กำหนดทิศทาง เปลี่ยนแนวคิด ดึงพันธมิตรเข้าร่วม
การมาของ ‘เทคโนโลยี’ ในช่วงทศวรรษนี้ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเร็วมาก เช่น แต่เดิมเราตามข่าวสารผ่านทีวี แต่พอเข้าสู่ยุคสมาร์ตโฟน และเริ่มมีอินเทอร์เน็ต แค่ไม่กี่ปี เราก็หันมาเสพสื่อออนไลน์กันเกือบหมด ผลคือธุรกิจสื่อดั้งเดิมระส่ำระสาย ต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ด้วยการผันตัวมาอยู่บนโลกออนไลน์ แน่นอนว่าผลกระทบแบบนี้เกิดขึ้นกับธุรกิจทุกวงการ ไม่เว้นแต่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ผู้คนไม่ได้มองบ้านเป็นแค่ที่อยู่อาศัย แต่ต้องเต็มไปด้วยความสะดวกสบาย
คุณณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ หัวเรือใหญ่แห่ง SC Asset ผู้นำด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า เขามองเห็นเทรนด์การเปลี่ยนแปลงนี้ตั้งแต่ปี 2017 จึงมีการเปลี่ยนวิสัยทัศน์และแนวทางการธุรกิจใหม่ เพื่อก้าวข้ามจากการเป็นแค่ Property Developer ที่สร้างบ้านสร้างคอนโดรูปแบบเดิมๆ สู่ความเป็น Living Solutions Provider ที่เอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัยให้กับลูกค้า
โดยแนวคิดนี้เริ่มในปี 2018 แม้ยังไม่ค่อยเห็นความชัดเจนมากนัก แต่พอถึงในช่วงวิกฤต COVID-19 ระบาด ก็ทำให้ได้รู้ว่า SC Asset เดินทางมาถูกทิศ วันนี้ผู้คนทำกิจกรรมต่างๆ ที่บ้านมากขึ้น ทั้งเล่น ทำงาน ซื้อของ เรียน ทุกกิจกรรมนั้นเกิดขึ้นภายในบ้านแทบทั้งหมด เมื่อผู้คนอยู่บ้านมากขึ้นใช้เวลากับบ้านมากขึ้น บ้านจึงโทรมเร็วกว่าที่ควร จึงต้องการการบำรุงรักษา อีกทั้งในช่วงวิกฤตโรคระบาดแบบนี้ เงินในกระเป๋าก็น้อยลง ทำให้ลูกค้าต้องการประหยัดมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องทำเลที่ตั้ง (Location) ที่แต่เดิมบ้านต้องอยู่ริมถนนใหญ่ แต่เดียวนี้ไม่จำเป็น แค่ต้องให้บริการต่างๆ เข้าถึงที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น การเป็น Solution Provider จึงต้องพยายามตอบโจทย์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ซึ่งการทำให้เป็นจริง ไม่ใช่เพียงการกำหนดเป้าหมาย แต่เป็นการการกำหนดทิศทาง ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทุกเวลา และในทุกสภาพแวดล้อม ยกตัวอย่างเคสของ SC Asset ที่ต้องการสร้างทุกเช้าที่ดีให้กับลูกค้า (For Good Morning) เพื่อลูกบ้านให้มีพลังงาน มีเวลาไปทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การจะให้ตอบโจทย์ลูกค้าก็ต้องตั้งคำถามขึ้นมาก่อน แต่เดิมคงถามว่าผลิตภัณฑ์และบริการคืออะไร? แต่พอเทคโนโลยีเข้ามาพฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไป จึงต้องเปลี่ยนแนวคิดการตั้งคำถามใหม่ โดยเอาปัญหาของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง แล้วตั้งคำถามว่า จะเอาเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาอะไร และแก้ปัญหาให้ใคร
จากเดิมที่ทำ Product & Service เพื่อนำเสนอลูกค้า จึงกลายเป็น Platform & Solutions ที่จะใช้ Platform เป็นเวทีกลางในการนำคนมาเจอกัน โดยเอาคนเก่งแต่ละด้านมาจับคู่กัน แล้วร่วมกันนำเสนอตัวช่วยแก้ปัญหา (Solution) ที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้นตามคอนเซปต์ (Concept) การสร้างเช้าที่ดีให้ลูกค้า SC Asset จึงต้องเปลี่ยนจาก Product Provider เป็น Solution Provider
ในขณะเดียวกันก็ยังต้องปรับวัฒนธรรมองค์กร เปลี่ยนแนวคิด และความรู้ใหม่ๆ ในการสร้างนวัตกรรม รวมถึงการนำ Digital Platform มาช่วยสนับสนุนการทำงานเบื้องหลังให้ดีขึ้น ที่สำคัญต้องสร้าง Ecosystem ให้แข็งแรง โดยการดึง Partner ที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มาเพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถของตัวสินค้าและบริการ
