หลังจากที่มีการประมูล digital TV จบกันไปแล้วนะครับ ตอนแรกพวกเราก็ว่าจะไม่มีอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก คือจะมาบอกว่า ใครชนะการประมูลได้ช่องอะไรกันไปบ้าง แต่ละกลุ่มใครชนะ ใครแพ้การประมูลบ้าง มันก็จะจิ้บจ้อยเกิน ไอ้ครั้นจะไปใส่ใน news alert ก็ยาวไปอีก
แต่บังเอิญ มีคนถามกันเข้ามาเยอะครับ เกี่ยวกับ digital TV เพราะงง ไหนจะเรื่องเลขช่อง ไหนจะเนื้อหาที่ส่งมาอีก ไหนจะการรับชม ชวนสับสนมากครับ
การเตรียมตัวดู Digital TV
สำหรับคนที่รอดู Digital TV นะครับ มีสิ่งที่คุณต้องเตรียมตัวก่อนคือ TV บ้านคุณต้องรองรับระบบ digital ถึงดูได้ ใครบอกหนวดกุ้ง หนวดแมวดูได้นี่ไม่ใช่นะครับ คือ forward mail ที่ส่ง ๆ กัน นี่ผิดตั้งแต่ข้อแรกเลยครับ คือ ตัว Digital TV มีตัวรับสัญญาณในตัวอยู่แล้ว ไม่ต้องใช้เสาแต่อย่างใด กรณีที่จะเสียบเสาเพิ่มเนี่ย ก็แค่ล่อสัญญาณ เสียบแค่ clip หนีบกระดาษก็ได้แล้วครับ ดังนั้นถ้าคุณจะซื้อ TV ใหม่ อันนี้ง่ายครับ หา TV ที่ได้รับการรับรองว่า สามารถดู digital TV ได้ ด้วยสัญลักษณ์ น้องดูดี ของ กสทช. ส่วนคนที่คิดว่ายังไม่อยากซื้อ TV ใหม่ก็ไม่ต้องคิดมากครับ set top box ที่จะรับสัญญาณ digital TV นี้ เขามีขายแยกครับ โดยปรกติแล้ว ราคาอยู่ที่ประมาณ 2500-3500 บาท แล้วแต่ยี่ห้อ แต่ทางกสทช. จะพยายามกดราคาให้ถูกลงไปอีก เพื่อที่ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ไม่ต้องแบกภาระหนักจนเกินไป อีกทั้ง มีการแจกคูปองมูลค่า 690 บาท สำหรับซื้อ set top box ด้วย
ความชัดของสัญญาณภาพ เรื่องนี้อาจจะมีการได้ยินมาผิด ๆ เรียนรูัมาผิด ๆ หรือ พนักงานขายโม้เกินจริงไปเยอะนะครับ เช่น TV ตัวนี้รับสัญญาณได้ชัดกว่า ดีกว่า ดูผ่านกล่องนี้ภาพจะชัดกว่ายี่ห้ออื่น ๆ ซึ่งอันนี้ไม่จริงนะครับ เพราะว่า Digital TV มีการส่งสัญญาณ แบบ Digital หรือ 0 กับ 1 เท่านั้น ดังนั้นแล้ว การรับชมมีแค่ “ได้” กับ “ไม่ได้” ไม่เหมือนสัญญาณ Analog แบบเก่าตามบ้านของเราที่่ต้องมาค่อย ๆ tune ให้มันชัดขึ้น ดังนั้นแล้วควรเข้าใจมันมีแค่ได้ หรือไม่ได้เท่านั้นแหละ แต่ถ้ามีเรื่องความไม่ชัดมาเกี่ยวอันนี้อยู่ที่ TV ของคุณแล้วหล่ะครับ เนื่องจากกว่า ทาง กสทช. ได้เปิดประมูล ช่อง digital TV ทีมีคุณภาพอยู่สองกลุ่มคือ HD ที่มีความละเอียด 720p กับ SD ที่มีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 480p
ดังนั้นแล้วถ้าคุณดูแล้วรู้สึกว่า ไม่ชัด ภาพแตกเป็นเม็ด ก็ต้องโทษว่าคุณใช้ TV ที่มีความละเอียดสูงจนชิน พอมาเจอภาพระดับ 720p แล้วเลยรู้สึกไม่ชินนั่นเอง หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงไม่ทำ Full HD 1080p ไปเลย? ทั้งนี้เพราะว่า 1080p นั้นกิน bandwidth มากกว่าหลายเท่าครับ ถ้าเปลี่ยนช่อง HD เป็น Full HD หล่ะก็ หมายความว่า Bandwidth เกินกว่าครึ่งจะไปอยู่ที่ีช่องนี้หมดนั่นเอง
เลขช่องสำคัญไฉน?
