่ทางทะเลได้รับการปกป้องไปแล้วกว่า 7.4 % เพิ่มขึ้นจากปี 2000 ที่มีอยู่เพียงแค่ 0.9% เท่านั้น

ปลาขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ต่างเกื้อกูลทำให้ปะการังฟื้นคืนกลับมาสมบูรณ์

ปลาขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ต่างเกื้อกูลทำให้ปะการังฟื้นคืนกลับมาสมบูรณ์

นอกจากนั้น มีรายงานการฟื้นตัวของสัตว์ทะเลหลาย ๆ ชนิด ทั้งวาฬหลังค่อมของประเทศออสเตรเลีย แมวน้ำช้างในประเทศสหรัฐฯ และเต่าตนุในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งชี้ให้เห็นว่านักวิทยาศาตร์ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟู ในปี 1968 เรามีประชากรวาฬหลังค่อมเหลือเพียงไม่กี่ร้อยตัวเท่านั้น แต่หลังจากมีการมีการแบนการล่าวาฬทำให้มันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็น 40,000 ตัวเลยทีเดียว เช่นเดียวกับนากทะเลในทางใต้ของแคนาดาเพิ่มจำนวนจากไม่กี่สิบตัวในปี 1980 ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนเป็นพัน ๆ ตัว

วาฬหลังค่อม พบได้แถบประเทศออสเตรเลีย

วาฬหลังค่อมที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น พบได้แถบประเทศออสเตรเลีย 

อย่างไรก็ตามงานวิจัยก็ยังได้นำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่งด้วยว่า ถึงแม้มนุษย์จะมีเครื่องมือและความรู้ที่จะทำให้เราบรรลุถึงเป้าหมายในการฟื้นคืนความสมบูรณ์ให้กับท้องทะเล แต่เวลาก็เป็นปัจจัยสำคัญจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ว่านั้นด้วย ถ้าไม่ทำ-ทัน-ที ตั้งแต่วันนี้ก็อาจไม่มีโอกาสได้รักษาท้องทะเลกันอีกเลย Dr.Carlos Duarte ศาสตราจารย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล และ Tarek Ahmed Juffali นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี King Abdullah ของประเทศซาอุดิอระเบีย กล่าวว่า

“เรายังมีโอกาสที่จะส่งต่อมหาสมุทรที่ยังคงใสสะอาดและอุดมสมบูรณ์ให้แก่รุ่นลูกหลานของเรา เรายังมีความรู้และเครื่องมีที่จะทำให้ให้บรรลุได้ แต่มนุษย์ทุก ๆ คนบนโลกต้องร่วมมือกัน”

อ้างอิง

อ้างอิง

อ้างอิง

อ้างอิง