ยกตัวอย่าง SC Asset เก่งด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีโครงการที่อยู่อาศัยจำนวนมาก พบปัญหาว่าลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จึงจับมือเป็นพันธมิตรกับ AIS Business ที่เด่นในเรื่องเครือข่ายและเครือข่าย Cloud เป็นอันดับต้นๆ ของไทย ร่วมกันนำอินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ออฟติกความเร็วสูงมาติดให้กับลูกค้าทุกบ้าน พร้อมกับโปรโมชันลดราคา หรือนำระบบ Cloud มาเชื่อมกับอุปกรณ์ IoT เพื่อเช็กสถานะการทำงานผ่านมือถือ ก็น่าจะเป็น Solution ที่น่าจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ ถือได้ว่า AIS Business จึงเป็น Partner ที่สำคัญด้านเครือข่ายของ SC Asset
ซึ่งทาง AIS Business นั้น เป็น ICT Service Provider หรือผู้ให้บริการด้านไอซีทีแบบครบวงจร สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise) และองค์กรขนาดเล็ก (SME/SMB) เด่นในเรื่องของบริการ Network, 5G, Cloud, IoT, M2M และอื่นๆ อีกมากมาย ที่จะช่วยยกระดับทุกธุรกิจ รวมถึงช่วยให้การทำ Digital Transformation ได้สำเร็จเป็นจริง
ลูกค้าจะเห็นปัญหา ต่อเมื่อเข้าไปอยู่ในบ้าน
SC Asset ได้ตั้ง “รู้ใจคลับ” เป็นชุมชนที่ให้คนมารวมกัน โดยพัฒนา RueJai Platform และ Application ขึ้น เพื่อเป็นตัวกลางเพื่อส่งมอบโซลูชันให้กับลูกค้า โดยทุกคนที่ซื้อบ้านจะเป็นสมาชิกของรู้ใจคลับ และสามารถนัดหมายเพื่อใช้บริการ เช่น การทำความสะอาด, การซ่อมแซมบ้าน, การล้างบ่อไขมัน เป็นต้น ซึ่ง Platform นี้จะเปิดกว้างให้ Partner ต่างๆ ที่แม้จะไม่ได้อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ เข้ามาร่วมในการพัฒนาโซลูชันที่ดีที่สุดในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
ในมุมมองของ Solution Provider นั้น SC Asset พบเจอกับความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ เช่น บ้านคนโสด เพื่อตอบกลุ่ม Gen Y, Gen Z ที่ต้องการบ้านหลังใหญ่ ห้องนอนน้อย เน้นห้องนั่งเล่น มีประตูให้สัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นโจทย์ใหม่ และสำหรับการเป็น Solution Provider ก็จะต้องดูแลลูกค้าในช่วงหลังการเข้ามาอยู่ด้วย ซึ่งก็จะได้สนุกกับสิ่งใหม่ๆ เมื่อต้องหา Solution ที่ตอบโจทย์ ซึ่งกลุ่มนี้ จะเป็นแหล่งรายได้ Recurring Income ให้กับธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันลูกค้าประมาณ 1 ใน 3 ลูกค้าก็เริ่มมาเป็นลูกค้ารายเดือนแล้ว โดยหลังช่วงวิกฤต COVID-19 ระบาด ก็ทำให้ลูกค้าเริ่มมาใช้งานมากขึ้น
สุดท้ายนี้ สิ่งที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงองค์กร ต้องเริ่มจากกำหนดทิศทาง และตามด้วยการเปลี่ยนแปลงคน และวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งผู้บริหารเป็นส่วนสำคัญที่ต้องเปิดใจ ยอมรับ และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เข้าใจทีมงานเพื่อสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร และจึงค้นหา ทำความเข้าใจ Pain หรือปัญหาของลูกค้า ก่อนหาวิธีการแก้ไข ซึ่งในการนำเสนอโซลูชันก็อาจต้องหยุดเพื่อประเมินเป็นระยะ ว่ายังสามารถตอบสนอง Pain ได้หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็สามารถหยุดได้ และในการทำธุรกิจ SC Asset ไม่ได้มองคู่แข่งในการแข่งขัน แต่มองว่ากำลังแข่งกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะมีความต้องการใหม่ๆ ซึ่งการแข่งแบบนี้จะเป็นพลังงานที่ดี ให้สามารถวิ่งนำหน้าความต้องการลูกค้าใหม่ๆ ได้ในระยะยาว
ผู้ที่สนใจบริการจาก AIS Business สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลองค์กรของท่าน หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ AIS Business https://business.ais.co.th/