ด้วยความที่บ้านเราเนี่ย ผู้ออกอากาศ ตั้งชื่อช่องให้จำง่าย โดนการใช้ชื่อช่องตรงกับเลขช่องที่ทำการ Tune อย่าง 3,5,7,9 ไปเลยทำให้เราชินกับการจำเลขช่องมากกว่าจำชื่อ ผิดกับประเทศอื่นอย่างเช่น ญี่ปุ่น เขาจะเรียกชื่อสถานีแทนเช่่น NHK ไม่มีการมาจำว่า NHK ช่อง 72 นะ เพราะว่ามันไม่จำเป็นครับ
เลขช่องที่ทาง กสทช. เปิดให้เลือกได้นั้น คือลำดับของสัญญาณในการ tune ช่องเข้ามา แต่คนดูก็สามารถให้ช่องต่างๆ จะไปอยู่ที่ปุ่มกดปุ่มไหนก็ได้ ไม่จำเป็นว่าช่อง 44 ต้องกดเลข 44 เท่านั้น
บ้านเราจะเคยชินว่า กดเลข ที่ตรงกับชื่อสถานีกันมานานครับ แต่นั่นเพราะว่าเรามีไม่กี่ช่องนั่นเอง ดูอย่าง ITV, TPBS สิครับ ทราบไหมครับว่า ทั้งสองช่องนี้อยู่ช่องสัญญาณที่เท่าไหร่? ไม่ได้สำคัญเลย อันนี้แล้วแต่บ้านที่่จะตั้งกันบางบ้านก็ช่องสอง บางบ้านก็ช่องแปด บางบ้านก็ช่องศูนย์ เรียกได้ว่า เอาแล้วแต่ตามถนัดของแต่ละบ้าน มากกว่า จะเอาความถูกต้องด้วยซ้ำไป อย่างมากก็แค่หลีกเลี่ยงกับช่องเดิม ๆ เช่นช่องสี่ เท่านั้น (มุขคนแก่)
โดยในการประมูล Digital TV นั้น ผู้ที่ชนะการประมูล จะได้เลือกเลขช่องก่อน ซึ่งสำหรับผู้ประมูลนั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากบ้านเรายังใหม่ ไม่เคยชินกับการเรียนชื่อสถานี การประมูลเลขที่จำง่าย และใกล้เคียงของเดิม จะเป็นเหมือน identity ให้คนจดจำได้ง่ายขึ้น
อย่างเช่น BEC Multimedia หรือที่เราคุ้นในชื่อช่องสามนั้น ได้พยายามประมูลให้ชนะ ในหมวดช่องรายการเด็กและเยาวชน กับ ช่อง HD เพื่อที่จะให้ได้เลขที่จำง่าย นั่นคือ 13 และ 33 นั่นเอง ส่วนช่อง SD นั้นพลาดไป ไปได้อันดับสี่ เลยได้ช่อง 28 ไปแทน
การแบ่งกลุ่มตัวเลขช่องของ กสทช. นั้นไม่ได้ให้เลือกได้ตามใจฉันนะครบ แต่จะแบ่งเป็น กลุ่มไว้เลยดังนี้
ช่อง 1-12 สงวนไว้สำหรับทีวีกลุ่มบริการสาธารณะ ที่ยังไม่เปิดให้จับจองกัน กลุ่มทีวีบริการสาธารณะนี่ กลุ่มช่องนี้จะมีเงื่อนไขว่า ไม่ได้ทำเพื่อธุรกิจ โฆษณาได้ แต่ห้ามขายของ ประชาสัมพันธ์องค์กรได้ อะไรทำนองนี้ ตัวอย่างช่องในกลุ่มนี้ที่เรารู้จักกันดีก็เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 และสถานีโทรทัศน์ ช่องไทยพีบีเอส กลุ่มช่องนี้จะมีเงื่อนไขว่า ไม่ได้ทำเพื่อธุรกิจ
ส่วนเลข 13 – 36 จะไล่ไปครับ ตั้งแต่
- ช่องเด็กและเยาวชน สามช่อง (13,14,15)
- ช่องข่าวสาระ เจ็ดช่อง (16, 17, 18, 19, 20, 21, 22)
- ช่อง SD เจ็ดช่อง (23, 24, 25, 26, 27, 28, 29)
- ช่อง HD เจ็ดช่อง (30, 31, 32, 33, 34, 35, 36)
*แนะนำ ช่องเด่นในแต่ละหมวด แล้วเสริมว่า ที่ขับเคี่ยวกันหนักสุด น่าจะเป็น SD กับ HD เพราะ มีแต่ตัวแรงมาแข่งกัน มีใครบ้าง?
ช่องรายการเด็กและเยาวชน
- ช่อง 13 บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด (ช่อง 3)
- ช่อง 14 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (MCOT)
- ช่อง 15 บริษัท ไทยทีวี จำกัด ในเครือทีวีพูล
ช่องข่าวและสาระ
- ช่อง 16 บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) TNN
- ช่อง 17 บริษัท ไทยทีวี จำกัด (TV POOL)
- ช่อง 18 บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ เครือเดลินิวส์ (Daily News)
- ช่อง 19 สปริงนิวส์ เทเลวิชั่น (Spring News)
- ช่อง 20 บริษัท 3เอ มาร์เก็ตติ้ง (Bright TV)
- ช่อง 21 บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด (Voice TV)
- ช่อง 22 บริษัท เอ็นบีซี เน็กซ์ วิชั่น (เครือ Nation)
ช่องรายการทั่วไป ความคมชัดมาตรฐาน (SD)
- ข่อง 23 บริษัทไทย บรอดคาสติ้ง จำกัด (Workpoint)
- ช่อง 24 บริษัททรู ดีทีที จำกัด (True)
- ช่อง 25 บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอสดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด (แกรมมี่)
- ช่อง 26 บริษัทแบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด ในเครือเดอะเนชั่น
- ช่อง 27 บริษัท อาร์.เอส เทเลวิชั่น จำกัด (ค่าย RS)
- ช่อง 28 บริษัทบีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด หรือช่อง 3
- ช่อง 29 บริษัทโมโน บรอดคาซท์ จำกัด (Mono)
ช่องรายการทั่วไป ความคมชัดสูง (HD)
- ช่อง 30 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (MCOT)
- ช่อง 31 บริษัท จีเอ็มเอ็ม เอชดี ดิจิทัล ทีวี จำกัด
- ช่อง 32 บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด ในเครือหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (Thairath TV)
- ช่อง 33 บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ในเครือสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
- ช่อง 34 บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด
- ช่อง 35 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7)
- ช่อง 36 บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด
Source : กสทช. และอีเมลประชาสัมพันธ์